Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2550
Unseen Wealth             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
search resources

Knowledge and Theory
Leif Edvinsson




Professor Leif Edvinsson ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น "World's first professor on Intellectual Capital" คลิกไปยังภาพๆ หนึ่งบนหน้าสไลด์พรีเซนเตชั่น ที่แสดงรูปหน้าหญิงชายแก่และหนุ่มที่นำมาปะติดปะต่อกัน จนได้ภาพต้นไม้ขนาดใหญ่บนพื้นสีขาว พร้อมกับเอ่ยปากถามผู้เข้าร่วมงานสัมมนาหลายร้อยชีวิตว่า "คุณเห็นใบหน้าของคนในต้นไม้นี้กี่หน้า"

เสียงตอบรับจากคนในห้องสัมมนา "Intellectual Capital for Future Corporate Values" ดังจากมุมห้องซ้ายขวาเป็นตัวเลขที่แตกต่างออกไป จาก สี่ ห้า เพิ่ม หก เจ็ด เก้า และสิบ และหยุดอยู่ที่ตรงนั้น จนกระทั่ง Professor Leif เฉลยคำตอบว่า ใบหน้าที่ประกอบกันจนเป็นต้นไม้นั้นมากถึง 20 หน้า ผู้คนถึงกับนิ่งเงียบ เป็นนัยสำคัญที่บ่งบอกว่า ยังมีใบหน้าที่ซ่อนอยู่ในต้นไม้อีกมาก ที่เมื่อผ่านพ้นการเฉลยคำตอบจากเจ้าของคำถามไปแล้ว ก็ยังมีอีกหลายคนที่หาไม่ได้ว่า หน้าไหนเป็นหน้าที่เจ็ด แปด เรื่อยไปจนถึงหน้าที่ยี่สิบ

ความสำคัญในคำถามของ Professor Leif เน้นให้เห็นการค้นหาสิ่งที่เรียกว่า "Unseen Wealth" หรือ "คุณค่าและสินทรัพย์ ที่ซ่อนอยู่" คำแปลย่อๆ ของสิ่งที่เรียกว่า "Intellectual Capital" ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการสัมมนาตลอดทั้งวันนั้น

ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets) หรือแม้แต่ "Unseen Wealth" ที่ใครหลายคนยกให้ว่าท้ายที่สุดแล้วคือ สิ่งที่เรียกว่า "ทุนทางปัญญา" (Intellectual Capital) เป็นสิ่งที่องค์กรยอมรับว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้องค์กรนั้นอยู่ได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางสภาวะของการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ หาใช่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างเก่าก่อน

Thomas A. Stewart กล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของหนังสือ Intellectual Capital : The New Wealth of Organizations ของเขาว่า ทุนทางปัญญาเปรียบดังหอก ดาบ หรือ อาวุธสำคัญในการแข่งขันของยุคสารสนเทศ ตัวอย่างของทุนทางปัญญาที่เห็นได้ชัดก็คือ ความเฉลียวฉลาดของคนในองค์กร ความภักดี ของลูกค้า คุณค่าของเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา การสะสมความรู้ที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมไปจนถึง ระบบโครงสร้างองค์กร

แต่ท้ายที่สุดแล้วคนในองค์กรจะไม่เห็นสินทรัพย์หรือทุนนี้ระบุหรือปรากฏอยู่ในงบดุลขององค์กรเลยด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ผลที่ออกมากลับหอมหวานยิ่งกว่างบดุลที่เห็นชัดเจนเสียอีกด้วยซ้ำ

Thomas A. Stewart ก็เช่นเดียวกันกับ Professor Leif ที่กำลังพยายามจะชี้ให้เห็นว่า ยังมีใบหน้าบนต้นไม้อีกมากมายที่คุณมองไม่เห็นแต่คนอื่นมองเห็น และมีใบหน้า อีกมากที่คุณมองเห็น แต่คนอื่นกลับมองไม่เห็น เช่นเดียวกันกับความรู้ฝังในขององค์กรที่มันถึงเวลาที่คุณต้องตั้งคำถามและหาคำตอบว่าจะนำมันมาใช้อย่างไร จัดการอย่างไรให้คุณค่าในตัวคนทำงานคนหนึ่งถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มากกว่าการปล่อยทิ้งให้เขาไม่ได้แสดงศักยภาพเลย ทั้งๆ ที่เขาจะช่วยให้องค์กรทำเงินได้ หรือแม้แต่การใช้ฐานความรู้จากลูกค้าให้เป็นประโยชน์ ลูกค้าบางคนจงรักภักดีกับสินค้าและบริษัทของคุณมากกว่าที่คิดไว้ อะไรที่เราหยิบจับนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้บ้าง

เมื่อปีที่แล้ว BusinessWeek ตีพิมพ์บทความ ผลงานเขียนของ Michael Mandel, Steve Hamm และ Christopher J. Farrell โดยนำเสนอภาพชายใส่หน้ากาก หน้าตาคุ้นเคยมักพบเห็นได้เสมอบนธนบัตรต่างประเทศ บนปกหนังสือฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมกับข้อความหนาทึบ ตัวใหญ่สะดุดตา มีข้อความว่า "Unmasking The Economy" อีกบรรทัดเขียนไว้ว่า "Why it's so much stronger than you think"

ใจความสำคัญของเรื่องที่นำเสนอไม่ผิดเพี้ยนจากหัวเรื่องมากนัก ผู้เขียนบอกเล่าความเป็นไปของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มาถึงจุดที่หลายคนเคยคาดหวังว่ามันตกต่ำมากกว่านี้ แต่สุดท้ายหลายคนก็คาดผิดไปจากนั้นเล็กน้อยเมื่อรายงานตัวเลขหลายๆ อย่างนั้นแสดงให้เห็นถึงลักษณะของสภาพเศรษฐกิจที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขของเงินลงทุนที่มาก ถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการฝากเงินของคนในประเทศมากกว่าที่ประมาณการ กันไว้ การขาดดุลที่เคยคิดว่าจะมากกลับน้อย

บรรทัดต่อมาผู้เขียนกล่าวว่า "หลายคนรู้ดีว่าเป็นเพราะสหรัฐอเมริกานั้นกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของสังคมเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นหลัก หรือสังคมแห่งความรู้ ทั้งหมดถูกผลักดันด้วยเรื่องไอเดีย และนวัตกรรมเป็นหลัก"

ด้วยการเรียนรู้อดีตที่ผ่านมาทำให้หลายๆ บริษัทในสหรัฐฯ หันมาให้ความสำคัญกับเม็ดเงินที่จะลงทุนไปกับการวิจัยและพัฒนา การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การฝึกอบรมพนักงานให้เชี่ยวชาญในสาขาที่ตนต้องการ

ผู้เขียนนำตัวอย่างของบริษัทที่ติดอันดับท็อปเท็นที่เพิ่มเงินในการลงทุนวิจัยและพัฒนาสินค้าของตัวเอง เพราะเห็นผล ความคุ้มค่าที่จะตามมา หนึ่งในนั้นคือ Apple เจ้าของเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา "iPod" ที่ขายได้ทั่วโลกกว่า 40 ล้านเครื่องในปีที่ผ่านมา

เครื่องเล่น iPod เป็นคำตอบของการทำตลาดของบริษัทอย่างชัดเจน iPod เป็นเครื่องเล่นยุคใหม่ ที่มาพร้อมกับดีไซน์ที่ยอดเยี่ยม นวัตกรรมการใช้งานโดดเด่น แต่กลับมีต้นทุนทางการตลาดต่ำอย่างเห็นได้ชัดเจน เพราะแม้จะคิดค้นในสหรัฐฯ แต่ iPod กลับผลิตในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำอย่างจีน ตามข้อความที่คุณมักจะเห็นข้างกล่องบรรจุ iPod ว่า "Designed by Apple in California. Assembled in China." และทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นผลของการเรียนรู้อดีตว่า อะไรคือสิ่งที่มีค่าแต่ซุกซ่อน อยู่บ้างนั่นเอง

แรกเริ่มของการบรรยายในงานสัมมนา ที่มีมูลค่าที่นั่งถึง 18,000 บาทต่อคน Professor Leif ตั้งคำถามกับคนทั้งห้องว่า "คุณคิดว่า Intellectual Capital ของประเทศไทยคืออะไร และ Intellectual Capital ของแต่ละคนคืออะไร จะขยายผลเพื่อนำไปใช้กับส่วนอื่นได้อย่างไรบ้าง"

Professor Leif ชี้ให้เห็นว่าเป็นเพราะหลายคน หลายองค์กรไม่เคยให้ความสำคัญกับสิ่งสำคัญที่ซุกซ่อนอยู่เลย ทั้งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดประโยชน์ได้ หนำซ้ำยังติดอยู่กับระบบกรอบความคิดเดิมๆ ที่มีอยู่มานาน เช่นเดียวกันกับระบบบัญชีที่เราใช้กันอยู่ ซึ่งมีพัฒนาการมานานกว่า 500 ปี และจนถึงปัจจุบัน 500 ปีให้หลังเราก็ยังใช้ระบบบัญชีแบบเดิมแม้จะเปลี่ยนรูปลักษณะ ไปเช่นเดิม

"องค์กรต้องหันมาให้ความสำคัญสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในตัวคน ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน และในโครงสร้างต่างๆ และพึงระลึกอยู่เสมอว่า การค้นหาสิ่งนั้นได้นั้น ย่อมมาจากการจัดการความรู้ในองค์กรเสียก่อน และความรู้ไม่ได้อยู่ที่ตำราเพียงอย่างเดียว แม้แต่คาเฟ่หรือร้านกาแฟก็เป็นแหล่งสร้างความรู้ได้ เหนือสิ่งอื่นใดแล้วความรู้นั้นไม่ได้เป็นคำตอบที่จะให้การพัฒนาสินค้าและบริการดีขึ้น แต่เพื่อสิ่งที่เรียกว่า "value added" หรือ "มูลค่าเพิ่ม" ต่างหาก" Professor Leif บอก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us