|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2550
|
|
แม้ศุภชัยจะบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าเห็นแนวทางในการทำ convergence อย่างชัดเจนที่สุด ก็เมื่อตอนที่ตัดสินใจเปลี่ยนแบรนด์จาก TA มาเป็น TRUE เมื่อปี 2547 แต่ธนินท์ เจียรวนนท์ พ่อของศุภชัย ซึ่งเป็นทั้งประธานของ TRUE และประธานเครือ ซี.พี. ทั้งกลุ่ม ได้มองเห็นแนวทางนี้ล่วงหน้าก่อนศุภชัยแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
คำกล่าวของเขาที่ปรากฏอยู่ในสารจากประธานกรรมการ ในรายงานประจำปี 2544 และ 2545 เป็นเอกสารหลักฐานที่ยืนยันได้ชัด
"นับจากปี 2545 เป็นต้นไป จะเป็นก้าวย่างที่สำคัญของเทเลคอมเอเชีย สู่ทศวรรษที่ 2 ซึ่งจะเป็นทศวรรษแห่งการผสมผสานศาสตร์และศิลป์แห่งเทคโนโลยีและการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการขยายบริการเสริมต่างๆ ทั้งเสียง ภาพ ข้อมูล บนเครือข่าย 2.6 ล้านเลขหมาย สำหรับลูกค้ากลุ่มต่างๆ การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพระบบโทรศัพท์ พีซีที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทเลคอมเอเชียเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารไร้สายที่ปราศจากขอบเขตด้วย ทีเอ ออเร้นจ์ นอกจากนี้ในส่วนของการแปรสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนระหว่างเทเลคอมเอเชีย และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะเป็นสิ่งที่ท้าทายภูมิปัญญาของบริษัท ในการเจรจาต่อรองบนเส้นทางของความเป็น ธรรมให้แก่ทุกฝ่าย"
ธนินท์เขียนไว้ในย่อหน้าที่ 2 ของสารจากประธานกรรมการ ในรายงานประจำปี 2544 ของเทเลคอม เอเชีย และมาสำทับให้ชัดเจนขึ้นอีกในย่อหน้าที่ 5 และ 6 ของสารจากประธานกรรมการ ในรายงานประจำปี 2545
"ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีความเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความตระหนักร่วมกันของคนในชาติให้รู้เท่าถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ และพร้อมที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งอันประกอบด้วยองค์ความรู้ และความพร้อมที่จะพัฒนา ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพความเป็นไปของบ้านเมืองที่ถูกบังคับทางอ้อมให้จำเป็นต้องเข้าสู่การแข่งขันอย่างเสรีในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น บริษัทจึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนเทเลคอมเอเชียให้เป็นบริษัทที่มีความเป็นเลิศในการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านโทรคมนาคม ข้อมูล หรือการนำเสนอความบันเทิงในรูปแบบ ต่างๆ เราเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถนำเสนอบริการดังกล่าว ด้วยระบบโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน รวมทั้งบริการบรอดแบรนด์ และบริการแบบไร้สาย"
ดังนั้น หากจะกล่าวว่า model ธุรกิจของ TRUE ทุกวันนี้ ก็ไม่แตกต่างจาก model เดียวกันกับที่ธนินท์เคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับธุรกิจดั้งเดิม คือธุรกิจการเกษตร
เพียงแต่นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโครงสร้างของธุรกิจที่มีความซับซ้อนของเทคโนโลยี และวิถีชีวิตของผู้คนมากกว่า รวมทั้งมีพลวัต และความทันสมัยมากกว่า ก็คงไม่เกินเลยไปนัก
ธนินท์คือต้นคิด model ธุรกิจที่แท้จริงของ TRUE นั่นเอง
|
|
|
|
|