Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 เมษายน 2550
'สินเอเซีย'อึดยืนเป้าสินเชื่อโต45% มั่นใจคลังยังไม่ทิ้งหุ้น-ฟุ้ง3ปีล้างขาดทุนเกลี้ยง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารสินเอเซีย

   
search resources

ธนาคารสินเอเซีย, บมจ.
Loan




แบงก์สินเอเซียยันเป้าสินเชื่อเดิมโต 45% รับแม้ในช่วง 2 เดือนแรกจะมียอดการเบิกใช้สินเชื่อชะลอตัว แต่เดินหน้าบุกสินเชื่อภูธรเต็มสูบ หวังช่วยหนุนยอดสินเชื่อรวมให้โตตามเป้าได้ ระบุมั่นใจผู้ถือหุ้นใหญ่กระทรวงคลังยังไม่ขายหุ้นทิ้ง คาดอีก 3 ปีล้างขาดทุนสะสมได้หากกำไรโตในระดับเดียวกับปีก่อน

นายชาญชัย มุสิกนิศากร ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายในการขยายธุรกิจไว้ในระดับเดิม แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง คือ ตั้งเป้าอัตราการเติบโต 45% ใน 4 ธุรกิจหลักได้แก่ Corporate Banking,Retail Banking, Branch Banking และ Leasing ผ่านบริษัทย่อย ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ในระดับเดียวกับปี 2549 คือประมาณ 750-800 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มธุรกิจสาขาจะมีการเติบโตสูงสุด จาก 3.2 พันล้านบาทเป็น 7.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 149% จากการขยายสาขาภูมิภาคเพิ่มขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าและการบริการสู่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่และกลางในภูมิภาค โดยธนาคารตั้งเป้าการขยายสาขาเพิ่มเติม 12 สาขาในปีนี้ โดยเป็นสาขาภูมิภาค 8 สาขา และสาขาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 4 สาขา ทำให้ ณ สิ้นปี 2550 ธนาคารมีสาขาทั้งสิ้น 17 สาขา

"ในปี 2549 ที่ผ่านมา เป็นปีที่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในเขตภาคเหนือที่กินระยะเวลานาน ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี และกระทบถึงผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ในส่วนของธนาคารสินเอเซียได้รับผล กระทบไม่มากนัก เนื่องจากธนาคารมีการเตรียมตัวที่ดีและดำเนินการอย่างระมัดระวัง ทำให้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถอำนวยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 4,143 ล้านบาท คิดเป็นเติบโตร้อยละ 17.2 ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 4,634 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับปี 2548 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 758.5 ล้านบาท"นายชาญชัย

นายธงชัย อานันโนทัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารสินเอเซีย กล่าวว่า สำหรับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้น ธนาคารได้มีการอนุมัติสินเชื่อไปค่อนข้างมาก แต่จำนวนการเบิกใช้ยังไม่มากนัก เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอและสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน แต่เนื่องจากแผนงานของธนาคารในปีนี้เน้นการขยายสินเชื่อไปที่ภูมิภาคจากเดิมที่เน้นสินเชื่อ Corporate Banking จึงเชื่อว่าแม้สินเชื่อ Corporate Banking จะชะลอต้วลงตามภาวะเศรษฐกิจ แต่สินเชื่อภูมิภาคที่โตในอัตราที่เร่งขึ้นจะทำให้สินเชื่อของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อ Corporate Banking ไว้ 28,137 ล้านบาท จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 24,182 ล้านบาท ขยายตัว 16% สินเชื่อรายย่อย 5,820 ล้านบาท จากปีก่อน 2,618 ล้านบาท ขยายตัว 122% Branch Banking 5,488 ล้านบาท จากปีก่อน 2,207 ล้านบาท ขยายตัว 149% และสินเชื่อลิสซิ่ง 7,340 ล้านบาท จากเดิม 3,275 ล้านบาท ขยายตัว 124%

สำหรับกลยุทธในการขยายสินเชื่อภูมิภาคของธนาคารจะเน้นให้สาขาที่จะเปิดในจังหวัดใหญ่ของประเทศอีก 8 สาขาเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ โดยในแต่ละสาขาของธนาคารจะเน้นที่พื้นที่ขนาดใหญ่ หรือมีพนักงานจำนวนมาก แต่เน้นการทำธุรกรรมได้ครบถ้วนเทียบเท่าสาขาธนาคารในลักษณะ One Stop Service ซึ่งจะให้บริการที่รวดเร็วทำให้ลูกค้าพึ่งพอใจและใช้พนักงานประมาณ 10-11 คน

"ที่ผ่านมา เราอาจจะคุ้นเคยว่าสินเซียจะเน้นการปล่อยสินเชื่อ Corporate Banking แต่ปัจจุบันเนื่องจากสินเชื่อ Corporate Banking เริ่มโตช้า เพิ่มมาเก็ตแชร์ค่อนข้างยากแล้ว ขณะที่การปล่อยสินเชื่อในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ก็มีการแข่งขันสูง เราจึงหันกลับมามองสินเชื่อในภูมิภาค โดยเฉพาะสินเชื่อขนาดใหญ่และกลาง ซึ่งจากการสำรวจแล้วพบว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธนาคารจึงมุ่งเน้นมาทางสินเชื่อภูมิภาค เพื่อเป็นช่องใหม่ในการขยายสินเชื่อแทน ซึ่งการโฟกัสเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้เราทำงานได้ง่าย และน่าจะดีกว่าเป้าที่ตั้งไว้สำหรับสินเชื่อภูมิภาค ซึ่งจะมีสาขาในต่างจังหวัดของธนาคารเป็นผู้นำในการทำธุรกิจ"นายธงชัยกล่าว

ด้านสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)นั้น ในปี 2550 ธนาคารตั้งเป้าจะปรับลดเอ็นพีแอลให้เหลือ 1,356 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5% ลดลง 71% จากในปี 2549 ที่อยู่ในระดับ 4,694 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.2%ของสินเชื่อรวม และเหลือ 1,115 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8%ของสินเชื่อรวมในปี 2551 โดยแผนงานในการปรับลดเอ็นพีแอลในปีนี้นั้น ธนาคารอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้กับลุกค้าภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากแล้วเหลือเพียงการดูรายละเอียดแผนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอีกส่วนที่คดีสิ้นสุดแล้วอยู่ระหว่างการบังคับคดีเพื่อรอยึดทรัพย์และขายทอดตลาดเท่านั้น และขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างรอดูเงื่อนไการซื้อสินทรัพย์ของบริษัทสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ฯ(BAM)หากรับได้ก็พร้อมที่จะขายออกไป

สำหรับในปี 2551 ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายในการขยายสินเชื่อรวมให้อยู่ในระดับ 66,000 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อ Corporate Banking 34,610 ล้านบาท ขยายตัว 23% สินเชื่อรายย่อย 9,187 ล้านบาท ขยายตัว 58% Branch Banking 11,699 ล้านบาท ขยายตัว 113% และสินเชื่อลิสซิ่ง 10,504 ล้านบาท ขยายตัว 43% ด้านเงินฝากธนาคารได้พยายามที่จะปรับโครงสร้างสัดส่วนเงินฝากให้มีความสมดุลมากขึ้น โดยในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันเป็น 5% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 4% และในปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 14% มียอดเงินฝากรวม 70,000 ล้านบาท

นายธงชัยกล่าวอีกว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารขณะนี้ ผู้ถือหุ้นคือกระทรวงการคลังถือหุ้น 30% และธนาคารกรุงเทพ 19% ซึ่งขณะนี้ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากธนาคารกรุงเทพได้ขอยืดระยะเวลาการขายของหุ้นออกไปอีก 6 เดือน ขณะที่ในส่วนของกระทรวงการคลังคงจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นเนื่องจากหุ้นของธนาคารมีราคาพาร์ที่ 10 บาท ขณะที่ราคาในตลาดของธนาคารอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามากจึงยังไม่น่าจะมีการลดสัดส่วนการถือหุ้น และในส่วนของธนาคารเองก็ยังไม่มีแผนที่จะหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนเนื่องจากธนาคารมีเงินทุนเพียงพอและธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ก็มีความชำนาญเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

ส่วนผลขาดทุนสะสมของธนาคารที่มีอยู่ 3,500 ล้านบาทนั้น ธนาคารเชื่อว่าหากมีอัตราการเติบโตของผลกำไรในระดับที่เป็นอยู่ก็จะสามารถล้างขาดทุนสะสมได้ภายใน 3 ปี โดยในปี 2547 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 1,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% ในปี 2548 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,161 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% และในปี 2549 มีกำไรสุทธิ 759 ล้านบาท ลดลง 35% เนื่องจากธนาคารต้องกันสำรองตามเกณฑ์บัญชีใหม่ IAS 39

"โครงสร้างของผู้ถือหุ้นของธนาคารขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและหากจะมีการเปลี่ยนแปลงก็คงจะเป็นส่วนของธนาคารกรุงเทพซึ่งขอเลื่อนการขายหุ้นของธนาคารออกไปอีก 6 เดือนคือ 30 มิถุนายน 2550 และจะต้องดำเนินการให้สิ้นสุดภายในวันที่ 30 ธันวาคมนี้ ในส่วนของพันธมิตรขณะนี้ธนาคารยังไม่มีนโยบายที่หาเพราะมีเงินกองทุนที่เพียงพอต่อการดำเนินการงานแล้ว และยังไม่จำเป็นต้องมีพาร์เนอร์เพื่อช่วยหนุนธุรกิจเพราะธตนาคารเน้นสินเชื่อภูมิภาคซึ่งเชื่อว่ายังไม่มีต่างชาติรายไหนมีความชำนาญมากกว่าธนาคาร"กรรมการผู้จัดการธนาคารสินเอเซียกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us