Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มีนาคม 2550
ชง "ฉลองภพ" ชี้ขาดบอนด์ธปท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
พรรณี สถาวโรดม
Economics




สศค.เตรียมเสนอ "ฉลองภพ" ชี้ขาดกรณีแบงก์ชาติขอวงเงินออกบอนด์อุ้มค่าเงิน 4 แสนล้านบาท "พรรณี" เสนอให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 3.75-4.25% ช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้าแทนการขอออกบอนด์ล๊อตใหญ่ เผยภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.ยังน่าห่วง การบริโภค-ลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงต่อเนื่อง นักค้าเงินเผยค่าเงินบาทวานนี้ทรงตัวหลังแบงก์ชาติซื้อดอลลาร์ ส่วนตลาดหุ้นซึมเหตุกังวล พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการขอเพิ่มวงเงินออกพันธบัตร โดยยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะต้องอนุมัติให้ในวงเงินตามที่ ธปท. ร้องขอมาได้ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งหากประเมินว่า ในกรณีที่มีการลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก จะมีเงินทุนไหลเข้ามากน้อยเพียงใด หากเงินทุนไหลเข้าน้อย ความจำเป็นที่ต้องใช้วงเงินสูงก็จะลดลง ทั้งนี้ ยืนยันว่า การขอเพิ่มวงเงินออกพันธบัตรเป็นการขอตามปกติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

"ในทางปฏิบัติ เขามีเหตุผลที่จะขอ โดยทุกครั้งกระทรวงการคลังก็ให้ ซึ่งการขอเยอะๆ ก็เคยมี ถือเป็นเรื่องปกติ แต่กระทรวงการคลังก็คงมีข้อเสนอแนะแนบไปด้วย ทั้งนี้ แบงก์ชาติแจ้งมาว่า สิ่งที่มีอยู่ในมือตอนนี้ ใช้ได้แค่ถึงสิ้นไตรมาสนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าที่ขอใหม่จะใช้ได้ถึงเมื่อใด ซึ่งเป็นการขอวงเงินเป็นเพดานเอาไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เต็มวงเงินก็ได้ โดย ธปท. มีหน้าที่ต้องดูแลว่า จะทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำ ตรงนั้นขึ้นอยู่กับเขา" นางพรรณี กล่าวและว่า สศค.จะเสนอให้นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง พิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ มีข่าวออกมาว่า ธปท.ได้ขอให้กระทรวงการคลังอนุมัติวงเงินการออกพันธบัตรครั้งนี้สูงถึง 4 แสนล้านบาท

นางพรรณีกล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยให้การลงทุน และการบริโภคขยายตัวได้ดีขึ้น โดยประเมินว่าหากอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับ 3.75-4.25% จะช่วยจูงใจให้เกิดการลงทุนได้มาก เนื่องจากขณะนี้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัว อันเนื่องมาจากความไม่มั่นใจในหลายๆ ด้าน

"ระดับอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจจะอยู่ในช่วง 3.75-4.25% ส่วนมาตรการอื่นที่จะเข้ามาช่วยในระยะสั้น-กลางตอนนี้คงไม่มี คงมีแค่เรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีของบริษัทจดทะเบียนเท่านั้น เพราะปีนี้ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นเรื่องการเบิกจ่ายภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ" นางพรรณีกล่าว

อย่างไรก็ตาม สศค.คาดว่าการบริโภคและการลงทุนจะชะลอต่ำสุดในไตรมาสนี้ เพราะล่าสุดในเดือน ก.พ.การลงทุนและการบริโภคชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความไม่แน่นอนจากมาตรการของทางการ และทิศทางอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะปัจจัยอัตราดอกเบี้ย แม้ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลดดอกเบี้ยลงไปแล้ว 0.25% ก็ตาม แต่ตลาดคาดไว้ว่าจะลด 0.5% ดังนั้นการลดดอกเบี้ยลงแค่ 0.25% จึงยังไม่จูงใจให้ลงทุน

สศค.เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยควรจะลดมากกว่าที่ทำไปในปัจจุบัน เพราะขณะนี้ตัวชี้เรื่องเงินเฟ้อก็ลดลงอย่างชัดเจน ดอกเบี้ยจึงควรลดลงถึงระดับที่จูงใจให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุน สศค.คาดว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ทำงานได้

"การลงทุนช่วงนี้จึงเป็นการลงทุนเพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น หากเป็นเช่นนี้จีดีพีอาจไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ 4-4.5% ตอนนี้ต้องพยายามมองหามาตรการช่วยเหลือ แต่สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ การเร่งรัดการเบิกจ่าย" นางพรรณีกล่าวและว่าทั้งนี้ สิ้นปี 49 เงินเฟ้ออยู่ที่ 4.7% และ ณ เดือน ก.พ. อยู่ที่ 2.3% แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง

นางพรรณีกล่าวว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัว 4.6% ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 6.9% ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ขณะที่เครื่องชี้ด้านการลงทุนเอกชนยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเห็นได้จากภาษีที่จัดเก็บจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องที่ -0.6% ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตามมูลค่าการออกสิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุนสะสมผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ปรับตัวดีขึ้นที่ 8.7% ต่อปี ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบวกต่อการลงทุนในอนาคต

ด้านค่าเงินบาทวานนี้ นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบๆ โดยปิดตลาดภาคบ่ายอยู่ที่ 34.97/35.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเช้าเคลื่อนไหวอยู่ที่ 34.98/35.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธปท.ยังเข้าซื้อดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง ส่วนขณะที่ค่าเงินบาทในตลาด offshore อยู่ที่ 32.10/30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเช้าเคลื่อนไหวที่ 32.40/50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ตลาดหุ้นซึมหวั่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (29 มี.ค.) ปรับตัวลดลงในช่วงเช้า แต่มีแรงซื้อของนักลงทุนเข้ามาเก็บหุ้นหลังจากปรับตัวลดลง ดันดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.58จุด หรือเพิ่มขึ้น 0.39% ระหว่างวันดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 671.62จุด และต่ำสุดที่ระดับ 666.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5,583.52 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 331.52 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 211.09 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 542.61 ล้านบาท

นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน)หรือ ASL เปิดเผยว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยวานนี้แกว่างตัวในกรอบแคบๆ ซึ่งนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อหุ้นในช่วงก่อนปิดตลาดหลังจากที่ดัชนีได้มีการปรับตัวลดลง จึงทำให้ดัชนีตลาดหุ้นวันนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบาง เนื่องจาก นักลงทุนมีการชะลอการลงทุน มีความกังวลในเรื่องทางการเมืองที่ รัฐบาลอาจจะมีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯในวันนี้

นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (30 มี.ค.) คาดว่าดัชนีฯ ยังทรงตัวและวอลุ่มการซื้อขายก็คงจะยังไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวันที่ปิดงวดบัญชีไตรมาส 1 ประกอบกับนักลงทุนรอดูความชัดเจนในเรื่องของสถานการณ์การเมืองในประเทศที่จะมีการนัดชุมนุม. และในเรื่องของการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินว่าจะทางรัฐบาลจะมีการออกมาตรการดังกล่าวหรือไม่โดยมองแนวรับอยู่ที่ 660 จุด แนวต้านอยู่ที่ 675 จุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us