|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายฉลองภพ สุสังกรณ์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยื่นขออนุญาตกระทรวงการคลังออกพันธบัตรจำนวน 400,000 ล้านบาทคงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจาก ธปท.จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการบริหารจัดการในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่อย่างไรก็ตามต้องพิจารณารายละเอียดประกอบการยื่นขอเพิ่มวงเงินด้วย เนื่องจากไม่ต้องการให้การออกพันธบัตรมีต้นทุนสูงเกินไป
นอกจากนี้ ธปท.ควรหามาตรการอื่นๆ เข้ามาดูแลและควบคุมเพื่อรักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งอาจจะเป็นการลดดอกเบี้ยนโยบายลง อย่างไรก็ตามต้องรอการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 11 เม.ย. 2550ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกหรือไม่
ทั้งนี้ธปท.ได้ขอกระทรวงการคลังเพิ่มวงเงินการออกพันธบัตรอีก 400,000 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ออกมาเปิดเผยว่า ธปท.ได้ระบุวงเงินการออกพันธบัตรที่ได้รับการอนุมติเดิมทั้งหมดจำนวน 1,400,000 ล้านบาท จะใช้เต็มวงเงินภายในไตรมาส 1 ของปี 2550 จำเป็นต้องขอวงเงินเพิ่มอีก 400,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาแบงก์ชาติเคยขอวงเงินออกพันธบัตรแบงก์ชาติมากกว่านี้ และกระทรวงการคลังก็จะอนุมัติให้ตามที่แบงก์ชาติขอทุกครั้ง
แหล่งข่าวในกระทรวงการคลังระบุว่า น่าผิดหวังกับการตัดสินใจของนายฉลองภพครั้งนี้ เพราะเป็นการส่งสัญญาณว่าบทบาทการดูแลเศรษฐกิจของรัฐบาลเฉพาะกิจอยู่ที่ ธปท. ซึ่งที่ผ่านมา สศค.พยายามคานอำนาจ เพราะเห็นว่าแม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราวแต่เศรษฐกิจไทยในขณะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ การกระจายความเสี่ยงในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญอย่างค่าเงินบาทจึงต้องช่วยกัน แต่เจ้ากระทรวงกลับปล่อยให้ ธปท.ดำเนินการตามลำพัง เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะปีที่ผ่านมา ธปท.ใช้เงินอุ่มค่าเงินแล้ว 1 ล้านล้านบาท ยังไม่รู้ว่า 3 เดือนล่าสุดใช้ไปอีกเท่าไหร่
"ที่น่าสนใจก็คือนายฉลองภพวันนี้แตกต่างจากสมัยอยู่ทีดีอาร์ไอ ไม่รู้มีการต่อรองว่ายอมให้ออกบอนด์ 4 แสนล้านบาท เพื่อให้แบงก์ชาติโดย กนง.ลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.5% หรือไม่ ผมคิดว่ารัฐมนตรีคลังมีอำนาจพอที่จะสั่งให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยโดยไม่ต้องอนุมัติออกบอนด์ถึง 4 แสนล้าน ทำไมต้องต่อรอง แล้วทำไมต้องรอให้ประชุม กนง.วันที่ 11 เม.ย.ก่อนจึงจะลดดอกเบี้ย หรือเป็นเพราะเศรษฐกิจตอนนี้ยังปกติ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า การออกพันธบัตรจำนวนสูงถึง 400,000 ล้านบาท ในครั้งนี้ยังเป็นการสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
ก่อนหน้านี้ นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ ธปท.โดยเฉพาะนโยบายแทรกแซงค่าบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะเฉพาะหน้าเพื่อหวังช่วยเหลือภาคส่งออกเพียงด้านเดียว โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลทิศทางค่าเงินในอนาคตให้ชัดเจนมากขึ้นทั้งๆ ที่นโยบายผิดพลาดมาโดยตลอดที่นำเงินออมประชาชนจำนวนมากไปแทรกแซงให้อัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ระดับ 40-41 บาท แต่ก็ตรึงไม่ไหว สุดท้ายค่าเงินบาทแข็งค่ามาอยู่ในระดับ 34.80 บาทต่อดอลลาร์ หากสนับสนุนให้ ธปท.ดำเนินการต่อไปอาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่
ขณะที่นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIMBANK กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า "มาตรการ (30%) ของแบงก์ชาติที่ออกมาทำให้นักลงทุนต่างชาติสับสน ผมได้คุยกับผู้จัดการกองทุนชาวต่างประเทศหลายคนเริ่มเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เป็นอยู่ เขาเกิดอารมณ์เบื่อสุดๆ แล้วกับสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้และเตรียมตัวถอนการลงทุนออกไปจากประเทศไทยแน่นอน ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ความไม่เชื่อมั่นเกิดขึ้นอยู่แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกลับไม่รีบแก้ไข แต่กลับเล่นทอมแอนด์เจอร์รี่กัน”
|
|
|
|
|