|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2550
|
 |

บ้านคอนกรีตรูปลูกบาศก์ยาว 35 เมตรหลังนี้ เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมสไตล์ modernist ที่รูปทรงเหลี่ยมๆ ของตัวบ้านภายนอกแลดูเหมือนแข็งๆ ทื่อๆ นั้น กลับตรงกันข้ามกับภายในบ้านโดยสิ้นเชิง เพราะด้านในมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและยืดหยุ่นสำหรับทุกคนในครอบครัว สาเหตุหลักมาจากความต้องการของคู่สามีภรรยาผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งมีลูกด้วยกัน 3 คน พวกเขาอยากได้บ้านที่ภายนอกมีรูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วออกแบบตกแต่งให้มีความโดดเด่นเฉพาะตัวตามสไตล์ของตัวเอง
สถาปนิก Filipe Assadi จึงรับหน้าที่ออกแบบบ้านโดยร่วมมือกับลูกค้า ซึ่งเป็นช่างก่อสร้างด้วยอย่างใกล้ชิด ทำให้บ้านชานกรุง Santiago ในประเทศชิลีหลังนี้มีพื้นที่กลางแจ้งขนาดมหึมาสามารถรับแสงสว่างได้เต็มที่ และแสดงถึงการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่ใช้ในการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิผล
คอนกรีตล้วนๆ
บ้านหลังนี้ใช้แผ่นคอนกรีตบุผนัง เพดาน และด้านหน้าของตัวบ้าน จึงมีรูปลักษณ์หนักไปทางสไตล์ industrial อยู่ไม่น้อย เป็นความงามที่เจ้าของบ้านจำนวนมากอาจจะรู้สึกว่าออกจะชืดชาแข็งกระด้างอยู่สักหน่อย แต่เจ้าของบ้านหลังนี้กลับมีทางแก้ พวกเขาปล่อยให้ผนังและเพดานคอนกรีตมีสภาพตามธรรมชาติของมันเองแล้วเลือกปูพื้นลอยด้วยไม้ซึ่งทาสีขาวทำให้แลดูนุ่มลง หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ปล่อยให้พื้นคอนกรีตเป็นไปตามธรรมชาติแล้วเคลือบด้วยสารโพลียูรีเทนก็ให้ความรู้สึกอุ่นได้อย่างน่าประหลาดเช่นกัน ผลที่ได้จะเป็นพื้นโทนสีคาราเมลให้ความรู้สึกนุ่ม อ่อนโยน
Open-plan
สำหรับคนที่รักและโปรดปรานการจัดบ้านแบบ open-plan และต้องการให้มีส่วนที่เป็นฝาผนังน้อยลงโดยให้พื้นที่ส่วนหนึ่งของห้องนั่งเล่นกลืนเข้าไปในพื้นที่ใช้สอยส่วนอื่นๆ นั้น มักพบปัญหาคือ จะทำอย่างไรดีเมื่อคุณยังต้องการความเป็นส่วนตัวและความรู้สึกเป็นสัดส่วนโดยไม่ต้องคำนึงถึงปัญหาเรื่องพื้นที่ว่าง?
สถาปนิกของบ้านหลังนี้ใช้วิธีติดตั้งผนังคอนกรีตแผ่นบางๆ ระหว่างทางเดินและห้องนั่งเล่น (โปรดดูภาพประกอบ)
เฉลียงยาว
ชั้นบนของตัวบ้านออกแบบเป็นเฉลียงยาวที่เชื่อมห้องนอนทั้งสี่ทำให้เดินถึงกันได้อย่างสะดวก เฉลียงนี้ล้อมรอบด้วยหน้าต่างกระจก ซึ่งมีส่วนทึบแสงสูงถึงระดับเอวเพื่อความเป็นส่วนตัว
เน้นสีขาว
เจ้าของบ้านเลือกสีขาวที่ให้ความรู้สึกอุ่นมาคานกับสีเป็นกลางของวัตถุดิบได้อย่างสมบูรณ์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสีขาวทั้งหมดจะให้ผลออกมาเท่ากัน เพราะถ้าต้องการคานกับความเย็นชืดชาของโลหะและคอนกรีต ขณะเดียวกันก็สามารถเน้นความมันของเนื้อไม้ได้ สีที่เหมาะที่สุดคือขาวแกมเหลือง เช่น Dulux Antique WhiteUSA, Berkshire White หรือ Napkin White
วิวัฒนาการของสไตล์ industrial
นอกเหนือจากคอนกรีตแล้ว ความงามสไตล์ industrial ยังสะท้อนออกมาจากการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟยักษ์และราวบันได โดยชุดลูกกรงเหล็กตรงชุดของบันได (staircase) และบริเวณเฉลียงชั้นบนช่วยสร้างความโดดเด่นเชิงประติมากรรมได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้านที่อาจเกิดจากความซุกซนของเด็กๆ ได้ด้วย
ตัวบันไดไม้ลายทางตามแนวนอนก็ช่วยคานความแข็งทื่อของโลหะได้เป็นอย่างดี
ส่วนราวลูกกรงชั้นบนที่ออกแบบให้ตัดขวางกันไปมาคล้ายกับตาข่ายบางๆ เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ แล้ว ยังช่วยเสริมเอกลักษณ์ของงานออกแบบสไตล์ industrial ได้อีกทางหนึ่งด้วย
สีลูกกวาด
ความงามสไตล์ industrial ที่เน้นวัสดุประเภทโลหะ กระจก และคอนกรีตให้ความมันวาวก็จริง แต่บ่อยครั้งเหมือนกันที่ให้ความรู้สึกทึบทึมและมีสีโดดหรือสีเดียวมากเกินไป รวมทั้งขาดองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์อีกต่างหาก จึงต้องพึ่งงานตกแต่งด้วยสีสันอันหลากหลายเพื่อสร้างความสดใสและมีชีวิตชีวาให้กับตัวบ้านด้วย ตัวอย่างเช่น ในห้องนั่งเล่นประดับด้วยผลงานศิลปะหลากสีสันแบบสีลูกกวาดของศิลปินชิลี Francisca Uribe Etxeberria เพื่อให้ลายและสีสันของงานศิลปะที่ประดับฝาผนังนั้นเข้าชุดกับโต๊ะกาแฟกระจกสีที่ออกแบบเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมได้อย่างเหมาะเจาะ นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วยหมอนอิงสีสันสดใสหลากสีไม่ว่าจะเป็นแดงและส้มสด ซึ่งล้วนทำหน้าที่คานกับความเย็นชืดชาของสไตล์ industrial ได้สมบูรณ์แบบ
แปลและเรียบเรียงโดย ดรุณี แซ่ลิ่ว
จากนิตยสาร House & Garden / February 2007
|
|
 |
|
|