|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติเตรียมทบทวนประมาณการเศรษฐกิจใหม่หลังไตรมาสแรกของปีการบริโภค-ลงทุนภาคเอกชนยังทรุด ระบุภาพรวมเศรษฐกิจเดือน ก.พ.มีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องทั้งภาคการอุปโภคบริโภค ขณะที่ภาคการคลังสวนทางเศรษฐกิจจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 3%ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิต
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนส่งผลให้การลงทุนของภาคเอกชนในไตรมาสแรกชะลอตัวต่ำสุดของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จากเดิมที่ธปท.คาดว่าการลงทุนจะฟื้นตัวได้ในไตรมาสแรกของปี 2550 ก็อาจจะเลื่อนไปเป็นไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ฝ่ายนโยบายการเงินกำลังพิจารณาปรับตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งจะเสนอให้กับที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเงิน (กนง.) พิจารณา ในวันที่ 11 เม.ย.นี้ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะมีการปรับประมาณเศรษฐกิจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกนง.จะเป็นผู้ตัดสินใจ และจะประกาศการปรับประมาณการเศรษฐกิจครั้งใหม่ในวันที่ 24 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อต่อไป
ทั้งนี้ข้อมูลเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา การลงทุนชะลอตัวลง อาจทำให้ตัวเลขประมาณการลดลงบ้าง แต่ปัจจัยบวกยังคงมีอยู่ โดยอัตราดอกเบี้ยมีทิศทางอยู่ในช่วงขาลงและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนให้ฟื้นตัวต่อไป นอกจากนี้ การที่นายกรัฐมนตรีมีการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นความเชื่อมั่นทางด้านการเมืองให้มีความชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาทางด้านการเมืองถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ที่ชะลอดูทิศทางที่ชัดเจน
“ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรก ดูเหมือนชะลอลง แต่การประชุมกนง.ครั้งหน้า หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น ธปท.ก็จะนำปัจจัยบวกเหล่านี้เข้ามาพิจารณาในตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี ซึ่งตัวเลขอาจจะไม่เปลี่ยนก็ได้” นางอมรา กล่าว
สำหรับภาวะเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าการบริโภคของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการซื้อสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เนื่องจากผู้บริโภครอการเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องตามเครื่องชี้วัดที่สำคัญคือปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ลดลงมาอยู่ที่ 73.5 จากเดือนก่อน อีกทั้งดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีการขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 ซึ่งชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน
สำหรับภาคการคลังรัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 117.3 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ตามการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคเป็นสำคัญ ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะภาษียาสูบ สำหรับภาษีจากฐานรายได้ชะลอลงตามภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน แม้ว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและรายได้ปิโตเลียมยังคงขยายตัว ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 97.1 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงค้าง ณ สิ้นเดือนลดลง 75.3 พันล้านบาทมาอยู่ที่ 44.5 พันล้านบาท
ด้านภาคต่างประเทศ เดือนม.ค.2550 ดุลการค้าเกินดุล 808 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 17.8 ตามการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก และผลิตภัณฑ์เคมี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.0 ซึ่งชะลอตัวตามการนำเข้าสินค้าสำคัญได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุล 2,430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เปลี่ยนจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,442 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับภาคการค้าต่างประเทศในเดือนก.พ.2550 ไม่มีข้อมูล เนื่องจากกรมศุลกากรเลื่อนกำหนดการเผยแพร่ข้อมูลออกไป อย่างไรก็ตามในส่วนของดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 541 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายจากผลประโยชน์การลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผลภาคเอกชน ทั้งนี้ดุลการชำระเงินเกินดุล 834 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ก.พ.2550 อยู่ที่ระดับ 68.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้มียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิจำนวน 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
|