Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2550
The true story เรื่องจริงที่ลูกค้าทรูไม่เคยรู้             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

 
Charts & Figures

กลุ่มสินค้าและบริการของทรูทั้งหมด
จำนวนผู้ใช้บริการสินค้าของทรูที่น่าสนใจ

   
related stories

TRUE CP Model ในโลกดิจิตอล
True Visions คอนเทนต์ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
True Money ถ้าใช้คำว่า Bank ได้ คงใส่ไปแล้ว

   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ศุภชัย เจียรวนนท์
Commercial and business




18 ขวบปี นับจากที่เป็น "ทีเอ" จนเปลี่ยนมาเป็นแบรนด์ "ทรู" กับจุดขายใหม่ "ยิ่งรวมกันเรายิ่งอยู่ แม้แยกหมู่ ถึงอยู่ได้ เราก็ไม่เลือก" กลยุทธ์ใหม่โยกกระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา กอดคอพากันไปกำไร หรือกอดคอกันเดินไปอย่างไร้จุดหมาย?

แม้ตามโครงสร้างของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ระบุเอาไว้ในหน้ากระดาษพื้นสีขาวแดงของรายงานประจำปี 2549 จะระบุเอาไว้ว่า "เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)" เป็นบริษัทที่ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทรู คอร์ปอเรชั่น ในสัดส่วนร้อยละ 34.03 ของหุ้นทั้งหมด ตามมาด้วยสัดส่วนของการถือหุ้น จากบริษัทอื่นๆ ในบรรทัดถัดไป

แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า การเป็นลูกหม้อของ ซี.พี. มาตลอดระยะยาวนาน หาใช่ว่าจะส่งผลต่อโมเดลการทำธุรกิจให้ทั้งคู่นั้นเหมือนกัน จนแยกไม่ออกเสียเมื่อไหร่

ซี.พี.เกิดจากผู้ก่อตั้งอย่างธนินท์ เจียรวนนท์ เช่นเดียวกันกับทรู ที่ก็เกิดจากเขาผู้นี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของการทำธุรกิจที่เบนหัวออกจากผลิตผล ทางการเกษตรประเภทไก่ ไข่ กุ้งหรือเมล็ดพันธุ์ แต่เป็นความหวังใหม่ของ โลกแห่งอนาคตอย่าง "อุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม"

ขณะที่ ซี.พี.มีธนินท์เป็นหัวเรือใหญ่ในการควบคุมดูแลกิจการทรูถูกผลักออกจากอ้อมอกอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรกด้วยตัวของเขาเอง โดยมีลูกชายคนรองอย่าง "ศุภชัย เจียรวนนท์" เข้ามาดูแลกิจการแทน

ชั่วชีวิตของ ทรู คอร์ปอเรชั่น นับตั้งแต่ยังเป็น "ทีเอ" หรือ บริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปี 2533 และเติมคำว่า "มหาชน" ตามท้ายห้วงระยะเวลา 3 ปีต่อมา และเปลี่ยนชื่อเป็นทรู คอร์ปอเรชั่น เสียใหม่ในปี 2547 รวมอายุบริษัททั้งสิ้น 18 ปี เชื่อแน่ว่าแม้แต่ธนินท์ หรือศุภชัยเองก็มิอาจจะเคยได้คิดว่า วันนี้ทรูจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบ "แพ็กของขาย" มากกว่า "การวางของขาย"

แทบจะไม่มีงานแถลงข่าวหนไหนเลย ที่คำว่า "convergence" ไม่หลุดออกจากปากของศุภชัย ซีอีโอของบริษัท นั่นเป็นเพราะว่า ปรากฏการณ์ของการทำธุรกิจในแบบฉบับของทรูที่ "รวมกันเราอยู่" กลายเป็น สิ่งที่ทำให้ทรูได้เรียนรู้มาตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา ว่าท้ายสุดแล้วสิ่งนี้เองจะช่วยให้ทรูอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

ทรูเริ่มเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงการให้บริการทั้งหมดระหว่างสินค้าและผลิตภัณฑ์ในเครือเข้าด้วยกันเมื่อครั้งที่เปิดตัว แพ็กเกจ All together Bonus แคมเปญที่เปิดตัวหลังการรีแบรนด์ได้ไม่นานนัก

โดยทรูให้นิยามแคมเปญในครั้งนั้นว่า "ในโอกาสที่เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นทรู บริษัท จึงออกแคมเปญพิเศษ All together Bonus ยิ่งใช้บริการทรูเท่าไร ใช้ออเร้นจ์โทรฟรีเท่านั้น (ขณะนั้นยังใช้ชื่อแบรนด์ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือว่าออเร้นจ์ ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น ทรูมูฟ) เพื่อสร้างความเข้าใจ การจดจำสินค้าใน เครือและเพื่อตอบแทนลูกค้าที่ให้การสนับสนุน สินค้าและบริการของ "ทรู" มาโดยตลอด"

จากแคมเปญดังกล่าวลูกค้าของทรูที่เลือกใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานที่มีเลขหมายขึ้นต้น ด้วยเลข 6, 7, 8, 9 ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็ม หรือ dial up ทั้ง Click Internet และ Easy Internet รวมทั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hi-speed Internet) และพีซีที ซึ่งไม่ว่าจะใช้ 1 บริการ 2 บริการ หรือทุกบริการ ร่วมรายการได้โดยรวมยอดค่าใช้บริการทั้งหมด เพื่อขอรับ โบนัสเป็นค่าโทรศัพท์ฟรีสำหรับออเร้นจ์กินระยะเวลานาน 12 เดือนเต็ม

นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแพ็กของขายของทรู คือ ทำให้ผู้ใช้เริ่มรู้สึกถึงการซื้อของอย่างหนึ่งแล้วจะได้ของอีกอย่างหนึ่งติดมือกลับไปด้วย ไม่ใช่การลด แลก หรือแจกของฟรี แต่เป็นการแถมความพิเศษให้เฉพาะคนที่เลือกใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งของทรู ภายใต้เงื่อนไขที่แอบซ่อนเงื่อนเอาไว้ให้คนใช้ได้พิจารณากันก่อน

"convergence" เป็นศัพท์ที่ผู้บริหาร ของค่ายโทรคมนาคมหลายคน หยิบยกมาพูด ให้ได้ยินกันจนชินหู พร้อมกับจำกัดความที่คนฟังเองก็ยังจะไม่เห็นภาพ คนใช้เองก็ยังเข้าไม่ถึง จนกระทั่งวันหนึ่งสิ่งเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลกับตนจนกลายเป็นความเคยชิน

สิ่งที่เรียกว่า convergence ก็คือการที่เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นเริ่มเข้ามาผสมรวมตัวกันมากขึ้น คำคำนี้เป็นที่มาของการทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวเดียวมีความสามารถในการทำงานที่หลากหลายยิ่งกว่าเดิม เช่น คอมพิวเตอร์ตัวเดิมที่เคยแต่ทำหน้าที่พิมพ์งาน ปัจจุบันผู้ผลิตเอาเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาเพิ่ม ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นทั้งเครื่องเล่นเพลง ดูหนัง ทำงาน และสื่อสารระหว่างคนทั่วโลก เช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือที่ผูกรวมเอาไว้ด้วยความหลากหลายของเทคโน โลยี อาทิ เป็นเครื่องเล่นเพลง มีกล้องดิจิตอล ในตัว เป็นเครื่องอัดเสียง ดูหนัง พูดคุยสื่อสาร และเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

แต่สำหรับทรูแล้ว คำว่า "conver-gence" ไม่ได้เป็นเพียงการผสมรวมกันของเทคโนโลยีที่บริษัทได้รับสัมปทาน ซึ่งถือว่าสมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศ ตั้งแต่การเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์บ้าน ที่ไม่ได้จำกัดแต่การให้บริการในกรุงเทพ มหานครอย่างที่จารึกในหน้าประวัติศาสตร์การทำธุรกิจของทรูมาตลอดอีกแล้ว ในเมื่อวันนี้ทรูได้รับใบอนุญาตใหม่จากคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. สำหรับการวางโครงข่ายเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในจังหวัดที่เหลือทั้งหมดในประเทศไทยตั้งแต่ ปีที่ผ่านมา

การเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่กินรวบส่วนแบ่งทางตลาดกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรที่ใช้ชีวิตออนไลน์ในประเทศ หรือแม้แต่การเป็นโครงข่ายโทรศัพท์ไร้สายอันดับสาม ธุรกิจเคเบิลทีวีที่ไม่มีใครล้มได้แม้ตัวแปรบางอย่างจะเปลี่ยนไป มีคนให้บริการธุรกิจเคเบิล มากขึ้นก็ตามที

หากแต่คำว่า "convergence" ในความหมายของทรูกลับหมายถึงการผสมรวมเข้าด้วยกันในแง่ของ "โมเดลในการทำธุรกิจ" ของตนเองด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้

เมื่อย้อนกลับไปที่แพ็กเกจ All together Bonus เมื่อปี 2547 จุดเริ่มต้นของการนำข้อได้เปรียบที่ตัวเองมีอยู่มาขาย การขายจุดเด่นอย่างหนึ่ง และพ่วงจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของตน ได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ และกลายมาเป็นสูตรสำเร็จของทรูจนถึงทุกวันนี้

"ยิ่งรวมกัน...ชีวิตยิ่งดีขึ้น หรือ Better Together" คือคำนิยามของการกระตุ้นตลาดของ ทรูในปีนี้ทั้งหมด แคมเปญโฆษณาภายใต้ชื่อ "ปาติหาน" ถูกส่งออกสู่สายตาผู้คนทั้ง 60 ล้าน คนในทันที ภาพของโฆษณาที่กล่าวถึงเด็กชายคนหนึ่งที่ขอซื้อปาติหานด้วยเงินเก็บเพียง 80 บาท เขาส่งข้อความผ่านอีเมลไปหาผู้คนบนโลกไซเบอร์ ก่อนใครอีกหลายคนจะส่งต่อข้อความผ่านทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์มือถือ กลายเป็นกระแสสังคมที่เน้นให้เห็นว่า ผู้คน สามารถพูดคุยเรื่องเดียวกันได้ภายใต้การใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป

ขณะที่ปีที่แล้ว ทรูเปิดตัวแคมเปญสำคัญแห่งปี ที่ศุภชัยถึงกับเอ่ยปากว่าเป็นบันไดขั้นที่สองในการทำ "convergence" ของกลุ่มทรูทั้งหมด ในงานแถลงข่าวครั้งนั้นผู้บริหารในกลุ่มทรู ทั้งยูบีซี ทรูวิชั่นส์, ทรูมูฟ, ทรูไลฟ์, ทรู ออนไลน์ และทรู คอร์ปอเรชั่น ต่างก็ใส่สีเสื้อ ที่แตกต่างกัน ร่วมเปิดตัวโปรโมชั่นที่ทั้งกลุ่มทำด้วยกัน

โดยเฉพาะโปรโมชั่นที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทรูมูฟ 300 บ้าน สามารถติดตั้งจานยูบีซีฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับช่องในการดูแบบฟรีๆ ในเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ และตอบรับกระแส "convergence" อีกครั้ง เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา กลุ่มทรูเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ที่ใช้โทรศัพท์พื้นฐานของทรู และติดตั้งอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงในระดับตั้งแต่ 512 กิโลไบต์ลงมา สามารถอัพเกรดความเร็วในการเชื่อมต่อเป็นหนึ่ง 1 เมกะไบต์ในทันทีที่มีหมายเลขโทรศัพท์ ของทรูมูฟที่ใช้งานมานาน 1 ปีเป็นต้นไป หรือเปิดใช้เบอร์ทรูมูฟใหม่ก็สามารถติดตั้งอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 1 เมกะไบต์ได้ทันที

ความยากลำบากของการทำธุรกิจของบริษัทที่มีรายการสินค้ายาวเป็นหางว่าว จนแทบจะเป็นเบี้ยหัวแตกไม่ได้อยู่ที่การขายของไปถึงมือผู้ซื้อ หรือวางขายหน้าร้านแล้วรอให้คนมาหยิบกลับติดมือกลับบ้าน แต่หมาย รวมถึงการบริหารต้นทุนในการทำธุรกิจของตน ให้ส่วนต่างระหว่างต้นทุนและรายได้ กลายเป็นกำไรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับทรูแล้วการโยกกระเป๋าซ้ายไปขวา ดึงเอาสินค้าในกลุ่มเครือเดียวกันมาให้ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดซึ่งกันและกัน นับเป็นการบริหารต้นทุนที่กลายเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่น้อย แม้การดึงเอาสินค้าและบริการที่มีอยู่ทั้งหมดมาช่วยกันทำเม็ดเงิน หากเลือกสินค้าหนึ่งจะได้อีกสินค้าหนึ่งจากในเครือด้วย เป็นรูปแบบที่เห็นกันอยู่โดยทั่วไป แต่ต้องยอมรับว่าผู้มาก่อนและมีของทุกอย่าง อยู่ในมือครบถ้วนย่อมชนะคนอื่นได้อย่างไม่ยากเย็น

ผู้บริหารคนหนึ่งของทรูเคยบอกว่า ใช่ว่าจะมีแต่ทรูที่มีเทคโนโลยีและเป็นเจ้าของ เทคโนโลยีการสื่อสารเต็มรูปแบบในมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งหลายปีก่อนคู่แข่งคนสำคัญในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่น่ากลัวที่สุดก็คือ กลุ่มชินคอร์ป (ในยุคก่อนการขาย หุ้นให้เทมาเส็ก และก่อนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัทอย่างปัจจุบัน) ที่ไม่เพียงแต่เริ่มทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือก่อนจะมีสถานีโทรทัศน์เป็นของตนเอง แม้จะไม่มีโทรศัพท์พื้นฐาน หรือบริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์ บ้าน แต่ชินคอร์ปกลับมีดาวเทียมไทยคมเป็น อาวุธสำคัญในการเปิดโลกการสื่อสารที่เร็วยิ่งกว่า หรือแม้แต่ธุรกิจในเครืออื่นๆ อาทิ อสังหา ริมทรัพย์ ไปจนถึงบัตรเครดิต เป็นต้น

แต่ในเมื่อทรูก้าวขาก่อน ลองผิด เลยรู้ก่อน ดังนั้นทิศทางในการดำเนินธุรกิจแบบมีโครงสร้างผูกรวมเอาทุกสินค้าจากในกลุ่มมาทำประโยชน์ด้วยการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน จึงเป็นสิ่งที่ชินคอร์ปเองก็มิสามารถจะทำได้อย่างที่ทรูกำลังทำ และกำลังเป็นอยู่ในทุกวันนี้ แม้จะเป็นการออกเดินมากว่าครึ่งทาง และดูเหมือนว่ายังไม่ถึงจุดหมาย และยังไม่รู้ผลว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคตก็ตามที แต่ระยะสั้นก็ดูเหมือนทรูจะมั่นใจว่า สิ่งที่ตัวเองกำลังทำ จะช่วยให้ บริษัทเติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งกลุ่มธุรกิจนั่นเอง

"ทรูเองเริ่มจะมั่นใจและเห็นแนวทางในการทำ convergence อย่างชัดเจนที่สุด ก็เมื่อตอนที่ตัดสินใจจะเปลี่ยนแบรนด์ เมื่อเริ่มภาพว่าเรากำลังจะเป็นใคร มีความเชื่อในเรื่องแบรนด์อย่างไร ก็ทำให้เรามองเห็นว่า convergence คือสิ่งที่เรากำลังจะก้าวเข้าไปทำ" ศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวไว้ในตอนหนึ่งหลังจากที่ "ผู้จัดการ" เอ่ยปากถามเขาว่าตั้งแต่มีทีเอจนถึงทรูเขาคิดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ว่าวันนี้ทรูจะกลายเป็นผู้เล่นในมุม convergence ที่โดดเด่นที่สุด

ดูเหมือนศุภชัยจะไม่ได้เห็นช่องทางหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจับคู่คนใช้งานรายบุคคลกับสินค้าที่ระบุว่าผู้ใช้บริการเป็นครัวเรือนแม้แต่น้อย การทำสำรวจตลาดแยกเป็นกลุ่มๆ สินค้า ทำให้เขาเชื่อว่าเป็นคำตอบที่ช่วยให้ทรูแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ขณะที่ทิศทางของการทำ convergence ก็ดูเหมือนจะเริ่มชัดเจนขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเปิดตัวโปรโมชั่นหรือบริการใดจากทรู น้อยครั้งนักที่จะมีสินค้าเพียงหนึ่งอย่างออกสู่สายตาผู้ใช้ เพราะทรูก็ยังใช้วิธีแพ็กของขายอย่างต่อเนื่อง

มิอาจจะวัดผลได้ว่า ผู้บริโภคกำลังสับสนเพียงใดกับเงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ แพ็กของขายของทรู แต่ทรูก็เชื่อมั่นว่าการทยอยเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือให้มีคำนำหน้าด้วย "ทรู" ทั้งหมด (อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมใน "และแล้วก็มี "true" นำหน้า" นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550) จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คนจดจำสินค้าของทรูได้ในท้ายที่สุด

"คนเรามักจะเลือกสินค้าจากชื่อ 3 ชื่อที่จำได้ชัดเจนมากที่สุด แม้ความสามาถของคน บางคน โดยเฉพาะกับคนที่ให้ความสนใจกับสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งมากๆ อาจจะจำชื่อ แบรนด์ได้มากถึง 6 ชื่อก็ตามที แต่โดยมาก ก็มักจะเลือกสินค้าจากแบรนด์ที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ดังนั้นหากถามลูกค้าว่านึกถึงอินเทอร์ เน็ตบรอดแบนด์ของใครบ้าง โทรศัพท์บ้านของ ใคร โทรศัพท์มือถือของใคร และตอบชื่อทรูได้ในสามอันดับแรก หรืออันดับแรกก็เป็นสิ่งที่ทรูประสบความสำเร็จแล้วในทางหนึ่ง เพราะโอกาสที่เขาจะเลือกเราย่อมมากกว่า" นพปฎล เดชอุดม ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต บริษัทที่ดูแลธุรกิจออนไลน์ของทรู บอกกับ "ผู้จัดการ"

แต่ภาพของการโหมกระหน่ำเปิดตัวบริการแบบแพ็กเกจรวมเอาบริการทั้งหมดของตัวเองมาให้ผู้ใช้งานก็คงจะมาพร้อมๆ กับความเคยชินของคนใช้งาน ที่ยินยอมพร้อมอ้าแขนรับกระแส convergence จากทรูทั้งๆ ที่หลีกเลี่ยงได้

เพราะไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ทรูก็เป็น เพียงผู้มองการณ์ไกลเอาไว้ว่าทุกอย่างล้วนเข้ามาใกล้และรวมกันในที่สุด แต่ผู้ใช้ต่างหาก ที่กำลังเป็นผู้ที่เผชิญหน้าและลงมือใช้บริการ ทั้งหมดที่มีอยู่

"ยิ่งรวมกัน ชีวิตยิ่งดีขึ้น" คนที่จะสามารถตอบคำถามนี้ได้ ในห้วงวินาทีนี้ก็เห็นจะมีเพียงแต่ทรู เพราะเข้าข่ายว่าชีวิตจะดีขึ้นจากการให้บริการแบบกินรวบ และใครคนหนึ่งที่กำลังใช้บริการของทรูพร้อมๆ กันอยู่ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นคนคนเดียวกันกับที่ทรู เองก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใครเช่นกัน...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us