|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.ชี้จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ล่าสุดผลการสำรวจในช่วงไตรมาส 4 ของปี 49ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในภาคธุรกิจลดลงเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และส่งผลกระทบผ่านมายังการลงทุนเช่นกัน คาดในอนาคตแนวโน้มการลงทุนจะขยายตัวอย่างช้าๆ แต่อาจกระตุ้นให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น เพื่อขยายการลงทุนมากขึ้นได้จากการใช้จ่ายภาครัฐ-ทิศทางดอกเบี้ยขาลง-สถานการณ์การเมืองหากมีความชัดเจนมากขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้รายงานผลประกอบการของภาคธุรกิจในส่วนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินล่าสุดไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ที่ผ่านมา พบว่า ผลการดำเนินงานของภาคธุรกิจในภาพรวม แม้จะปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร และความสามารถในการชำระหนี้ลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยเฉพาะของภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนเช่นกัน
ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 ของปี 2549 ที่ผ่านมา ความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้อัตรากำไรเบื้องต้นจะปรับสูงขึ้นบ้าง แต่เมื่อหักต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(ROA) ลดลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 7%ต่อปี
ขณะเดียวกันความสามารถในการชำระหนี้ที่สะท้อนจากอัตราส่วนรายได้ต่อภาระดอกเบี้ยจ่ายปรับลดลงเช่นกัน แต่ยังอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ แต่แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรและการชำระหนี้ของภาคธุรกิจในระยะต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(D/E) ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจ
ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยพิจารณาจากสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่อสินทรัพย์ถาวรทั้งหมดชะลอตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอลง และภาวะความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลง
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะต่อไปคาดว่าจะขยายตัวอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ได้แก่ 1.การใช้จ่ายของภาครัฐที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 2.ทิศทางนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น และ3.สถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้ฟื้นตัว และจะส่งผลให้มีการขยายตัวของการลงทุนต่อไป
นอกจากนี้ โครงสร้างทางการเงินของภาคธุรกิจโดยรวมยังคงมีความแข็งแกร่งและเอื้ออำนวยต่อการลงทุน โดยปัจจุบันภาคธุรกิจมีเงินทุนสะสมภายในหรือกำไรสะสมสูงกว่า 40% ของส่วนของผู้ถือหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจล่าสุด ณ เดือนก.พ.ที่ผ่านมา อยู่ในระดับ 42.9 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 43.9 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นการจ้างงานและการผลิต ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 51.3 โดยเฉพาะจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการแข่งขันที่รุนแรงจากตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตามระดับดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50
|
|
|
|
|