Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 เมษายน 2550
โยธาฯเช็กบิล1.3หมื่นอาคาร คาดโทษหากไม่ส่งสภาพตึก             
 


   
search resources

Real Estate




กรมโยธาธิการฯ ร่อนหนังสือแจ้งเจ้าของอาคารสูง 13,000 หลังทั่วประเทศ จี้เร่งส่งรายงานตรวจสภาพอาคารก่อน 29 ธ.ค.50 คาดโทษเจ้าของอาคารไม่ส่งรายงานตามกำหนด สั่งปรับวันละ 10,000 บาท ด้านโยธาฯเร่งผลิตผู้ตรวจสอบรองรับการตรวจสอบอาคาร คาดสิ้นปีสามารถผลิตผู้ตรวจได้กว่า 1,000 ราย ส่วนผู้ประกอบการอาคารชุดพื้นที่เกินและไม่เกิน5 พันตร.ม.ได้เฮ หลังได้ยกเว้นไม่ต้องตรวจสภาพ5-7ปี

นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง เปิดเผยว่า กรมโยธาฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งเจ้าของอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่เข้าข่ายอาคาร 9 ประเภทที่ต้องได้รับการตรวจสอบอาคาร ตามกฎกระทรงมหาดไทย ว่าด้วยการตรวจสอบสภาพอาคาร และความปลดภัยภายในอาคารตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยกรมโยธากำหนดให้เจ้าของอาคารเก่าต้องมีการตรวจสอบอาคารและส่งรายงานการตรวจสอบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือเทศบาลในพื้นที่สังกัดอยู่ภายก่อนวันที่ 29 ธ.ค.2550

ส่วนอาคารที่ก่อสร้างเสร็จใหม่ และได้รับใบรับรองการก่อสร้างอาคาร (อ.6) เข้าข่ายต้องได้รับการตรวจสอบตามประเภทอาคารที่กำหนด เจ้าของอาคารจะต้องจัดหาผู้ตรวจสอบเพื่อดำเนินการตรวจสอบสภาพอาคาร และส่งรายงานภายใน 1 ปี หลังจากที่ได้ใบรับรอง( อ.6) อาทิ หากอาคารได้รับใบรับรองเมื่อวันที่2 เมษายน 2550ก็จะต้องส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 2 เมษายน 2551

ทั้งนี้ การตรวจสอบอาคารจะแบ่งออกเป็น2 ประเภทคือ 1.การตรวจสอบใหญ่ ซึ่งจะมีการตรวจสอบทุกๆ5ปีต่อ1 ครั้ง และ2.คือการตรวจสอบย่อย ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกันปีละ1 ครั้ง โดยการตรวจสอบใหญ่จะเป็นในส่วนของโครงสร้างอาคารและระบบทั้งหมดของตัวอาคาร ส่วนการตรวจสอบย่อยจะเป้นการตรวจสอบในเรื่องของความปลอดภายในอาคาร

สำหรับอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายอาคารสูงหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร จะได้รับการยกเว้นการตรวจสอบเป็นเวลา 7 ปี แต่ต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบให้แก่อปท.ก่อนวันที่ 29 ธ.ค.2555 ส่วนอาคารที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตรขึ้นไปจะได้รับการยกเว้นเป็นเวลา 5 ปี แต่ต้องส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธ.ค.2553

“อาคารที่เข้าข่ายต้องได้รับการตรวจสอบแต่ไม่ดำเนินการตามที่กรมแจ้งเป็นหนังสือไป จะต้องถูกปรับในอัตราวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการส่งรายงานผลการตรวจสอบตามที่กฎหมายกำหนด “

อธิบดีกรมโยธาธิการฯ กล่าวว่า หลังจากที่ในปี2548 ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงเรื่องการตรวจสอบอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของอาคารต้องรายงานผลการตรวจสอบอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว โดยกรมโยธาธิการในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลในเรื่องดังกล่าว และรับผิดชอบจัดอบรมผู้ตรวจสอบอาคาร เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบอาคารทั่วประเทศจึงได้เริ่มดำเนินการคัดเอกและจัดอบรมผู้ตรวจสอบ ตั้งแต่ปี2549 ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุด มีผู้ที่ผ่านมาสอบคัดเลือกและอบรมแล้ว 127 ราย ซึ่งกลุ่มผู้ตรวจสอบเหล่านี้จะเริ่มทำหน้าที่ตรวจสอบอาคารในปีนี้เป็นปีแรก

ปัจจุบัน อาคารที่เข้าข่ายต้องได้รับการตรวจสภาพตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ทั้ง 9ประเภทที่กำหนดไว้มีจำนวนทั้งสิ้น 13,000 อาคารทั่วประเทศ โดยเป็นอาคารที่อยู่ในพื้นที่กทม.จำนวน 10,000 กว่าอาคารส่วนที่เหลือจะเป็นอาคารในพื้นที่ต่างจังหวัด

อย่างไรก็ตาม จำนวนอาคารที่ต้องได้รับกาตรวจสอบมีจำนวนสูงถึง 13,000 อาคาร ทำให้กรมโยธาฯต้องเร่งพัฒนาบุคลากรที่จะเข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบเพิ่ม ซึ่งขณะนี้กำลังทยอยสอบคัดเลือก และอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนให้แก่ผู้ตรวจสอบให้มากขึ้น คาดว่าภายในปี50นี้ กรมโยธาฯจะสามารถพัฒนาผู้ตรวจสอบออกสู่ตลาดได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ซึ่งจะทำให้สามารถช่วยตรวจสอบอาคารได้เร็วขึ้น

“ ความล่าช้าในการผลิต ผู้ตรวจสอบอาคารที่ผ่านมานั้น สืบเนื่องมาจากปัญหาเรื่องค่าเบี้ยประกันที่บริษัทประกันภัยเรียกเก็บจาก เบี้ยประกันในจำนวนที่สูงมาก จากเจ้าของอาคาร และผู้ตรวจสอบ ซึ่งต้องได้รับการค้ำประกันจาก บริษัทประกันภัยในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดในการตรวจสอบ ทำให้เกิดความล่าช้า แต่หลังจากที่กรมประกันภัยเรียกผู้เกี่ยวข้องเข้ามาเจรจาแล้วได้ข้อสรุปว่าผุ้ตรวจสอบจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันต่อปี 1ล้านบาท ส่วนเจ้าของอาคาต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน 2 ล้านบาทต่อปี”

สำหรับความคืบหน้าการออกกฎกระทรวงเพื่อนิรโทษกรรมอาคารสร้างค้าง หรืออาคารร้าง ให้สามารถนำมาก่อสร้างต่อได้นั้น ขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นต้อนการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนที่จะนำเสนอต่อ ครม. อนุมัติให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ได้อยู่ โดยจำนวนอาคารร้างหรืออาคารก่อสร้างค้างที่มีอยู่ในตลาดมีจำนวน1,700อาคารและคาดว่าจะสามารถนำกลับมาก่อสร้างต่อได้ประมาณ 1,000 อาคาร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us