|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซีพีเอฟ โหมสร้างแบรนด์ซีพี ดันเข้าตลาดอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทาน จับทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตอกย้ำโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก เผยเป็นกลยุทธ์ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ เหตุปัญหาไข้หวัดนกที่ทำให้ไทยถูกระงับการส่งอาหารสดแช่แข็ง ตั้งเป้า 5 ปี สัดส่วนรายได้จากอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทาน เพิ่มเป็น กว่า 50% จากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 30% ด้านเซเว่นฯเตรียมเปิด 2 ธุรกิจใหม่กลางปีนี้
นายสุพัฒน์ ศรีธนาธร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยแผนธุรกิจว่า ในปีนี้บริษัทฯจะบุกตลาดอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทานมากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ภายใต้แบรนด์ CP โดยตั้งงบประชาสัมพันธ์และการตลาดไว้ที่ 100 ล้านบาท แยกเป็นการจัดอีเว้นต์ การโฆษณา การวิจัยตลาด และ การสร้างแบรนด์ ตั้งเป้าเติบโตปีละ 10-15%
โดยตลาดในประเทศ ปีนี้ จะเพิ่มเมนูอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทานอีกกว่า 30 เมนู เน้น เมนูประเภทกุ้ง ,หมูแปรรูป และ ติ่มซำ เป็นต้น ตั้งเป้าในอีก 5 ปี สัดส่วนอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทาน จะสร้างรายได้เป็นสัดส่วน50-60% ของยอดขายอาหารแช่แข็งทั้งหมดของแบรนด์ซีพี จากปัจจุบันในกลุ่มอาหารแช่แข็งของซีพี จะแบ่งสัดส่วน 65-70% เป็นอาหารสดแช่แข็ง และ อีก 30-35% เป็นอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทาน ซึ่งกลุ่มนี้มีการเติบโตสูงจากในอดีต 2-3 ปีก่อนจะมีสัดส่วนเพียง 20% ของกลุ่มอาหารแช่แข็งทั้งหมด
ในส่วนของตลาดต่างประเทศ ซึ่งซีพี ส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ฮ่องกง ไต้หวัน และ เตรียมจะไปบุกตลาดเพิ่มที่เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งเมนูอาหารหลักๆของซีพี จะเป็น ไก่และกุ้งเป็นหลัก ส่วนเรื่องหนังโฆษณา ก็จะใช้ร่วมกัน ซึ่งเท่าที่ได้ลองส่งเมนูเกี๊ยวกุ้ง ลงตลาดไปแล้ว พบว่าผลตอบรับดีมาก โดยผลสำรวจตลาดที่ฮ่องกง พบว่า 90% ชื่นชอบในรสชาติและความสดของอาหาร และไม่คิดว่าเป็นสินค้าจากประเทศไทย ส่วนราคา เทียบกับคู่แข่งในตลาดได้
นอกจากนั้นซีพียังมีอีกหลายตลาดที่ส่งออก เช่น ที่อเมริกา ปัจจุบัน ใช้แบรนด์ “ไทย ไทย” ในการทำตลาดอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทาน แต่ จากนี้ไปจะส่งแบรนด์ ซีพี เข้าไปทำตลาดด้วย ส่วนตลาดยุโรปและสแกนดิเนเวีย ใช้แบรนด์ คิทเช่น เอนจอย ซึ่งจากนี้ไป บริษัทฯจะทำตลาดในแบรนด์ ซีพีเพิ่มขึ้นด้วย
การที่บริษัทฯใช้แบรนด์ซีพีในการทำตลาดในต่างประเทศ เพื่อเป็นการตอกย้ำเรื่องของ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ดังนั้นซีพีต้องการสร้างการรับรู้ในตลาดต่างประเทศถึงความเป็นมืออาชีพด้านการปรุงอาหาร ทั้งรสชาติ ราคา และความสดใหม่ นอกจากนั้นยังถือเป็นการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพราะ ปัจจุบัน จากสถานการณ์ไข้หวัดนก ที่เกิดขึ้นมากมายในประเทศแถบเอเชีย และประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กลุ่มยุโรปและอเมริกา ห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็ง และ หาหารสดประเภทอื่นๆ ดังนั้นเราจึงปรับกลยุทธ์รุกตลาดอาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทาน ซึ่งก็สามารถเติบโตได้ดีเช่นกัน โดยสัดส่วนอาหารแช่แข็ง ซีพีส่งออก 40% และขายในประเทศ 60% เพราะ สามารถขายในส่วนของอาหารสดแช่แข็งได้ด้วย
นายสุพัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับตลาดในประเทศ บริษัทฯจะขยายธุรกิจโดยมีช่องทางจำหน่ายผ่านร้าน ซีพี เฟรช มาร์ท ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 300 แห่ง ทั่วประเทศ แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 40 แห่ง และสิ้นปีจะขยายเพิ่มเป็น 100 แห่ง ซึ่งการรุกตลาดมากขึ้น คาดว่าปีนี้บริษัทฯจะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจอาหารแช่แข็งเป็น 20% จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งที่ 14% เป็นอันดับสอง รองจาก พรานทะเล ซึ่งมีส่วนแบ่งที่ 19% และ อันดับสามคือ สุรพล ฟู้ดส์ ส่วนแบ่ง 12% จากมูลค่าตลาดรวม อาหารแปรรูปแช่แข็งพร้อมทานที่ 1,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 30% ทุกปี อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดการทำงานของซีพี บริษัทฯจะประเมินที่ ส่วนแบ่งทางการตลาด การรับรู้แบรนด์ ในกลุ่มผู้บริโภค รวมถึงความมั่นใจด้านความปลอดภัยที่ผู้บริโภคมีให้
เซเว่นฯผุด2ธุรกิจกลางปี
ดร.สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงกลางปีนี้ บริษัทฯเตรียมที่จะเปิดตัวธุรกิจใหม่อีก 2 รูปแบบซึ่งจะเป็นธุรกิจบริการ ของเซเว่นฯ ที่จะมาสร้างเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจมากขึ้น โดย หนึ่งในนั้นคือ การร่วมมือกับทางบัตรสมาร์ทเพิร์สของบริษัท ไทยสมาร์ทการ์ด จำกัด ในเครือซีพีเช่นกัน ส่วนอีกธุรกิจนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งบริษัทฯจะต้องทำการประชุมผู้ถือหุ้นในรายละเอียดดังกล่าวอีกครั้งเร็วๆนี้
ส่วนแผนการขยายสาขาของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนั้น มีต่อเนื่องตามแผนงานเดิม โดยขณะนี้มีสาขาเปิดบริการแล้วมากกว่า 3,800 สาขา แบ่งสัดส่วนเป็นร้านของบริษัทฯ 60% และแฟรนไชส์ 40% ซึ่งปีนี้จะปรับสัดส่วนให้เป็น 50% เท่ากัน ทำเลที่จะขยายร้านเซเว่นฯนั้นจะบุกหนักตามย่านอาคารที่พักอาศัยเช่น คอนโดมิเนียม หอพัก และตามชุมชนทั่วไป
ดร.สุวิทย์ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกด้วยว่า ต้องการให้ภาครัฐบาลออกพ.ร.บ.ค้าปลีกให้ชัดเจนโดยเฉพาะเขียนลงไปเลยว่าจะสนับสนุนช่วยเหลือโชยห่วยอย่างไร อีกทั้งเกรงว่าจะไปซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมาก และควรจะมีการทำประชาพิจารณ์ปรึกษาทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ทำแค่บางกลุ่มเท่านั้น
|
|
|
|
|