Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มีนาคม 2550
เศรษฐกิจครึ่งปีหลังไร้แววกระเตื้อง แบงก์เล็งปรับลดประมาณอีกระลอก             
 


   
search resources

Economics




นักวิชาการประสานเสียงเศรษฐกิจไทยปี 50 ถึงจุดทรุด ส่งออก-บริโภคชะลอต่อเนื่อง แนะทางการเร่งลดอัตราดอกเบี้ยฟื้นเศรษฐกิจคาดทั้งปีดอกเบี้ยปรับลดลงอีก 2% เร่งจัดสรรทรัพยากรฟื้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ

นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา “แนวโน้มเศรษฐกิจของไทย ปี2550-2551” ซึ่งจัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในมุมมองของหน่วยงานต่างๆ และนัยยะต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2550 ยังมีทิศทางชะลอตัวลง เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอทำให้ยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่ดัชนีทางเศรษฐกิจยังได้ชี้ถึงการทรุดตัวของอุปสงค์ โดยที่เห็นได้ชัดคือการขยายตัวของสินเชื่อที่มีแนวโน้มหดตัว ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังของปีภาคเอกชนยังคงไม่สามารถสวมบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ต่อไป ขณะที่เศรษฐกิจคู่ค้าก็มีแนวโน้มชะลอตัวหรือทรงๆอยู่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากต่างประเทศและทิศทางดอกเบี้ยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออกในครึ่งหลังของปี 2550

“การส่งออกของไทยเปลี่ยนไปตามเศรษฐกิจ ประเทศกลุ่ม G3 มากกว่า โดยจีนและอินเดียจะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปี 2550 ขณะที่เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ทิศทางชะลอตัว โดยในครึ่งหลังของปีมองว่าการส่งออก การบริโภค และการใช้จ่ายภาคเอกชนก็จะชะลอตัวลง ขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน” นายบันลือศักดิ์ กล่าว

สำหรับในส่วนของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงทั้งภาค อสังหาริมทรัพย์ การส่งออกสินค้าคงทน โดยที่ผ่านมาภาคบริการเป็นตัวช่วยพยุงเศรษฐกิจของสหรัฐฯไว้ อย่างไรก็ตามจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ชะลอส่งผลให้แนวโน้มในครึ่งหลังของปีธนาคารกลางสหรัฐฯจะดำเนินนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในไตรมาส 3หรือ4

ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะมาจากการเมืองในประเทศที่มีความร้อนแรงขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี ทั้งเรื่องของการยุบพรรคการเมือง รวมไปถึงความไม่สงบชายแดนใต้ ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจหลายประการทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่นปัญหาในประเทศอิหร่าน

นายบันลือศักดิ์ กล่าวต่อถึงค่างเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในปัจจุบันเป็นผลจากการที่ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก เพราะการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ โดยหากพิจารณาแล้วมองว่าค่าเงินบาทไม่น่าจะแข็งค่าเกินไปที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยทั้งปีมองว่าน่าจะปรับลดลงมาร้อยละ 2%จากช่วงต้นปีอยู่ที่ร้อยละ 5 ขยับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3-3.5 และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นัดถัดไปในวันที่ 11 เมษายน น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50

"การประชุมของ กนง.ครั้งนี้น่าจะมีนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยลงแรงๆ ซึ่งที่ผ่านมาเรามองว่าในการประชุมนัดแรกของปีเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาน่าจะปรับลดลงไปที่ 0.5%เพื่อช่วยให้ต้นทุนที่สงขึ้นลดลงแล้วยังช่วยแก้ไขให้ดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย”นายบันลือศักดิ์กล่าว

อย่างไรก็ตามในกลางปีนี้ธนาคารจะมีการทบทวนการเติบโตของเศรษฐกิจอีกครั้งจากเดิมที่ประมาณการอัตราการเติบโตที่ 4-5%ก็จะมีการปรับลดลงอย่างแน่นอน

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการกลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในการสัมมนาหัวข้อเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในมุมมองของหน่วยงานต่างๆ และนัยยะต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ว่าในมุมมองของกระทรวงการคลังนั้นมองว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้การจะพิจารณาการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะต้องพิจารณาจากประเทศคู่ค้าเป็นหลัก ซึ่งหากเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นตามไปด้วย

สำหรับปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้เชื่อว่าจะมีการปรับลดลงอย่างแน่นอน จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จะขยับลงมาที่ร้อยละ 3.75-4.25 ในสิ้นปีนี้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน นั้นขณะนี้แน่นอนว่าค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ พบว่าค่าบาทมีการปรับตัวที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่ที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในปีนี้มองว่าคาเงินบาทน่าจะปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 35.5-36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในปีนี้ภาคนโยบายการเงินการคลังต้องช่วยเหลือกัน โดยปัญหาที่สำคัญขณะนี้อยู่ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากร และการกระจายรายได้ ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลน่าจะพยายามทำสิ่งดังกล่าวอยู่แล้ว เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

ขณะที่นายราเชนทร์ ชินทยารังสรรค์ คณะบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวในการสัมมนาหัวข้อเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในมุมมองของหน่วยงานต่างๆ และนัยยะต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ว่าในมุมมองสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มองว่าเศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่ชะลอลง โดยในปีนี้ได้ประมาณการว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวที่ร้อย 4.57 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.7 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.2 การนำเข้าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนภาคเอกชนขยาตัวร้อยละ 3.1 การใช้จ่ายภาครัฐลาบขยายตัวร้อยละ 4.4 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.2 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 1.9 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 36.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ร้อยละ 7.5

พร้อมกันนี้ได้เสนอแนะการทำงานของธปท.ว่าควรจะมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างมีอิสระเต็มที่ เนื่องจากที่ผ่านมายังมีอุปสรรคทางการเมือง การเรียกร้องจากประชาชนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับกฎหมายไทยยังไม่เปิดทางให้ ธปท.ดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระได้เต็มที่ ดังนั้นธปท.ควรจะต้องมีการดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระเพื่อช่วยวิพากษ์วิจารณ์ความถูกต้องและช่วยเหลือหน่วยงานที่สำคัญต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us