|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในปัจจุบันประเทศไทย ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการนำเงินมาลงทุน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า และเพื่อให้มีการจ้างแรงงานขึ้นภายในประเทศ โดยรัฐบาลในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้มีนโยบายในการที่จะยกเว้นภาษีบางอย่างให้แก่นักลงทุนเพื่อเป็นเหตุจูงใจให้นักลงทุนนำเงินมาลงทุนภายในประเทศ ซึ่งต่อมารัฐบาลในยุคนั้นจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 396) พ.ศ.2545 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีสาระสำคัญพอสรุปได้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลที่ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นดังกล่าว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
1.เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลร่วมลงทุนตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วย กำหนดกิจการจัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าสองร้อยล้านบาท โดยต้องมีการชำระค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนและชำระค่าหุ้นที่เหลือทั้งหมด ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันจดทะเบียน การลดทุนจดทะเบียนให้กระทำได้ เมื่อได้ถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีติดต่อกัน 2.ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ภายในสามปีนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ 3.ต้องถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่น้อยกว่าจำนวนร้อยละของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของบริษัท ดังนี้
(ก)ร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่หนึ่ง เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตจากอธิบดี จะมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20 ก็ได้ (ข)ร้อยละ 40 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่สอง (ค)ร้อยละ 60 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่สาม (ง)ร้อยละ 80 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่สี่ เป็นต้นไป
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดังกล่าวต้องเป็นกิจการที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมีการจ้างงานไม่เกินสองร้อยคน หรือตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนดขึ้นภายหลังจากพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้วเป็นเวลาสามปี
4.ต้องถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน เว้นแต่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดังกล่าวได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระยะเวลาการถือหุ้นอาจน้อยกว่าเจ็ดปีได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าปีต่อเนื่องกัน 5.ต้องมีการมอบหมายให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการเงินร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตรา 5 เอกูนวีสติ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้
6.เงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฎฐารส 7.ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฎฐารส
ซึ่งหากพิจารณาจากเนื้อหาและสาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ผู้ที่นำเงินมาร่วมลงทุนในประเทศไทย และเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาแล้ว นักลงทุนก็จะได้รับข้อดีคือการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ๆ และยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้อันเกิดจากผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ๆ อีกด้วย
แต่อย่างใดก็ตามรัฐบาลก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่ว่าอาจมีนักลงทุนบางกลุ่มบางพวกที่อาจจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยช่องโหว่ในนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล โดยมีเจตนาที่แท้จริงเพียงเพื่อจะเข้ามาลงทุนก็เพื่อหวังผลประโยชน์จากการที่ได้รับการยกเว้นภาษีบางอย่างเท่านั้น โดยมิได้มีเจตนาที่จะลงทุนตามนโยบายของรัฐบาลแต่อย่างใด ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ผู้ที่จะลงทุนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีการเข้าร่วมลงทุนกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งก็มีอยู่ 17 ประเภทและสถาบันการเงินต่าง ๆ เหล่านั้น จะต้องเปิดดำเนินการอยู่ภายในประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สถาบันการเงินต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการที่นักลงทุนนำเงินไปลงทุนในกิจการนั้นจริง นอกจากนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนต่างมีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการลงทุน ค่าตอบแทน และให้มีการจ้างงานภายในประเทศจริง ซึ่งถึงแม้ว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากการยกเว้นภาษีดังกล่าวไป แต่ผลประกอบการของนักลงทุนดังกล่าวก็จะกลับเป็นผลประโยชน์แก่ประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
แต่ด้วยนโยบาลและเหตุจูงใจดังกล่าวอาจเป็นเหตุทำให้นักลงทุนบางคนที่มีเงินลงทุนและทุนจดทะเบียนไม่ถึงกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แต่ต้องการที่จะขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้เป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน ทั้งนี้เพื่อที่นักลงทุนบางคนนั้นจะได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนบางคนนั้นก็ไม่อาจที่จะดำเนินการใด ๆ ได้ เพราะไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่รัฐบาลได้วางไว้ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำและเข้าดำเนินการต่าง ๆ จากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้เป็นผู้จัดการเงินร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ทำการตกแต่งบัญชีเงินลงทุนให้แก่บริษัทของนักลงทุนที่มีเงินลงทุนและทุนจดทะเบียนไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดไว้เสียเอง ทั้งนี้เป็นการตบตาให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หลงเชื่อว่าบริษัทของนักลงทุนนั้น ๆ มีเงินลงทุนและทุนจดทะเบียนตามกฎเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดไว้ทุกประการ เพื่อที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนให้แก่บริษัทของนักลงทุนบางคนนั้น ให้เป็นบริษัทประเภทธุรกิจเงินร่วมลงทุน เพื่อที่บริษัทของนักลงทุนบางคนนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวข้างต้นต่อไป
ซึ่งหากมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริงย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้รัฐสูญเสียภาษีเงินได้จากเงินปันผลอันเกิดจากการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและยังสูญเสียภาษีเงินได้จากการโอนขายหุ้นของกิจการดังกล่าวอีกด้วย
ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคตจริง กรมสรรพากรในฐานะผู้ที่สูญเสียบภาษีเงินได้ดังกล่าว จึงควรที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและหลักฐานต่าง ๆ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นประเภท “ธุรกิจเงินร่วมลงทุน” กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่ามีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ.2545 จริงหรือไม่ เพราะหากกรมสรรมพากรปล่อยปละละเลยไปความสูญเสียก็จะเกิดขึ้นกับรัฐอย่างมากมายมหาศาล
|
|
|
|
|