Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 เมษายน 2550
อุตฯแม่พิมพ์ยางไทยก้าวกระโดดหวังแปรรูปสร้างรายได้เหยียบแสนล้าน !             
 


   
search resources

สถาบันไทย-เยอรมัน
Agriculture




อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยางพัฒนาอีกขั้นผู้ประกอบการสนใจวิจัย-พัฒนาอย่างต่อเนื่อง หวังลดส่วนแบ่งตัวเลขส่งออกน้ำยางดิบให้น้อยลง นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มเหยียบ100,000ล้าน ยันหากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไทยจะเป็นผู้นำแม่พิมพ์ยางได้ไม่ยาก ด้าน ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาทางแม่พิมพ์ยางระบุภาคเอกชนกว่า 10บริษัทสนในร่วมงานทั้งสร้างเครือข่ายให้มีความเข็มแข็งเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 3 สำหรับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้นำเสนอให้ ครม. เห็นชอบเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547โดยมอบหมายให้สถาบันไทย-เยอรมันดำเนินการวิจัยร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม (RDiPT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยมีงบประมาณดำเนินการ 1,690 ล้านเพื่อพัฒนาแม่พิมพ์ยาง โครงการนี้สามารถช่วยผู้ประกอบการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยางในประเทศให้มีมาตรฐานและคุณภาพในระดับสากล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการส่งออกในอนาคต

ตั้งเป้าแปรรูปยางดิบเพิ่ม 20%

รศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”ว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยางจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศไทยต่อไปในอนาคตดูได้จากปี 2548 ยอดส่งออกน้ำยางดิบก่อนแปรรูป 90% สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 120,877 ล้านบาทแต่เราใช้เพียง 10% เท่านั้นเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางในประเทศและส่งเป็นสินค้าส่งออกสร้างรายได้ให้ประเทศถึง 94,350 ล้านบาทซึ่งจะให้เห็นได้ว่าการแปรรูปดังกล่าวสามารถมูลค่าเพิ่มได้ถึง 10 เท่า

“ ดังนั้นการส่งออกยางดิบจำนวนมากและไม่ได้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทำให้เราสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมากโดยหากมีการเพิ่มการแปรรูปเป็น 20% จะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 95,000ล้านบาท” ผอ.สถาบันไทย-เยอรมันระบุ

สร้างเครือข่ายภาครัฐ-เอกชนสู่ความสำเร็จ

สำหรับการพัฒนาดังกล่าวได้วางเป้าหมายไว้ 3 ยุทธศาสตร์คือ 1.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามาราถเฉพาะทางให้มากขึ้นเพราะผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ยังมีจำนวนจำกัด 2.พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้นและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้ และ 3.สร้างพันธมิตรและเครือข่ายจากทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีเอกภาพมากขึ้นจากที่ต่างคนต่างทำมานาน

อย่างไรก็ดีสถาบันไทย-เยอรมันที่ได้ร่วมงานกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง (CERM) มาในระยะเวลา 2 ปีกว่าทำให้รู้ว่าประเทศไทยต้องพัฒนาและวิจัยอุตสาหกรรมด้านแม่พิมพ์ยางอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อทำให้ผู้ประกอบการในประเทศใช้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยางได้อย่างคุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ระบุตำแหน่งอุตฯแม่พิมพ์ยางอยู่แถวหน้า

ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบคู่แข่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันไทยถือว่าอยู่ในระดับแถวหน้าในอุตสาหกรรมประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม, ลาว, พม่า, กัมพูชายังล้าหลังอยู่มากเ แต่หากมองประเทศมาเลเซียเขาจะมุ่งไปที่อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า, อุตสาหกรรมแม่พิมพ์พลาสติก ส่วนคู่แข่งอย่างสิงคโปร์จะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการการออกแบบมากกว่า จึงถือว่าหากได้รับการวิจัยและพัมนาอย่างจริงจังไทยจะเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในอนาคตอันใกล้

“ที่พูดกันเยอะคือเรื่องจะไปให้ถึงผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะข้อจำกัดมันเยอะมากไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย คุณภาพที่ต้องมีององค์กรระดับโลกให้การยอมรับ” ผอ.สถาบันไทย-เยอรมัน ระบุ

One Stop Service ด้านแม่พิมพ์ยาง

ด้าน ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง (CERM) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม (RDiPT) กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการการทำงานของศูนย์ฯนั้นพยายามยกระดับเพื่อให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านแม่พิมพ์ยางที่มีองค์ความรู้ในการขึ้นรูปแม่พิมพ์ผลิตภัณฑ์ยางและเป็นการสร้างความเข็มแข็งให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ โดยมีกลยุทธ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายคือ การสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน, การสร้างความสะดวกในลักษณะ One Stop Service และประชาสัมพันธ์งานในทุกช่องทางของการสื่อสาร

นอกจากนี้ในกลุ่มลูกค้าเฉพาะทางศูนย์ฯได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์ยางด้วยการให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อเพิ่มเติมความรู้แก่ผู้สนใจ ทั้งสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการผ่านศิษย์เก่าและผู้ปกครองของนิสิตนักศึกษาที่ประกอบอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง

สำหรับภารกิจของศูนย์ฯที่ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาในปี 2548-2550 ประกอบด้วย ปี2548 :การใช้คอมพิเตอร์ช่วยวิเคราะห์ทางวิศวกรรมในการออกแบบแม่พิมพ์ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางและ การประยุกต์ใช้วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการพัฒนาการออกแบบและการตรวจสอบแม่พิมพ์ยาง, ปี2549 :การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ทางวิศวกรรมในการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางหุ้มโลหะ , การพัฒนาออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางระบบทางวิ่งเย็น, การประยุกต์ใช้เครื่องกันซีเอ็นซีห้าแกนสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์ยางรองเท้า,การศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตแม่พิมผลิตภัณฑ์ยางแบบกดโดยกระบวนการเติมวัสดุ และ การพัฒนากระบวนการผลิตแม่พิมพ์อีพอร์กซี่เรซิ่นผสมอลูมิเนี่ยมสำหรับผลิตภัณฑ์ยาง,

ส่วนปี2550 : การพัฒนาการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางหุ้มมอเตอร์ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ , การพัฒนาการออกแบบและผลิตม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปยางพื้นรองเท้าแบบใช้วัสดุ 2 ชนิดและการประยุกต์ใช้แม่พิมพ์อีพอร์กซี่เรซิ่นเติมอลูมิเนี่ยมสำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางด้วยเครื่องอัดพิมพ์ยาง

10บริษัทเอกชนจับมือพัฒนาอุตฯแม่พิมพ์ยาง

อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับภาคเอกชนและได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และผลิตภัณฑ์ยางเป็นอย่างดีซึ่งมีจำนวน 10 บริษัทให้การสนับสนุนประกอบด้วย 1.บริษัท เอ็มเอสซี พีอาร์สอง จำกัด 2.บริษัทเซมเพอร์ฟอร์ม แปซิฟิกจำกัด 3.บริษัทสามารถออโตโมทีฟ อินดัสทรี จำกัด 4.บริษัท ซีเคเอสโมลล์ จำกัด 5.บริษัทเอสเค โพลีเมอร์ จำกัด 6.บริษัทไทยเอเย่นซี่ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 7.สหกรณ์ สกย.อุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด 8. บริษัทพาวเวอร์ซีล จำกัด 9.บริษัท กวิน แมชชีน จำกัด และ 10.บริษัท เอสแอลพลาสติก อินดรัสเทรียล จำกัด

ส่วนตัวอย่างงานวิจัยที่ได้อาทิ วางเท้าของรถจักรยานยนต์ของบริษัท เอ็มเอสซี พีอาร์สอง จำกัด, ชิ้นงานรองแท่นเครื่องของบริษัทบริษัทสามารถออโตโมทีฟ อินดัสทรี จำกัด, ชิ้นงานประเก็นของบริษัทเซมเพอร์ฟอร์ม แปซิฟิกจำกัด, แม่พิมพ์รองเท้าของบริษัท ซีเคเอสโมลล์ จำกัด และชิ้นงาน Motor Boot , Ink Cap, Bellow ของบริษัทเอสเค โพลีเมอร์ จำกัด

“เราต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ให้มีความเข็มแข็ง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันและเอื้อต่อการลงทุนและยังส่งผลให้เป็นฐานการผลิตในระดับสากลตามเป้าหมายของรับฐาลที่วางไว้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถชะลอการนำเข้าแม่พิมพ์จากประเทศขณะเดียวกันยังสามารถขยายการส่งออกแม่พิมพ์ไปขายยังต่างประเทศได้อีกด้วย”ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us