Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
ส่งแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ เจ้าหนี้-รัฐบาลไทยโล่งอก             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
Chemicals and Plastics




กลางเดือนมกราคม ที่ผ่านมา บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิกัลไทย (ทีพีไอ) และเจ้าหนี้ของบริษัทได้ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ และปรับโครงสร้างหนี้ ราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ต่อศาลล้มละลาย นับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ ปัญหาหนี้สิน ที่ยืดเยื้อมากว่าสองปี และยังเป็นการสะสางปัญหาเงินกู้ ที่ไม่ก่อราย ได้ครั้งใหญ่ที่สุดของไทยด้วย

การลงนามข้อตกลงระหว่างทีพีไอ และเจ้าหนี้บรรลุผล อย่างรวบรัด โดยไม่แถลงข่าวใดๆ นอกจากออกแถลงการณ์ ร่วม ที่ระบุว่าแผนการดังกล่าว "เป็นแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการที่จะฟื้นฟูกิจการทีพีไอให้ มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง" แต่กว่า ที่จะบรรลุข้อตกลงตามเส้นตายวันที่ 17 มกราคมได้ผู้เกี่ยวข้องต้องประชุมกันหลายต่อหลายรอบ รวมทั้งมีการประชุมผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ถึงวันละสามครั้ง เนื่องจากเจ้าหนี้ต่างวิตกกังวลว่าข้อตกลงจะล้มเหลวซ้ำรอยเหมือนเมื่อ 11 เดือนก่อน

แผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอไม่ได้ทำให้เจ้าหนี้โล่งอกเท่านั้น รัฐบาลไทยเองก็คลายความกังวลเช่นกัน เพราะ ที่ผ่านมารัฐบาลก็ต้องการให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดสัดส่วนของเงินกู้ ที่ไม่ก่อรายได้ลง จากเดิม ที่สูงถึง 43 % ของ ยอดเงินกู้ของสถาบันการเงิน อีกทั้งบรรดาผู้บริหารกองทุนต่างๆ ก็จับตา อย่างใกล้ชิด เพราะข้อตกลงนี้จะเป็นมาตรวัดความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินของไทยด้วย

ข้อตกลงนี้ยังเป็น "สัญญาณใน ทางที่ดี" ในสายตาของเคนเนธ อึ๊ง หัว หน้าฝ่ายวิจัยของไอเอ็นจี แบริ่ง ซีเคียวริตี้ส์ (ประเทศไทย) (ING Bearing Securities Thailand) แต่เขาก็ทิ้งท้ายว่า "เรื่องนี้มันนานมากแล้ว แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าจะลงเอยเพียงแค่นี้"

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของทีพีไอ เพราะทันที ที่บรรลุข้อตกลง ราคาหุ้นของธนาคารกรุงเทพก็ขยับขี้น 3.3% ส่วนในกระดานต่างประเทศก็ขยับขึ้น 6.8%

ทีพีไอลงนามในข้อตกลงร่วมกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ 12 รายที่เป็นเจ้าหนี้รวม 68% ของมูลหนี้ทั้งหมด ที่สูงถึง 3.478 พันล้านดอลลาร์ (ราว 3.2 พันล้านดอลลาร์เป็นส่วนของเงินต้น และราว 300 ล้านดอลลาร์เป็น ดอกเบี้ย ที่พอกพูนขึ้นมา) ยอดหนี้ทั้งหมดของทีพีไอ คิดเป็น 5% ของยอด เงินกู้ ที่ไม่ก่อรายได้ ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจไทย

เจ้าหนี้ของทีพีไอนอกจากจะมีธนาคารกรุงเทพแล้ว ยังมีบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ-ไอเอฟซี (International Finance Corp.) ธนาคารส่งออก และนำเข้าสหรัฐอเมริกา (U.S. Export-Import Bank) ธนาคารแห่งอเมริกา (Bank America Corp.) และซิตี้แบงก์ (Citibank)

ทั้งนี้ ศาลล้มละลายอนุญาตให้คัดค้านแผนฟื้นฟูดังกล่าวภายในระยะ เวลา 30 วัน หลังจากนั้น จะนำแผนการดังกล่าวออกปฏิบัติได้ในเดือนมิถุนายนปีนี้

ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีระยะเวลาห้าปี จะมีการปรับลดหนี้ลงด้วยการ แปลงส่วนของการชำระดอกเบี้ยจำนวนหนึ่งเป็นทุน โดยให้เจ้าหนี้เข้าถือหุ้น ของบริษัทเป็นสัดส่วน 30% นอกจากนั้น ทีพีไอยังต้องชำระเงินต้นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปีนี้ และชำระเงินต้นอีก 500 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2002

นอกจากนั้น ผู้บริหารจำนวนหนึ่งของทีพีไอจะเป็นผู้ดูแลการดำเนินงานตามแผน ส่วนประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือ ทีพีไอ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการ จะเป็นผู้บริหารกิจการประจำวันเท่านั้น

นักวิเคราะห์ชี้ว่า แม้สาระส่วนใหญ่ของแผนการฟื้นฟูกิจการจะไม่แตก ต่างจากแผนการฟื้นฟู ที่เคยมีทีท่าว่าจะบรรลุข้อตกลงได้ตั้ง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แต่ครั้งนี้ต้องนับว่า "เป็นชัยชนะของฝ่ายเจ้าหนี้มากกว่าฝ่ายลูกหนี้" เนื่องจากรายละเอียดในข้อตกลงยอมให้เจ้าหนี้เข้าควบคุมกิจการทีพีไอ ได้หากทีพีไอบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟื้นฟูกิจการ และยังเปิด โอกาสให้ฝ่ายเจ้าหนี้แก้ไขเนื้อหาข้อตกลงได้ด้วย

ส่วนสาเหตุที่ทีพีไอต้องยอมลงนามในข้อตกลงก็เพราะฝ่ายเจ้าหนี้ได้ เตือนว่าจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลล้มละลายทันที หากทีพีไอไม่ยอมลงนามตามกำหนด และก่อนหน้านี้ ในเดือนธันวาคม ทีพีไอ!ได้จัดทำแผนเพิ่ม ทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปลดหนี้ โดยติดต่อกับวาณิชธนกิจหลายแห่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวก็ ไม่เห็นด้วย เพราะแผนการออกหุ้น ใหม่นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการแก้ไขรายละเอียดในแผนฟื้นฟูกิจการใน ประเด็นการผิดสัญญา และการจัดสรรการควบคุมเงินสดหมุนเวียนของทีพีไอภาย ใต้การดูแลของเจ้าหนี้ด้วย

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กล่าวว่า บริษัทไม่ได้ตั้งใจ ที่จะชะลอการลงนามข้อตกลงดังกล่าว และว่าฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ไว้วางใจเขาก็เพราะต้องการเข้าควบคุมกิจการเสียเอง เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขาดว่าจะพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนหลังจาก ที่ทีพีไอลงนามในข้อตกลงแล้วเท่านั้น

ทั้งหมดนี้จึงยังรอให้เจ้าหนี้ และลูกหนี้เจรจาตกลงกันต่อไป การสะสางหนี้ทีพีไอจึงอาจไม่จบด้วยข้อตกลงล่าสุดนี้เท่านั้น (The Asian Wallstreet Journal 17-18 January 2000)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us