|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*สัญญาณอันตราย “สินเชื่อบ้านหดตัว กำลังซื้อหดหาย” กระแทกบ้านจัดสรรซวนเซ
*3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์เร่งระดมกึ๋น เสนอรัฐฯชุบชีวิตก่อนวิกฤตซ้ำรอยเดิม
*คาดรัฐฯหมดท่า หวนใช้ตำราเล่มเก่า “งัดเครื่องมือทางการเงิน-ภาษี” ล่อใจคนซื้อบ้าน
เมื่อภาวะการเมืองไทย และราคาน้ำมันในตลาดโลก ตกอยู่ในห้วงของความไม่แน่นอน แต่อสังหาริมทรัพย์ไทยก็ยังคงชะลอตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงต่ำถึงขีดสุด มีการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ปีนี้อยู่ที่ 4-4.5% เท่านั้น และอาจจะมีการลดต่ำลงกว่านี้ แม้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงแล้วก็ตาม แต่ปัจจัยหลายด้านก็ยังไม่กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจในการลงทุนเท่าที่ควร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้พยายามผลักดัน โดยตั้งเป้าว่าจะต้องเดินหน้าให้ได้ถึงขั้นร่าง TOR และเปิดประมูลได้สำเร็จภายในปีนี้ แต่ด้วยปัจจัยกดดันหลายๆ ด้านที่ถาโถมเข้ามา หลายฝ่ายกล่าวโทษว่าเป็นการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด จนทำให้หัวเรือใหญ่ของทีมเศรษฐกิจตัดสินใจลาออก หลังจากนั้นกลายเป็นความผันผวนครั้งใหญ่ของรัฐบาลขิงแก่อีกระลอก เมื่อ ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจคนใหม่ตัดสินใจทบทวนความเหมาะสมของแผนงานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีกครั้ง
แม้จะไม่ได้ล้มเลิกหรือปรับเปลี่ยนเส้นทาง แต่การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีก็ทำให้ต้องมีการทบทวนแผนให้รัดกุมมากขึ้น ทำให้แผนงานต้องล่าช้าไปอีก 4 เดือน สำหรับภาคเศรษฐกิจย่อมได้รับผลกระทบพอสมควร เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายตั้งความหวังไว้ว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายจะเป็นทางรอดและเป็นแรงจูงใจที่จะมาช่วยกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนต่อเนื่องทั่วทั้งระบบอีกเป็นมูลค่ามหาศาล
ด้านภาคการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่การตัดสินใจลงทุนโครงการใดย่อมมีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกับโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐค่อนข้างสูง ณ เวลานี้อยู่ในภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แม้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในขาลง แต่ความเชื่อมั่นในการบริโภคกลับลดลง ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อบ้านออกไปอีก รอจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอีกครั้ง
ล่าสุดกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ไปหารือเพื่อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นตัวนำ เช่นเดียวกับเมื่อ 5 ปีที่แล้วที่รัฐบาลนำมาตรการทางการเงินและการคลังออกมาใช้ จนสามารถกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง
สั่งธอส.หารือ 3 ส.แก้วิกฤต
ขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า ได้ปรึกษาหารือกับ 3 สมาคม คือ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย เพื่อหาแนวทางในการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ และใช้เป็นฟันเฟืองกระตุ้นให้การลงทุนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง คาดว่าหากภาครัฐมีการผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง จะทำให้ความเชื่อมั่นในการซื้อบ้านของประชาชนกลับคืนมา หลังจากที่ขณะนี้ลดลงไปมาก
แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า หากรัฐบาลต้องการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ควรที่จะใช้มาตรการด้านภาษีและการเงินมาเป็นเครื่องมือในการเยียวยาธุรกิจเช่นเดียวกับการชุบชีวิตธุรกิจเมื่อ 5-6 ปีก่อน ซึ่งอาจจะลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หรือให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ซื้อบ้านหลังแรก เพื่อเรียกความเชื่อมั่นและกำลังซื้อกลับมา และเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัว จะทำให้ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องฟื้นตัวตามไปด้วย และสุดท้ายก็จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวด้วย
คาดดอกเบี้ยลดอีก
ขรรค์ คาดการณ์ว่าการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 11 เม.ย. นี้ จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ทั้งนี้แม้ภาวะอสังหาริมทรัพย์จะยังไม่สดใส สำหรับ ธอส. จะยังคงเป้าสินเชื่อทั้งปีอยู่ที่ 9,000 ล้านบาทเอาไว้ โดยจะนำเงินทุน 7,500-10,000 ล้านบาทมาใช้ปล่อยกู้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อช่วยเหลือคนรายได้ระดับกลาง-ต่ำ โดยหวังว่าจะเป็นหนทางที่จะช่วยอสังหาริมทรัพย์อีกทางหนึ่ง โดยช่วงครึ่งแรกของเดือน มี.ค. ธอส. ได้ปล่อยกู้ไปแล้ว 3,600 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีการปล่อยสินเชื่อถึง 12,000 ล้านบาท
เตรียมทำซิเคียวริไทเซชั่น
ปัญหาส่วนหนึ่งของ ธอส. คือ ต้นทุนของเงินกู้ที่ค่อนข้างสูง จึงต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตาม กลายเป็นภาระหนักกระทบถึงประชาชนที่จะต้องจ่ายเงินงวดต่อเดือนเพิ่มขึ้นตาม ธอส. ได้มีแนวทางที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยการใช้วิธีแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือซิเคียวริไทเซชั่น เพื่อระดมเงินจากตลาดทุนอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ ธอส. สามารถเข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำ และสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ในระดับต่ำได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน โดยเบื้องต้น ธอส. ได้ประกาศเชิญชวน และจัดทำข้อเสนอ RFP (Request For Proposal) สำหรับการแปลงสินทรัพย์จากสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Residential Mortgage-Backed Securities) มีธนาคารเพื่อการลงทุนในทั้งในและต่างประเทศแสดงความสนใจถึง 27 ราย คาดว่าจะเริ่มระดมทุนได้ในสิ้นปีถึงต้นปีหน้า ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะระดมทุนภายในประเทศ 10,000 ล้านบาท
|
|
|
|
|