|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ภูมิหลัง
ในปี 2549เศรษฐกิจไทยขยายตัวประมาณร้อยละ 5 แม้ว่าสภาวการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ แต่การส่งออกที่ขยายตัวสูงช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกเป็นผลจากการเร่งตัวของอุปสงค์สินค้าเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ (manufactured goods)
อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ได้ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเหลือร้อยละ 3.5 ต่อปี สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ได้ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเหลือร้อยละ 1.5 ซึ่งอยู่ภายในช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ร้อยละ 0-3.5
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สรอ.แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 14 จากสิ้นปี 2548 เป็นผลจากเงินทุนไหลเข้าที่สูงต่อเนื่อง และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตัวดีขึ้น เงินสำรองทางการ ณ สิ้นปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 67 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือเทียบเท่าร้อยละ 221 ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2548 ประมาณ 15 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในขณะที่หนี้ต่างประเทศรวมลดลงเหลือเพียงร้อยละ 27.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ภาคสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งแม้จะถูกกระทบจากราคาน้ำมันที่ผันผวน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันตลาดการเงินผันผวนตามเหตุการณ์ทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย
โดยรวมพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง แต่ความท้าทายของนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะสั้นคือ การสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและการเสริมสร้างความมั่นใจของนักลงทุน ซึ่งหมายรวมถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ที่ช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์ข้างต้น อีกทั้งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของไทยเกี่ยวกับการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ในระยะปานกลางเศรษฐกิจน่าจะปรับตัวกลับไปขยายตัวได้ในอัตราการขยายตัวตามศักยภาพที่ประมาณร้อยละ 6 ต่อปี ภายใต้ภาวะแวดล้อมที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ การเมืองกลับสู่ภาวะปกติ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนดีขึ้น**
การประเมินของคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารเห็นพ้องกับผลการประเมินของคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ และชื่นชมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย แม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารมีความเห็นว่า การส่งออกที่เติบโตเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่นโยบายการเงินการคลังที่ระมัดระวังได้ช่วยควบคุมเงินเฟ้อและส่งผลให้เงินสำรองทางการเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันภาคสถาบันการเงินสามารถรองรับความผันผวนที่มากขึ้นในตลาดการเงินจากเหตุการณ์ทางการเมือง และการปรับเปลี่ยนนโยบาย คณะกรรมการบริหารจึงเห็นว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง
คณะกรรมการบริหารเห็นร่วมกันว่าความท้าทายหลักด้านนโยบายเศรษฐกิจในระยะต่อไป คือ การเร่งอัตราการเติบโตควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยทางการจำเป็นต้องเร่งกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ เพิ่มปริมาณและคุณภาพของการลงทุนภาครัฐและเสริมสร้างความมั่นใจของนักลงทุน ทั้งนี้ กรรมการบริหารส่วนใหญ่สนับสนุนการผ่อนคลายนดยบายการคลังและการเงิน ในภาวะแวดล้อมปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อต่ำ และฐานะการคลังมีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ กรรมการบริหารเน้นว่า การปรับตัวทางการเมืองสู่ภาวะปกติจะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยฟื้นฟูความมั่นใจของภาคธุรกิจและส่งเสริมการขยายตัวของการลงทุน
คณะกรรมการบริหารสนับสนุนนโยบายของธปท.ที่ดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดแม้ว่าในสภาวการณ์ที่เงินทุนไหลเข้าในปริมาณสูง และค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาก โดยเห็นว่านโยบายดังกล่าวมีความเหมาะสมในการช่วยให้เศรษฐกิจสามารถปรับตัวจากแรงกดดันด้านดุลการชำระเงิน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมิได้มีปัญหาด้านความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากภาคส่งออกยังคงเติบโตดี
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริหารตระหนักถึงความยากในการเลือกแนวทางดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมเงินทุนนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้น ก่อนที่ทางการจะตัดสินใจใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ทั้งนี้ กรรมการบริหารจำนวนหนึ่งเห็นว่า มาตรการปกติ อาทิ การแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน การลดอัตราดอกเบี้ย และการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกไม่สามารถช่วยลดเงินทุนนำเข้าได้อย่างมีประสิทธิผล ในขณะที่กรรมการบริหารอีกจำนวนหนึ่งเห็นว่า ทางการน่าจะสามารถใช้มาตรการเหล่านี้ให้เกิดประสิทธิผลได้มากขึ้น ทั้งนี้ กรรมการบริหารหลายท่านเห็นว่า มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าอาจเป็นเครื่องมือระยะสั้นที่มีประโยชน์ในการช่วยควบคุมผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลผลกระทบด้านเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริหารเน้นถึงผลลบที่สำคัญในระยะยาวของมาตรการดังกล่าวต่อความมั่นใจของนักลงทุน และพัฒนาการของตลาดทุนในประเทศ อีกทั้งย้ำว่าทางการควรอธิบายถึงแนวนโยบายและวัตถุประสงค์ของการใช้มาตรการควบคุมดังกล่าวต่อนักลงทุนเพื่อลดผลกระทบด้านความเชื่อมั่น โดยรวมกรรมการบริหารสนับสนุนการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าว และแนวนโยบายของทางการที่จะยกเลิกมาตรการเมื่อเงินทุนไหลเข้ากลับสู่ภาวะปกติ**
คณะกรรมการบริหารชื่นชมความคืบหน้าในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคธนาคาร ซึ่งสะท้อนจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ คุณภาพสินทรัพย์ และการเพิ่มทุน ทั้งนี้ กรรมการบริหารสนับสนุนการเร่งลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) รวมทั้งดำเนินมาตรการเสริมสร้างการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เร่งพิจารณาออกกฎหมายตามแผนที่วางไว้ เพื่อสร้างความเข้มแข้งให้ธนาคารกลาง สถาบันการเงินอื่นๆ และการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก ทั้งนี้ กรรมการบริหารให้ความสนใจติดตามผลการประเมินภาคการเงินตามมาตรฐานสากล(FSAP)
คณะกรรมการบริหารรับทราบข้อชี้แจงของทางการเกี่ยวกับร่างการปรับเปลี่ยนกรอบนโยบายการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดปัญหาความคลุมเครือของกฎหมาย และมิใช่เพื่อเพิ่มข้อจำกัดสำรหับการลงทุนจากต่างประเทศ กรรมการบริหารเสนอแนะให้ทางการอธิบายแนวทางดังกล่าวอย่างชัดเจน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารสนับสนุนความพยายามในการพัฒนาตลาดทุนในประเทศ การเพิ่มความเข้มแข็งของรัฐวิสาหกิจ การเปิดเสรีทางการค้า และการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ การริเริ่มการออมแบบบังคับ (mandatory pension scheme) และการปรับสถานะของรัฐวิสาหกิจเป็นรูปบริษัท(corporatization)
|
|
|
|
|