แบงก์นครหลวงไทย ตั้งเป้ารายได้รายย่อยปีนี้ 1,250 ล้าน ระบุผลกระทบปรับดอกเบี้ยขั้นต่ำเป็น 10%กระทบคนมากกว่าขึ้นดอกเบี้ยเป็น 20% แบงก์เริ่มเห็นลูกค้าขอปรับโครงสร้าง แต่ยังไม่มีสัณญาณแปลก
นายประวิทย์ องควัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ปีนี้เป็นปีที่มีความน่าเป็นห่วง ส่งผลให้ความมั่นใจของผู้บริโภคลดลง จะกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อที่ปรับลดลงด้วยในทุกกลุ่มธุรกิจเช่นกัน สำหรับธุรกิจรายย่อยของธนาคารในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้นอีก 25% หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 1,250 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ยจำนวน 1,000 ล้านบาท และรายได้จากค่าธรรมเนียม 250 ล้านบาท
สำหรับในธุรกิจบัตรเครดิตนั้นมองว่าปีนี้ตลาดรวมจะไม่มีการขยายตัวมากนัก ประกอบการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทำให้ผู้แข่งขันในธุรกิจจะหันมารุกตลาดสินเชื่อบุคคลมากขึ้น เพราะสินเชื่อบุคคลเมื่อมีการอนุมัติจะคิดอัตราดอกเบี้ยได้ทันที ขณะที่บัตรเครดิตจะต้องรอให้มีการเบิกจ่าย ทำให้ปีนี้ตั้งเป้าเติบโตรายได้มาจากสินเชื่อบุคคลเป็นสัดส่วน 80% ส่วนบัตรเครดิตเพียง 20%
ดังนั้นเมื่อธนาคารหันมารุกสินเชื่อบุคคลทำให้กลางปีที่ผ่านได้เปิดตัว SCIB T-LOAN ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และเป็นการช่วยลุกค้าเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 16 -28% สามารถใช้เพื่อการรีไฟแนนซ์ได้ โดยที่ผ่านมามียอดอนุมัติเฉลี่ย 30 -40 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อ SCIB T-LOAN เดือนมีนาอยู่ที่ 200 -300 ล้าบาท
สำหรับการปรับอัตราการผ่อนชำระสินเชื่อบัตรเครดิตขั้นต่ำเป็น 10%จากเดิม 5%ของวงเงินนั้นมองว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีหนี้มากกว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18%เป็น 20% เนื่องจากการผ่อนชำระของลูกค้าจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเดิม อย่างไรก็ทางธนาคารได้มีการให้คำปรึกษาแก่ลุกค้าที่มีปํยหาการผ่อนชำระ โดยสามารถยืนระยะเวลาการชำระออกไปได้
"การปรับอัตราการผ่อนชำระเป็น 10%นี้มันมีผลกระทบต่อเยอะ เมื่อสองอาทิตย์ที่ผ่านมา มีลูกค้าเงินเดือน 150,000 บาทของให้ช่วยปรับโครงสร้างนี้ คิดว่าเค้าคงมีหนี้หลายที่ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่แปลก เพราะเราคาดว่ากลุ่มที่จะกระทบน่าจะเป็นกลุ่มเงินเดือน 30,000 - 50,000 บาทความจริงแล้วคนกลุ่มนี้ควรจะเตรียมตัวล่วงหน้า 8เดือนหากรู้ว่าจะต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว คำแนะนำในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้คนควรจะหันมามองกระแสเงินสดของตัวเองมากกว่าดอกเบี้ย ปรับตัวแก้ปัญหา "นายประวิทย์กล่าว
โดยธนาคารเตรียมที่จะพิจารณาการปรับอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20% แต่จะต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพราะหากอยู่ในระดับสูงกว่าที่กำหนดอาจจะกดดันให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต โดยปัจจุปันNPLs บัตรเครดิตอยู่ที่ 21.% ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายที่จะไม่ให้เกิน 4% ส่วนปัจจัยบวกคือแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง และต้นทุนการดำเนินที่
|