ปิ่นเป็นคนมีความสามารถในการหากำไรก้อนโตจากเงินสดในมือ "เขาสามารถเอาเงินของพวกเศรษฐี ที่เชื่อใจเขาเต็มร้อยมาใช้ได้สบาย"
กอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศบอก
แต่ช่วงต้นปี 1997 ฟินวันก็วิ่งเร็วเสียจนหยุดไม่ได้ และต้องล้มคว่ำไป
แม้ว่ากองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินจะผันเงินภาษีประชาชนกว่า 1,500 ล้าน
บาท เข้าพยุงกิจการไว้ก็ตาม
ปิ่นบินหายจากกรุงเทพฯ ไปเมื่อเดือนกันยายน 1997 ตั้งต้นชีวิตใหม่ ไปๆ มาๆ
ระหว่างนิวยอร์ก และลอนดอน อีกหนึ่งปีให้หลัง เขาก็ถูกตั้งข้อหาในคดีอาญาว่า
ร่วมกับผู้บริหารอีกสองคนยักยอกเงิน 80 ล้านดอลลาร์ แต่ปิ่นปฏิเสธข้อกล่าวหานี้
วันที่ 11 ธันวาคม ปีที่แล้ว ปิ่นถูกจับในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในลอนดอน
"นี่เป็นการพิสูจน์ให้สาธารณชนเห็นว่ายังมีความยุติธรรมอยู่ในประเทศ
ไทย" สุชาติ ไตรประสิทธิ์ อธิบดีกรมอัยการกล่าว แต่ต่อมาทางการก็ไม่สามารถทำอะไรปิ่นได้
เมื่อเขาได้ขอประกันตัวไปด้วยหลักทรัพย์ 3 ล้านดอลลาร์ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนทุกวัน
ในท้ายที่สุดแล้ว กรณีของปิ่นจะเป็นกรณี ที่ประเทศไทยจะต้องหาคำตอบว่า ใครหรืออะไรกันแน่ ที่เป็นต้นตอของวิกฤติการณ์ทางการเงิน ที่ลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วเอเชียเมื่อปี
1997 ในสายตาของอัยการแล้ว ปิ่นคือ ตัวการสำคัญรายหนึ่ง และเป็นที่รู้กันดีว่าเขาเป็นหนึ่งในนักธุรกิจ ที่กรูกันแสวงหาโชคก้อนโตจากกองทุนต่างชาติ ที่แห่เข้ามาในตลาดเอเชียช่วงทศวรรษ
1980
ปิ่นเป็นลูกโทนของข้าราชการพลเรือน เขาเกิด และเติบโตในสหรัฐฯ เมื่อจบการศึกษาจากวาร์ตัน
บิสซิเนสสกูลก็เข้าทำงานกับธนาคารเชส แมนฮัตตัน ในตำแหน่ง assistant manager
ประจำฮ่องกง และ vice president ประจำประเทศไทย ก่อน ที่จะซื้อบริษัทไฟแนนซ์แห่งหนึ่งเมื่อปี
1980 และเปลี่ยนชื่อเป็น "ไฟแนนซ์ วัน" เขาได้ริเริ่มอาณาจักรธุรกิจโดยรุกเข้าสู่ตลาดธุรกิจ ที่ทำกำไรสูง และตลาดอสังหาริมทรัพย์
กิจการหลักทรัพย์ของกลุ่มไฟแนนซ์ วันมีสัดส่วนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ถึงกว่า
20% ของปริมาณการซื้อขายรวม ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์พุ่งแรงนั้น กลุ่มบริษัท
มูลค่าธุรกิจของกลุ่มจึงสูงนับพันล้าน จนถึงกับมีผู้กล่าวว่า "ไม่ว่าปิ่นจะจับอะไรก็กลายเป็นเงินเป็นทองไปหมด"
ฟินวันเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยกลยุทธ์การซื้อกิจการ และเทกโอเวอร์ วิธีง่ายที่สุดก็คือ
ปิ่นจะขอกู้เงินซื้อกิจการบริษัทต่างๆ แล้วนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอกู้เงินก้อนโตกว่าเดิมแล้วนำไปซื้อกิจการอื่นต่อ
และนี่เป็นที่มาของความเสี่ยง ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ "ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจกระดาษ"
เกรแฮม แคตเตอร์เวล (Graham Catterwell) อดีตกรรมการผู้จัดการของ ดอยช์ มอร์แกน
เกลนเฟล ประจำประเทศไทยกล่าว
นี่จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ฟินวันจะล้มพับลงเมื่อเศรษฐกิจทรุดตัว และตลาดหลักทรัพย์อ่อนตัว
และเมื่อฟินวันพยายามประคองธุรกิจให้กลับขึ้นมาอีกครั้ง ก็จำเป็นต้องให้เงินอัดฉีดจำนวน
69 ล้านดอลลาร์แก่บริษัทลูกสองแห่ง ที่กำลังง่อนแง่นในช่วงปลายปี 1996 และต้นปี
1997 จุดนี้เอง ที่ทำให้บริษัท ถูกหาว่ามีการยักยอกเงิน ซึ่งปิ่นก็ได้แถลงตอบโต้ในเอกสาร ที่ทนายความของเขาเป็นผู้เผยแพร่ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าว
"เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎระเบียบจริง แต่ไม่มีมูลใด ๆ เกี่ยวกับการประกอบอาชญากรรม
เนื่องจากไม่มี การโอนเงินหรือนำเงินแม้แต่บาทเดียวไปใช้ เพื่อจุดมุ่งหมายส่วนตัว
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้บอก และกดดันให้เราหาทางพยุงกิจการบริษัททั้งสองไม่ให้ล้ม
ทั้ง ที่รู้อยู่ว่ากิจการไม่มีสภาพคล่อง" ทั้งนี้ทางการไทยบอกว่าปิ่นนำเงินหลบหนีออกนอกประเทศ
(อีกทั้งยืนยันด้วยว่าปิ่นเตรียมการหลบหนีมาเป็นเวลาเกือบปีแล้ว แต่ปิ่นปฏิเสธ
โดยชี้ว่าเขามีรายชื่ออยู่ในสมุดโทรศัพท ์ของลอนดอน และเดินทางออกนอกประเทศโดยใช้ชื่อจริง)
ปิ่นโต้ด้วยว่า เขา และนักการเงินอีกหลายคนเป็นเพียงแพะรับบาป "ของนโยบาย ที่ล้มเหลว และการดำเนินงานผิดพลาด ที่เป็นต้นตอของวิกฤติการเงิน
ทั้งในไทย และเอเชีย" ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังนิ่งเฉยในเรื่องการกระ
ทำผิดกฎระเบียบ ก่อน ที่วิกฤติจะลุกลาม อีกทั้งยังไม่มีการตั้งข้อหากับอีกสิบกรณี ที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าปิ่นจะมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ในกรณีนี้ถือเป็นเรื่องของศาล ที่ต้องตัดสินประเด็น ที่ชัดเจนก็คือ ว่าประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นจัดการในเรื่อง
เกี่ยวกับวิกฤติการณ์ทางการเงิน ทั้งๆ ที่จะเริ่มมีวี่แววว่าเศรษฐกิจกำลังพลิกฟื้นแล้วก็ตาม
"เราจะต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้คนเห็นว่าผู้ที่ทำผิดในอดีต
ต้องถูกลงโทษ เราถึงจะสรุปบทเรียนนี้แล้วก้าวเดินต่อไปได้" กอบศักดิ์ให้
ความเห็น กรณีของปิ่นคงอาจช่วยทำให้เห็นชัดเจนว่าเกิดความผิดพลาดอะไร และไทยจะหลีกเลี่ยงปัญหาแบบเดิมอย่างไร
(TIME, December 27,1999-January 3, 2000)