|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ได้ประกาศเครดิตพินิจภายใต้การพิจารณา (Rating Watch Evolving) แก่อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวที่ A-(tha)อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2(tha) และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ 5 ของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (TCAP) รวมทั้งอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A-(tha) อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2(tha) อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ D และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ 5 ของ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK)
การประกาศเครดิตพินิจภายใต้การพิจารณาในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ TCAP ประกาศแผนการที่จะขายหุ้นในสัดส่วน 24.99% ใน TBANK ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของ TCAP ให้แก่ Bank of Nova Scotia (Scotia) ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตสากลที่ AA-/F1+) ซึ่งดำเนินธุรกิจในประเทศแคนาดา และจะทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรของกลุ่มโดยโอนย้ายบริษัทย่อยของ TCAP 8 บริษัท ซึ่งรวมถึงบริษัทลูกซึ่งดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกันทั้งที่ดำเนินธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ธุรกิจลีสซิ่ง และธุรกิจบริหารกองทุน ไปให้แก่ TBANK สัดส่วนใหญ่ในหุ้นของ TBANK และบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของกลุ่มยังคงจะถูกถือโดย TCAP ซึ่งจะยังดำรงสถานะบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มต่อไป
ทั้งนี้ ในวันที่ 20 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ฟิทช์ได้ปรับแนวโน้มอันดับเครดิต TCAP และ TBANK เป็นลบ จากเดิมที่แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ โดยการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรที่ถดถอยลง สถานะเงินกองทุนที่อ่อนแอลง และความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทมีนโยบายในเชิงรุก TCAP และ TBANK เป็นผู้ประกอบการซึ่งดำเนินการในเชิงรุกมากที่สุดในการตลาดเช่าซื้อรถยนต์ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของลูกหนี้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30.4% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของ TCAP และ TBANK ดูเหมือนจะอยู่ในระดับที่อ่อนแอที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์รายหลักรายอื่น สาเหตุหลักเนื่องมาจากการเป็นผู้นำในการแข่งขันด้านราคา ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนที่เกิดจากการขยายสาขาเป็นจำนวนมาก
Scotia จะใช้เงินลงทุนจำนวน 7.1 พันล้านบาท โดยจะทำการซื้อหุ้นสามัญ จำนวน 157.1 ล้านหุ้น จาก TCAP และซื้อหุ้นสามัญใหม่จำนวน 276.3 ล้านหุ้น ซึ่งจะทำการจัดสรรโดย TBANK ในรูปแบบขายเฉพาะเจาะจง ในช่วงกลางปี 2550 ที่ราคา 16.37 บาทต่อหุ้น การซื้อหุ้นดังกล่าวคาดการณ์ว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2550 Scotia คาดการณ์ว่าจะหยุดการปฏิบัติงานของสาขากรุงเทพ และขายสินทรัพย์ของสาขากรุงเทพของธนาคารไปให้ TBANK เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย “One Presence” ของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ Scotia ยังมีทางเลือกที่จะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน TBANK ถึง 49% ในอนาคต โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเสียก่อน ในคณะกรรมการของ TCAP ซึ่งมีจำนวนกรรมการทั้งสิ้น 10 ที่นั่ง จะมีตัวแทนจาก Scotia จำนวน 3 ที่นั่ง
สำหรับเงินทุนใหม่จำนวน 4.5 พันล้านบาท จาก Scotia น่าจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้เงินกองทุนชั้นที่ 1 ของ TBANK ประมาณ 30% TCAP ยังมีแผนการที่จะเพิ่มทุนเพิ่มเติมอีก 4 พันล้านบาทในภายหลังด้วย การปรับเปลี่ยนอันดับเครดิตในอนาคต ขึ้นอยู่กับการพิจารณาผลกระทบของการถือหุ้นใน TBANK ของ Scotia ต่อเครือข่ายธนาคารของ TBANK ผลกำไรของธนาคาร กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งช่วยลดทอนความเสี่ยงต่อความสามารถในการทำกำไรและคุณภาพสินทรัพย์ของกลุ่มด้วย TCAP และ TBANK อาจจะได้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในด้านการบริการทางธุรกรรมระดับสากล ธุรกิจธนาคารเพื่อการพาณิชย์และเพื่อลูกค้ารายย่อยและธุรกิจบริการที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล รวมทั้งทางด้านเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ
|
|
|
|
|