|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
มอสเบอร์เกอร์จากแดนซามูไร บุกตลาดเบอร์เกอร์ในไทย ตั้งบริษัทลูกลุย วางเป้าหมาย 3 ปีแรก ทุ่มงบ 90 ล้านบาท เปิด 12 สาขา ชูอาหารสุขภาพ ปีแรกขอประเดิมยอดขาย 20 ล้านบาท รุก 4 ทำเลหลัก มั่นใจตลาดตอบรับ
นายยาซึมาสะ อาซาอิ ประธานกรรมการ บริษัท มอส ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจเข้ามาทำธุรกิจอาหารด้วยการเปิดร้านมอสเบอร์เกอร์ในประเทศไทย ด้วยการก่อตั้งบริษัทฯดังกล่าวขึ้นมา เพื่อเป็นผู้บริหาร จัดการ ลงทุนเปิดร้านมอสเบอร์เกอร์ ด้วยทุนจดทะเบียน 55 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย 1.บริษัท มอส ฟู๊ดส์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่จากญี่ปุ่นถือหุ้น 49.9%
ส่วนฝ่ายไทยประกอบด้วย 2.บริษัท เอเชียน ฟู๊ด เน็ทเวิร์ค แอนด์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 39% ตั้งเมื่อปีที่แล้วเพื่อร่วมลงทุนในบริษัทใหม่นี้เป็นหลัก 3.บริษัท แบงคอก อินเตอร์ ฟู๊ด จำกัด ถือหุ้น 10% ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับแป้งข้าว การแปรรูปแป้ง และ 4.บริษัท บีทีเอ็มยู โฮลดิ้ง ประเทศไทย จำกัด ถือหุ้น 1.1% ซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยของมิตซูบิชิโตเกียว ยูเอฟจี แบงก์ กรุ๊ป
ทั้งนี้กลยุทธ์การรุกตลาดในประเทศไทยนั้น จะเป็นวิธีการที่แตกต่างจากการเข้าลงทุนในประเทศอื่น กล่าวคือ ในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีร้านมอสเบอร์เกอร์รวมทั้งสิ้นกว่า 1,500 สาขา ซึ่งแบ่งเป็นร้านของบริษัทประมาณ 10% เป็นร้านของแฟรนไชส์ 90% ส่วนในประเทศไต้หวันมี 121 สาขา ที่สิงคโปร์มี 21 สาขา และฮ่องกง มี 2 สาขา ซึ่งทั้งสามประเทศนี้ร้านมอสเบอร์เกอร์เป็นของบริษัท 100%
แผนการลงทุนในประเทศไทยในช่วง 3 ปีแรกจากนี้ วางแผนเปิดร้านมอสเบอร์เกอร์ไว้ในปีแรก 2 สาขา ปี 2551 เปิดอีก 4 สาขา และปี 2552 เปิดอีก 6 สาขา โดยใช้งบลงทุนเปิดสาขาละ 9 ล้านบาทโดยเฉลี่ย รวมเป็นงบลงทุนประมาณ 90-100 ล้านบาท และใช้งบประมาณด้านการตลาดในปีแรก 10% จากยอดขาย ส่วนปีต่อไปจะใช้ประมาณ 1-2% จากยอดขายรวม ซึ่งแม้ว่าเปอร์เซนต์น้อยลงแต่ฐานรายได้ที่มากขึ้นจากสาขาที่มากขึ้น
ส่วนทำเลในการเปิดร้านมอสเบอร์เกอร์นั้น บริษัทฯกำหนดไว้ 4 แนวทางคือ 1.เปิดในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมือง 2.ในศูนย์การค้าชานเมือง 3.ออฟฟิศบิวดิ้ง และ 4.ในย่านชุมชนต่างๆแบบสแตนด์อโลน ซึ่งบริษัทฯจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ไม่มีการขายแฟรนไชส์
โดยสาขาแรกเปิดให้บริการแล้วที่ชั้น 3 เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ซึ่งสาเหตุที่เปิดที่นี่แห่งแรกเพราะเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีศักยภาพโดดเด่น ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่คนเอเชียด้วยกัน และมีร้านค้าต่างๆมากกว่า 500 ร้านค้า ตั้งเป้ารายได้ปีแรกไว้ที่ 20 ล้านบาท
การเข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้น เนื่องจากในปัจจุบัน การพัฒนาทางเศรษฐกิจพร้อมกับการขยายตัวของชนชั้นกลางในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้มีร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจนเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเหตุใดอาหารญี่ปุ่นจะกลายมาเป็นอาหารที่เป็นที่นิยมอย่างสูงในเวลานี้ ซึ่งบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นพิจารณาแล้วเห็นว่าไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพจึงตัดสินใจลงทุน
ในปีแรกคงจะไม่เน้นสื่อทีวีมากเพราะว่าเรายังมีสาขาน้อยเพียงแค่แห่งเดียว คงจะเน้นการทำโปรโมชั่นและโฆษณาพวกใบปลิวมากกว่า
นายยาซึมาสะกล่าวต่อว่า บริษัทฯมั่นใจว่า มอสเบอร์เกอร์จะสามารถเติบโตได้ในตลาดเบอร์เกอร์ในไทย ด้วยจุดแข็งของเมนูอาหารที่เน้นสุขภาพเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามกระแสของคนรักสุขภาพในเวลานี้ที่มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบริษัทฯมีเมนูหลายอย่างให้เลือก ซึ่งเป็นทั้งเมนูดั้งเดิมจากญี่ปุ่นและเมนูที่พัฒนาขึ้นมาในประเทศไทย โดยใช้วัตถุดิบในไทยมากกว่า 97% โดยราคาของบริษัทฯอาจจะมีราคาสูงกว่าคู่แข่ง เพราะจับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงบน ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ
ทั้งนี้ในประเทศญี่ปุ่น มอสเบอร์เกอร์มีสาขามากกว่า 1,500 แห่ง เป็นอันดับที่สองรองลงมาจาก แมคโดนัลด์ที่มีมากกว่า 3,000 สาขา ส่วนจำนวนสาขาอันดับสามคือ เบอร์เกอร์คิง
|
|
|
|
|