|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2550
|
 |

ลองหลับตานึกภาพตั้งแต่ย่างเท้าออกจากบ้าน จนกระทั่งกลับเข้ามาอีกทีในตอนเย็นได้โดยไม่ต้องควักเงินสักแดงแต่สามารถจับจ่ายซื้อของและโดยสารรถบัส-รถไฟ-รถไฟใต้ดินผ่านบัตรเพียงใบเดียว จินตภาพที่ว่ากำลังเติมสีสันใหม่ให้กับชีวิตประจำวันของผู้คนในมหานครโตเกียวและปริมณฑล พร้อมกันนั้นก็กำลังถูกจับตามองความเคลื่อนไหวครั้งนี้ในฐานะตัวอย่างโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่ล้ำเส้นกระเถิบตัวเข้าใกล้ยุค e-money อย่างแท้จริง
ที่มาที่ไปของแนวคิดดังกล่าวเริ่มขึ้นราว 20 ปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นเวลาที่เครือข่ายรถไฟญี่ปุ่นสร้างบทพิสูจน์ต่อสายตานานาชาติว่าด้วยประสิทธิผลของระบบขนส่งมวลชนขนาดยักษ์บนพื้นฐานเทคโนโลยีชั้นสูงทั้งรถไฟความเร็วสูงระบบรถไฟทั่วภูมิภาคและการจัดการตั๋วรถไฟที่แม่นยำรวมถึงเครื่องตรวจตั๋วที่ฉลาดที่สุดในโลก
ในขณะนั้นเฉพาะโตเกียวเมืองเดียวมีตั๋วรถไฟกว่า 15 ล้านใบต่อวัน ที่ถูกสอดผ่านเครื่องตรวจตั๋วซึ่งไม่ว่าจะสอดกลับหัวกลับหางในทิศทางใดก็ตามเครื่องก็สามารถอ่านข้อมูลบนตั๋วได้ทั้งวันเวลาสถานีที่เข้าออกพร้อมทั้งคำนวณค่าโดยสารเสร็จสรรพภายใน 0.7 วินาที โดยอาศัย electromagnetic technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันที่นำมาใช้กับบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม
"กระนั้นก็ดีใช่ว่าความสมบูรณ์แบบของระบบตั๋วที่พัฒนาขึ้นมารองรับโครงสร้างการรถไฟญี่ปุ่นจะจีรังในทางกลับกันจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตตั๋วเพิ่มเป็นเงาตามตัว ถึงแม้จะสามารถนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้บางส่วนก็ตาม นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
จากมุมมองของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (หรือที่เรียกกันติดปากเป็นอักษรย่อ JR) ย่อมตระหนักดีถึงภาวะดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่ JR จำต้องเผชิญไม่ช้าก็เร็ว
ในขณะเดียวกันที่ Railway Technical Research Institute ของ JR นำทีมโดย Shigeo Miki ได้ซุ่มวิจัยสำหรับเตรียมแผนรับมือกับปัญหาในระยะยาวโดยเลือก Integrated Circuit (IC) card ซึ่งเป็นวิทยาการใหม่ที่มีแนวโน้มใช้ทดแทนตั๋วแถบแม่เหล็กได้ด้วยศักยภาพในการบรรจุข้อมูลมากกว่าเดิม 100 เท่า อีกทั้งสามารถส่งผ่านข้อมูลด้วยความไวเพียง 0.02 วินาที
แม้ว่าแนวคิดของโครงการ IC card จะได้รับการยอมรับแต่ผลการวิจัยในช่วงแรกยังห่างไกลเกินกว่านำมาใช้ได้จริงจนเกือบต้องล้มเลิกโครงการไปกลางคัน จนกระทั่ง Shigeo Miki ย้ายมาทำวิจัยต่อที่บริษัท JR East ที่ซึ่งได้พบกับ Akio Shiibashi (อดีตหัวหน้าแผนก Passenger Equipment Section ที่ย้ายเข้าร่วมทีม) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้ IC card กลายเป็นจริงในเวลาต่อมา
จากผลการทดสอบในภาคสนามทั้ง 3 ครั้ง ได้ข้อสรุปถึงรูปแบบ IC card ที่ทำงานโดยสัมผัสกับเครื่องอ่านตั๋วโดยตรงแล้วส่งและรับสัญญาณครึ่งทรงกลมรัศมี 10 เซนติเมตร ในลักษณะ "Touch and Go" ซึ่งภายในเศษเสี้ยววินาทีของการสัมผัสนั้น ข้อมูลจะถูกส่งผ่านระหว่าง IC card กับเครื่องด้วยความแม่นยำสูงมาก เพื่อคิดค่าโดยสารและเขียนข้อมูลใหม่ทับลงไปแทนที่เรียกว่า non-contact read/write process
กลไกของ IC card นั้นแตกต่างจากตั๋วแถบแม่เหล็กซึ่งทำงานแบบ read only โดยข้อมูลบนตั๋วจะถูกส่งไปที่คอมพิวเตอร์กลางเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนประมวลผลกลับมาที่ในลักษณะเดียวกับการซื้อของด้วยบัตรเครดิตโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน มิใช่ว่าการผ่านเข้าออกสถานีจะรวดเร็วขึ้นเพียงอย่างเดียวที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหยิบตั๋วออกจากกระเป๋าซึ่งโอกาสที่จะทำตั๋วหายนั้นแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ นอกจากจะปรับปรุงคุณภาพการบริการดีขึ้นแล้วยังสามารถลดต้นทุนการผลิตตั๋วจำนวนมหาศาลในแต่ละวันลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
วิสัยทัศน์อีกประการหนึ่งอยู่ที่การออกแบบเครื่องอ่านสัญญาณให้เข้ากับเครื่องตรวจตั๋วแบบเก่าที่มีอยู่แล้วเพียงติดตั้งอุปกรณ์เสริมเข้าไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ทั้งหมด แถมเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องตรวจตั๋วที่ชาญฉลาดอยู่แล้วให้รับตั๋วได้ทั้งสองแบบ
เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่ทีมวิจัยของ JR East ได้ทุ่มเทพัฒนานวัตกรรม IC card จนเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้ชื่อ Super Urban Intelligent Card ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า "Suica" เปิดให้บริการครั้งแรก 424 สถานีในเขตคันโต (โตเกียวและปริมณฑล) ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2001 เป็นต้นมา หลังจากนั้นบัตรในลักษณะเดียวกันได้ทยอยให้บริการในเขตอื่นๆ ของญี่ปุ่น เช่น "ICOCA" ในเขตคันไซ (โอซากาและจังหวัดโดยรอบ) ซึ่งดำเนินธุรกิจโดย JR West Suica ได้ขยายขอบข่ายการใช้งานให้กว้างออกไปอีกด้วยบทบาทของ e-money เต็มตัวเมื่อเข้าร่วมกับ Felica Technology ที่พัฒนาขึ้นมาโดย Sony สามารถใช้บัตร Suica ซื้อของได้ตามร้านค้าทั่วไป ร้านสะดวกซื้อ หรือแม้แต่ vending machine ได้ โดยเติมเงินผ่านเครื่องขายตั๋วของ JR
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อต้นปี 2006 ที่ผ่านมาบริการ "Mobile Suica" พลิกโฉมใหม่ด้วยการนำ Felica IC chip มาฝังไว้บนโทรศัพท์มือถือซึ่งใช้ควบคู่ไปกับ Suica ชำระสินค้าและบริการได้เช่นกัน ในอีกด้านหนึ่งบริการของรถไฟใต้ดินและรถไฟเอกชนในญี่ปุ่นยังคงใช้ตั๋วแถบแม่เหล็กหากมีจุดแข็งที่การใช้ตั๋วร่วมกันเรียกว่า "Passnet" ซึ่งเป็นบัตรเติมเงินที่สามารถใช้กับรถไฟชนิดอื่นได้ทั้งหมดยกเว้นรถไฟของ JR
ความชำนาญการจัดการระบบตั๋วร่วมของ Passnet จุดประกายมิติใหม่ของการให้บริการ e-money เมื่อการเจรจาร่วมมือทางธุรกิจกับ JR บรรลุข้อตกลงขอบเขตการใช้ IC card ด้วย Felica Technology ได้ขยายตัวครอบคลุมเครือข่ายรถไฟทั้งหมดรวมถึงรถบัสทุกสายในเขตคันโตเลยไปถึงจังหวัด Shizuoka และ Yamanashi ภายใต้ชื่อใหม่ "PASMO" ซึ่งมาจาก Passnet + More หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า "mo" ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "ด้วย" ซึ่งสอดคล้องไปกับโลโกสีชมพูสดใสบนบัตร Train MO, Bus MO, PASMO
เนื่องด้วยทั้งสองบัตรนั้นใช้เทคโนโลยีเดียวกัน ดังนั้นผู้โดยสารจะต้องเลือกถือบัตรเพียงใบเดียวเท่านั้น ในกรณีที่ทำบัตรหายสามารถแจ้งที่สถานีรถไฟทุกแห่งเพื่ออายัดและออกบัตรใหม่ได้ทันที (ยกเว้นบัตรประเภทที่ไม่ได้ลงทะเบียนชื่อผู้ใช้เอาไว้)
ด้วยเหตุนี้ทั้ง PASMO และ Suica จึงกลายเป็นพันธมิตรและคู่แข่งทางธุรกิจในเวลาเดียวกันซึ่งนับจากนี้ไปการช่วงชิงลูกค้าโดยการออกบัตรรวมกับบัตรเครดิตและบัตรอื่นๆ เพิ่มความสะดวกในลักษณะ all-in-one card ที่เร้าใจด้วยสะสมคะแนนหรือสะสมไมล์จะกลายเป็นองค์ประกอบที่นำไปสู่การหมดยุคกระเป๋าสตางค์หนาเตอะ
PASMO-Suica ได้เริ่มขับเคลื่อน electroeconomy และเปลี่ยน lifestyle ของคนเมืองหลวงและรอบๆ กว่า 30 ล้านคน ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2007 เป็นแนวโน้มใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นกับภูมิภาคอื่นของญี่ปุ่นตามเจตนารมณ์ของประเทศ IT ในศตวรรษที่ 21
|
|
 |
|
|