Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
บทความจาก เจ้าพ่อ. หนังสือเล่มโครงการ Manager Classic กรกฎาคม 2545
เจริญ สิริวัฒนภักดี นักซื้อที่แท้จริง             
 


   
search resources

เจริญ สิริวัฒนภักดี




เจริญ ศรีสมบูรณานนท์ เปลี่ยนนามสกุลเป็น "สิริวัฒนภักดี " เมื่อปี 2530 เดิมชื่อจีนว่า "เคียกเม้ง แซ่โซว " เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม 2487 ที่ย่านทรงวาดซึ่งเตี่ยขายหอยทอดหาเลี้ยงลูก 11 คน เจริญใช้เวลา 8 ปีเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนเผยอิง บุคลิกอ่อน น้อมถ่อมตน มีไหวพริบทางการค้า

เขาเป็นตัวอย่างของคนที่ดันตัวเองขึ้นมาด้วยสปริงบอร์ดที่มาจากระบบอุปถัมภ์ ไม่ต่างจากคนรุ่นเก่าที่ใช้เงิน อำนาจ ผนวกกับโอกาสที่ฉกฉวยได้

"ผมได้เริ่มรู้จักท่านผู้อำนวยการ เมื่อปี 2505 จากการเข้าไปขายของให้แก่โรงงานสุราบางยี่ขัน " เจริญเขียนคำไว้อาลัยในหนังสืองานศพ จุล กาญจนลักษณ์ เมื่อ มิถุนายน 2530 ไว้

เดิมทีเจริญรับจ้างเข็นรถส่งของแถวสำเพ็งและทรงวาด จากนั้นหาบเร่ขายของตามฟุตปาธ แล้วก็ไปเป็นลูกจ้างร้าน ย่งฮะเส็ง และห้างแพนอินเตอร์ที่จัดส่งของโรงงานสุราบางยี่ขัน พอเก็บเงินทองได้ก็เริ่มกิจการร้านโชวห่วยขายของจิปาถะในแม่โขง ธุรกิจเติบโตจนเจริญสร้างตึกแถว

3 คูหาติดกับร้านเทพพาณิชย์ ของปรีชา ตันประเสริฐ ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่

เจริญแต่งงานกับวรรณา แซ่จิว ลูกสาวของกึ้งจู แซ่จิว (Chou Chin Shu) เศรษฐีเก่าชาวจีน ที่รวยเงียบๆ กับธุรกิจซัปพลายโรงงานสุราบางยี่ขัน ที่ซึ่งเจริญทำงานเป็นลูกน้องคนสนิทของเถลิง เหล่าจินดา ในบริษัทสุรามหาคุณได้ด้วยบารมีของอดีตนายกสมาคมแต้จิ๋ว "คุงเคียม แซ่โซว " ที่ฝากฝังให้

เถลิง เหล่าจินดา เป็นคนอ่างทองเคยมีร้านกาแฟเล็กๆ หลังสงคราม โลกครั้งที่สอง กลับเข้ามากรุงเทพฯ กับฐานะพ่อค้าขายส่งเหล้า โดยร่วมกับสหัท มหาคุณ ตั้งบริษัทเศรษฐการ และสหัทดึงไปช่วยงานที่โรงสุราบางยี่ขัน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาศัยอำนาจเผด็จการยกกิจการโรงงานสุราบางยี่ขัน ให้ทำในนามบริษัท สุรามหาคุณ ซึ่งสหัทได้ดึงตระกูลเตชะไพบูลย์และล่ำซำเข้าถือหุ้นด้วย แต่เถลิงคงมีบทบาทสำคัญในฐานะรองผู้อำนวยการฝ่ายโรงงานและจัดซื้อในช่วงปี 2513 -2522 ซึ่งเป็นช่วงแม่โขงยุคที่สองได้ต่อสัญญา

ต่อมาเมื่อกลุ่มเถลิง-เจริญ แยกตัวจากบริษัทสุรามหาคุณด้วยความไม่ลงรอยกับสุเมธ เตชะไพบูลย์ แห่งบริษัทสุรามหาคุณที่ชนะแข่งประมูล โรงสุราบางยี่ขัน มีอายุสัญญา 15 ปีจาก 2523-2537

ความพ่ายแพ้ของกลุ่มเถลิง-เจริญ ครั้งนั้นได้เป็นบทเรียนที่เจริญศึกษาเพื่อเอาชนะต่อมา โดยกลุ่มเจริญได้ผลิตเหล้าแสงโสมและหงส์ทอง รสชาติใกล้เคียงแม่โขงเพราะผู้ปรุงคนเดียวกันคือ จุล กาญจนลักษณ์

"เมื่อปี 2518 ท่าน (จุล กาญจนลักษณ์) ได้กรุณาแนะนำผมว่า โรงงานสุราของบริษัทธารน้ำทิพย์ จำกัด นั้น ดำเนินกิจการขาดทุน หากปล่อยให้ล้มไป เป็นเรื่องน่าเสียดาย ควรช่วยกันรักษาเอาไว้ จะได้เป็นการพัฒนาสุราพิเศษ อีกทางหนึ่ง จากจุดเริ่มต้นจุดนี้ สุราแสงโสมก็เกิดขึ้น และต่อมาหงส์ทองและสุราทิพย์... " จากคำไว้อาลัยจุล กาญจนลักษณ์ ของเจริญ

ปี 2525 กรมสรรพสามิตออกคำสั่งอนุญาตให้ขนสุราข้ามเขตได้ กลุ่มเถลิง-เจริญ ตักตวงความร่ำรวยจากโอกาสทองนี้ ร่วมกันก่อตั้งบริษัทจำนวนมาก โดยร่วมกับผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเช่น พงส์ สารสิน ในนามบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยว ข้องกับสุราและอสังหาริมทรัพย์ เช่น บริษัท ทีซีซีที่ดินและการเคหะ บริษัทพงส์เจริญการลงทุน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นบริษัทเจริญวรรณกิจ) บริษัทสุราทิพย์ บริษัททีซีซี บริษัททีซีซีธุรกิจ โดยทุกบริษัทต้องมีชื่อพ่อตาคือกึ้งจู แซ่จิว ด้วย

ในชีวิตของเจริญที่เปลี่ยนไปเป็นมหาเศรษฐีน้ำเมา มีคนสองคนที่เจริญ ต้องระลึกถึงตลอดเวลา 2 คน คือ พ่อตาของเขา กึ้งจู แซ่จิว และอีกคนคือ เถลิง เหล่าจินดา

เมื่อธนาคารมหานครมีปัญหา คำรณ เตชะไพบูลย์ ต้องระเห็จออกนอก ประเทศ ธนาคารเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรง จนแบงก์ชาติต้องเข้าควบคุม กึ่งจู แซ่จิว ได้ถูกเจริญชักชวนให้ควักเงิน 200 ล้านบาทเข้าถือหุ้นของธนาคารนี้ หลังจากที่พ่อตาของเขาได้ซื้อกิจการบงล.มหานครทรัสต์ก่อนหน้านี้แล้ว ต่อมาบงล.แห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บงล.มหาธนกิจ มีพงส์ สารสิน เป็นประธาน แต่ถูกปิดในวันที่ 8 ธ.ค.2540 ก่อนที่ธนาคารมหานครก็ถูกลดทุนเหลือ 1 สตางค์ ต่อหุ้นในวันที่ 6 ก.พ.2541

ยุคต้นๆ เจริญได้สนใจลงทุนซื้อหุ้นธนาคารอย่างเงียบๆ จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญในธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารเอเชีย และธนาคารศรีนครด้วย โดยซื้อในนามบริษัท ชลิตลาภ ไทย- สิริวัฒน์ สุริวงศ์คอมเพล็กซ์ และบริษัทพรวิเศษ

ปี 2531 เจริญซื้อหุ้นบริษัทอาคเนย์ประกันภัย 39.5% จากนรฤทธิ์ โชติกเสถียร และถือหุ้นใหญ่ 53% (ปี 2537) ของบริษัท อินทรประกันภัย (เดิมอินเตอร์ไลฟ์ประกันชีวิตและประกันภัย)

ตั้งแต่ปี 2530 เป็นปีที่อาณาจักรของเจริญขยายตัวขนานใหญ่ มีสินทรัพย์เติบโตอย่างมาก จากการซื้อธุรกิจกลุ่มธนาคาร กิจการอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ ซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งทำในนามบริษัท ที.ซี.ซี.ทรัพย์สินเจริญ ซึ่งตั้งขึ้นในปี 2524 เดิมชื่อบริษัท ที.ซี.ซี.ที่ดินและการเคหะ มีสินทรัพย์เป็นที่ดินทั้งหมด ชนิดตู้เก็บโฉนดปิดไม่ลงทีเดียว

เหตุผลของการซื้อที่ดินในยุคแรก เพื่อเป็นที่ระบายของเสียจากโรงเหล้า 12 โรงในต่างจังหวัด เช่นที่อยุธยาจนถึงอ่างทองและสุพรรณบุรี แต่ในช่วงปี 2530 ที่เศรษฐกิจไทยเริ่มบูม กลุ่มของเจริญกว้านซื้อที่ดินขนาดใหญ่นับพันนับหมื่นไร่ เช่นที่ บ้านบึงจำนวน 2,000 ไร่ต่อจากเถลิง เหล่าจินดา ที่ดินประมาณหมื่นไร่ที่ชะอำ บ้านท่ายาง

ส่วนที่กรุงเทพฯ กลุ่มเจริญได้ซื้อที่ดินสำนักงานใหญ่ ขนาด 492 ตารางวา ธนาคารสหธนาคารที่ปลายถนนเยาวราช ที่บรรเจิด ชลวิจารณ์ ตกลงขาย 120 ล้านบาท

นอกจากนี้เจริญซื้อโครงการเสนานิเวศน์ ในนามบริษัท สยามพัฒนา ขนาด 400 ไร่จากชวน รัตนรักษ์ อดีตประธานธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยผ่อน ชำระยาว 15 ปี

ส่วนการซื้อโครงการพันธ์ทิพย์พลาซ่า ของบริษัทไพบูลย์สมบัติของตระกูลบุนนาค ที่ติดจำนองกับธนาคารไทยทนุและบงล.ภัทรธนกิจ 500 ล้านบาท โดยได้ที่ดินอีก 5 แปลงของบริษัทไพบูลย์สมบัติมาด้วย คือ ที่ดินแปลงตลาดเก่าเยาวราช และที่ดินอีก 55 ไร่ข้างโกดังอี๊สต์เอเชียติ๊ก บริเวณวัดพระยาไกร (ดูตารางที่ดินส่วนหนึ่งของเจริญ)

ปี 2537 เจริญได้ซื้อกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียลของอากร ฮุนตระกูล ซึ่งมีโรงแรมในเครือ 7 แห่ง เช่น อิมพีเรียล อิมพาล่า สุขุมวิท 24 อิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท 22 อิมพีเรียลธารา แม่ฮ่องสอน ปัจจุบันโรงแรมอิมพีเรียลที่ถนน วิทยุได้กลายเป็นโรงแรมระดับห้าดาว พลาซ่าแอทธินี

ปี 2538 และ 2539 ซื้อโรงแรมภูแก้วรีสอร์ทที่เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ราคา 260 ล้านจากบุญชู โรจนเสถียร โครงการซิตี้รีสอร์ทที่เชียงใหม่ และโรงแรม โกลเด้น ไทรแองเกิล วิลเลจ ที่เชียงราย จากไพโรจน์ เปี่ยมพงศ์สานต์

ในปี 2540 เจริญได้ซื้ออาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ที่ฮ่องกงมูลค่า 4,000 พันล้านบาท และยังข้ามไปซื้อโรงแรมพลาซ่า แอทธินี ที่นครนิวยอร์ก มูลค่า 1,750 ล้านบาท

ส่วนการซื้อโรงงานน้ำตาลชลบุรี ถือเป็นสินทรัพย์ที่เสริมแขนขาของธุรกิจสุรา เพราะโมลาสที่โรงน้ำตาลใช้เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งในการผลิตเหล้า ต่อมาได้ซื้อโรงน้ำตาลแม่วัง และโรงน้ำตาลในอุตรดิตถ์ และสุพรรณบุรีด้วย

นอกจากนี้ยังเทกโอเวอร์โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน เพื่อผลิตกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์สุราและเบียร์ในเครือด้วย

ปี 2534 ยุคที่รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เริ่มนโยบายเปิดเสรีสุราและ เบียร์ เจริญได้ร่วมทุนกับบริษัทคาร์ลสเบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก ตั้งบริษัท คาร์ลสเบอร์ก บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) ที่อยุธยา มีกำลังผลิตประมาณ 100 ล้านลิตรต่อปี นอกจากนี้ยังผลิตเบียร์ตราช้างที่มีกลยุทธ์การตลาดที่มีเอเย่นต์ทั่วประเทศแบบ "ขายเหล้าพ่วงเบียร์ " และปูพรมทุ่มทุนมหาศาลด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

ปี 2542 ยุคเปิดเสรีสุราหลังหมดยุคสัมปทานช่วงสุดท้ายของกลุ่มสุรามหาราษฎร (ปี 2523-2542) กลุ่มสุราค่ายสุราทิพย์ของเจริญ ชนะประมูลโรงงาน สุราบางยี่ขัน 2 โดยบริษัทสราญชัย ประมูลสูงถึง 5,885 ล้านบาท ขณะที่ค่ายบุญรอดบริวเวอรี่เสนอเพียง 2,544 ล้านบาท

จากข้อเขียนของ "ญิบพัน " คอลัมน์เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2544 พบว่าในปลายปี 2541 การปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจน้ำเมาของเจริญ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก

กลุ่มบริษัทแรก เป็นกลุ่มธุรกิจเหล้าดั้งเดิม ได้แก่ บริษัทสุรามหาราษฎร (มหาชน) กลุ่มโรงเหล้าสุราทิพย์ 11 แห่ง กลุ่มโรงเหล้าสุรามหาทิพย์ 9 แห่ง บริษัทสุรากระทิงแดง (1988) ที่บริษัทแสงโสมถือหุ้น 25% ของหุ้นเพิ่มทุน 3,000 ล้านบาท และบริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ที่แสงโสมถือหุ้น 25%

กลุ่มบริษัทที่สอง เป็นบริษัทใหม่ที่เพิ่งตั้งขึ้นหลังเปิดเสรีสุรา ได้แก่ บริษัทกลุ่ม 43 ที่ประกอบด้วย 5 บริษัทในเครือ คือ บริษัทสราญชัย บริษัท กาญจนสิงขร บริษัทแก่นขวัญ บริษัทมงคลสมัย และบริษัทนทีชัย

ขณะเดียวกันบริษัทใหม่ที่มีบทบาทระดมเงินกู้ อย่างบริษัทแอลเอส พีวี ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พ.ย.2541 ทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท ทำธุรกิจดูแลสต็อกเหล้าที่บรรจุขวดแล้วหลังปี 2540 สต็อกเหล้านี้ประมาณ 40,000-50,000 เท (หนึ่งเทเท่ากับ 20 ลิตร) ได้กลายเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในโครงการออกหุ้นกู้ของกลุ่มบริษัทแสงโสม โดยทริสจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ A- เงินกู้นี้เจริญเอาไปชำระภาษีเหล้าก่อนสิ้นสุดอายุสัมปทานของบริษัทสุรามหาราษฎร (มหาชน) และเตรียมประมูลเหล้าที่รัฐบาลจัดขึ้นในปี 2542

กลุ่มบริษัทที่สาม ได้แก่บริษัทโฮลดิ้งคอมปานีที่เป็น nominee ให้กับกลุ่มแสงโสม ในการถือหุ้นบริษัทในเครือ เช่น บริษัทเทพอรุโณทัย และบริษัทอธิมาตร

กลุ่มบริษัทที่สี่ เป็นบริษัทด้านจัดจำหน่ายของกลุ่มบริษัทแสงโสม ได้แก่บริษัทใหม่อีก 16 บริษัท

อาณาจักรธุรกิจของเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ขยายไปด้วยการซื้อกิจการไม่จบสิ้น ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ เช่น ปลายพฤศจิกายน 2544 เทกโอเวอร์บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ด้วยมูลค่า 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 5,532.2 ล้านบาท ( ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์เท่ากับ 44.26 บาท) โดยบริษัทนครชื่น ที่เพิ่งจดทะเบียนต้นมกราคม 2544 มีทุน 32 ล้านบาท ที่มีปณต สิริวัฒนภักดี บุตรคนที่ 5 ของเจริญถือหุ้นด้วย

เหตุผลที่ซื้อเบอร์ลี่ฯ เพื่อต้องการซื้อกิจการบริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย ซึ่งจะผลิตขวดบรรจุป้อนอุตสาหกรรมเบียร์และสุราของกลุ่มเจริญได้เต็มที่ และเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ก็เป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดของไทยด้วย

ความใหญ่ในธุรกิจสุรา ทำให้เขามีโอกาสซื้อกิจการบริษัท อินเตอร์เฮ้าส์ ดิสทิลเลอร์ส ผู้ผลิตและจำหน่ายสุราในสกอตแลนด์และยุโรปด้วยเงินไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท

กลางปี 2545 เจริญ สิริวัฒนภักดี ได้อยู่เบื้องหลังการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2002 ด้วยมูลค่า 300 ล้านบาท โดยการถ่ายทอดสดจากสนามแบบไม่มีโฆษณาคั่น ได้สร้างความนิยมเชิงการตลาด ที่มีผลต่อสินค้าเบียร์ ตราช้างอย่างเห็นชัดเจน

นี่คือภาพลักษณ์ของ The Man Behind ของเจริญ สิริวัฒนภักดี นักซื้อที่กล้าได้กล้าเสีย แท้จริง !

หมายเหตุ : เรียบเรียงจากเรื่อง "เจริญ ศรีสมบูรณานนท์ นักซื้อที่แท้จริง " โดยวิรัตน์ แสงทองคำ ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 52 มกราคม 2531 และเรื่อง "เจริญ ผู้ยิ่งใหญ่วงการที่ดินตัวจริง " โดย ปฏิญา เจตนเสน ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 73 ตุลาคม 2532

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us