|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปูนใหญ่กระอักพิษค่าบาทแข็ง เผยทุก 1 บาท กำไรลดลง 700-1,000 ล้านบาท เนื่องจากมียอดการส่งออกถึง 30%ของยอดขาย
ขุนคลังรับเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะถดถอยเหตุอยู่ในช่วงปฏิรูปเศรษฐกิจการเมือง ด้านผู้ว่าแบงก์ชาติยันเลิก 30% แน่แต่ขอให้มาตรการประกันความเสี่ยงได้ผลชัดเจนก่อน
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบให้กำไรของบริษัทฯ ลดลง โดยเงินบาทแข็งค่าทุก 1 บาทจะทำให้กำไรลดลง 700-1,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนไตรมาสแรกปีนี้ผลการดำเนินงานจะลดหรือไม่ ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯไม่มีนโยบายประกันความเสี่ยง แต่จะพยายามลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศช่วยลดผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งไม่มากนัก เพราะเครือซิเมนต์ไทยถือเป็นบริษัทผู้ส่งออก (Exporter) โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 30%ของรายได้รวม
โดยในปี 2549 ปูนซิเมนต์ไทย มีรายได้รวม 2.58 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้ 2.18 แสนล้านบาท และกำไรสุทธิ 2.94 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3.22 หมื่นล้านบาท
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมีภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการปิโตรเคมีในประเทศเวียดนาม เนื่องจากเห็นว่าตลาดมีอัตราการขยายตัวอยู่และสอดคล้องกับนโยบายบริษัทฯที่ต้องการลงทุนในอาเซียน ซึ่งเครือซิเมนต์ไทยเองก็ขายเม็ดพลาสติกไปเวียดนามมานานถึง 15ปีแล้ว
ปัจจุบัน มีบริษัทร่วมทุนผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีในเวียดนาม ซึ่งเป็นบริษัทย่อย คือ บมจ.ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (TPC) ดังนั้นการศึกษาการลงทุนปิโตรเคมีในเวียดนามจึงถือว่าเป็นการต่อยอดธุรกิจผลิตเม็ดพลสติกพีวีซีที่มีอยู่
“ หากบริษัทฯจะลงทุนปิโตรเคมี ไม่จำเป็นต้องรอให้โรงกลั่นน้ำมันที่เวียดนามเสร็จก่อน เพราะเห็นว่าธุรกิจโอเลฟินส์ และโรงกลั่นน้ำมันค่อนข้างแยกกัน" นายชลณัฐกล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ยอมรับว่าในช่วงนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติ ที่ควรจะขยายตัวได้ถึง 6% ต่อปี เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อาทิ ในโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่จะเน้นใช้องค์ความรู้มากขึ้นกว่าความได้เปรียบทางด้านแรงงานราคาถูก รวมถึงรัฐบาลก็อยู่ในช่วงการปฏิรูปการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนเหล่านี้คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร และคงไม่สามารถทำได้ทั้งหมดภายในช่วงรัฐบาลชุดนี้
สำหรับกรณีที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่าเศรษฐกิจไทยถือว่าขยายตัวต่ำสุดในอาเซียน และเป็นอันดับรองสุดท้าย เมื่อเทียบกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกนั้น ถือว่า เป็นการชี้ให้เห็นว่าประเทศอื่นๆ ก็มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติและน่ายินดีที่ประเทศที่เคยมีการพัฒนาต่ำ จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น
"ส่วนของเรา ตามปกติแล้วเศรษฐกิจสามารถขยายตัว 6% กว่าได้ แต่มีในช่วงก่อนเกิดวิกฤตที่อาจจะขยายตัวเร็วเกินไป มีการขยายตัวจนเกิน 10% ทำให้เกิดสภาวะฟองสบู่ แต่ก็ยอมรับว่าช่วงนี้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติ" นายฉลองภพ กล่าว
รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับประเด็นที่เอดีบีเสนอให้นำมาตรการภาษีมาใช้ป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท แทนมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น ยืนยันว่าขณะนี้มาตรการ 30% ไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติแล้ว เนื่องจาก ธปท. ได้มีทางเลือกเพิ่มให้กับผู้นำเงินเข้าประเทศแล้ว โดยระหว่างนี้ ธปท. คงต้องติดตามผลจากมาตรการทดแทนดังกล่าว เนื่องจาก ธปท. ไม่มีประสบการณ์จากเวทีสากลในการใช้มาตรการนี้ ดังนั้น จึงยังคงต้องมีมาตรการ 30% อยู่ เพราะว่า ธปท. ไม่แน่ใจว่ามาตรการใหม่ที่ออกมาจะดูแลได้แค่ไหน
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า ยืนยันว่า ธปท. พร้อมจะพิจารณายกเลิกมาตรการสำรอง 30% เมื่อมีจังหวะที่ดี นั่นคือ การใช้มาตรการป้องกันความเสี่ยง (Fully Hedge) แบบเต็มที่ได้ผล โดยจะต้องไม่พบการรั่วไหลเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ซึ่งในขณะนี้ยังคงใช้ทั้งมาตรการ 30% แต่ก็มีทางเลือกให้ทำ Fully Hedge ทั้งนี้ ผู้นำเงินเข้าประเทศสามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
"ตอนนี้ก็มี Fully Hedge รวมถึงมาตรการ 30% ก็ยังอยู่ แต่จริงๆ แล้วจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยมาตรการ 30% นั้น หากจังหวะดี ก็จะเลิก คือ ต้องดูว่ามาตรการป้องกันความเสี่ยงได้ผล และไม่เกิดการรั่วไหล" นางธาริษา กล่าว
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวด้วยว่า ในกรณีที่มีข่าวว่า กระทรวงการคลังกังวลว่า การขอเพิ่มวงเงินการออกพันธบัตรของ ธปท. อาจจะก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะนั้น ยืนยันว่า การออกพันธบัตรของ ธปท. ถือเป็นเรื่องจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงิน ส่วนการจะออกเป็นวงเงินมากหรือน้อยเพียงใด ก็จะต้องปรึกษากับกระทรวงการคลังอยู่แล้ว
มีรายงานข่าวว่า ธปท. เตรียมขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาวงเงินออกพันธบัตรล็อตใหญ่ เพื่อดูซับสภาพคล่องในระบบ เพื่อดึงเงินบาทคืนมา หลังจากแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์เก็บไว้จำนวนมาก
นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพเปิดเผยว่า เงินบาทวานนี้ (28 มี.ค.) ปิดตลาดที่ 34.99/35.01 บาทต่อดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิด 34.95/35.02 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 34.89 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนสุดที่ 35
" ในระหว่างวันเงินบาทค่อนข้างแกว่งตัวตามค่าเงินเยน ขณะที่เงินยูโรเองอ่อนค่าลงเล็กน้อย"
ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 34.90-35.10 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ตลาดรอประกาศตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ก.พ.ของสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา รวมทั้งการแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ว่า เศรษฐกิจในปีนี้ต้องยอมรับว่าจะต้องอยู่ในภาวะที่การเติบโตชะลอตัวลง ภาคการบริโกคของประชาชนลดลงค่อนข้างชัดเจน การเบิกจ่ายของงบประมาณรัฐเพื่อเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ แต่สิ่งที่จะเข้ามากระตุ้นให้เศรษฐกิจกับมาฟื้นได้อีกครั้ง คือความมั่นใจของนักลงทุนทั้งประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากหลายเดือนที่ผ่านมาความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการสนับสนุนทางภาคการลงทุนของรัฐยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมากจึงส่งผลทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงพื้นฐานของประเทศ ยังเชื่อว่านักลงทุนจำนวนมากยังให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากเชื่อว่าการเติบโตของเศรษฐกิจหากไม่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบยังน่าจะมีอย่างต่อเนื่อง เพราะหากพิจารณาถึงภาคอุตสาหกรรมกำลังการผลิตในหลายๆอุตสาหกรรมใกล้เต็มกำลังการผลิตซึ่งในทางปฎิบัติควรจะต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับ การแข็งค่าของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจากปัจจัยทางต่างประเทศโดยเฉพาะการขาดดุลอย่างต่อเนื่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ในเรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศไทยซึ่งมีระดับที่สูงกว่าในสหรัฐทำให้มีเงินที่ไหลเข้ามาเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งหากไทยมีการปรับลดลอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าสหรัฐก็จะทำให้เงินไหลออกไปได้
|
|
|
|
|