|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กองทุนฟื้นฟูฯ กดดันบสก.เร่งหารายได้เพิ่มขึ้น ล่าสุดได้ข้อสรุปตัวเลขเป้าหมายการขายและประนอมหนี้ใหม่ที่ระดับ 1.2 หมื่นล้านบาท จากเดิมกองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งเป้าให้ได้ 1.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่บสก.เสนอไป กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท เหตุหวั่นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเป้าหมายรายได้น้อยลง ขณะเดียวกันคาดเม.ย.นี้คืนเงินกองทุนฟื้นฟูฯในรูปเงินปันผลเกือบ 700 ล้านบาท
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) หรือ BAM เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกันระหว่างบสก.และคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในการปรับเป้าหมายการขายและประนอมหนี้ใหม่จากเดิมที่บสก.เสนอตัวเลขไปที่ 11,260 ล้านบาท ขณะที่กองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งเป้าให้ได้ 14,000 ล้านบาทสำหรับปีนี้ว่า บสก.ได้ชี้แจงว่าเป้าหมายที่กองทุนฟื้นฟูฯต้องการเป็นไปได้ยากในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีมติปรับเป้าหมายการขายและการประนอมหนี้เหลือ 12,000 ล้านบาท ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนอกจากจะได้วัดจากยอดจำหน่ายทรัพย์แล้วยังนำผลกำไรมารวมด้วย
“จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปีนี้ทั้งปีคงหวังอะไรได้ยาก ซึ่งหากทางกองทุนฟื้นฟูฯ ยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมที่ตัวเลข 1.4 หมื่นล้านบาท ก็อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายและทิศทางการประนอมหนี้ของบริษัทได้ รวมทั้งการดำเนินงานในช่วง 5 ปีข้างหน้าด้วย จึงจำเป็นต้องเข้ามาชี้แจงให้กองทุนฟื้นฟูฯ พิจารณาตัวเลขใหม่ ซึ่งในที่ประชุมก็เข้าใจดี และปรับให้เหลือ 12,000 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นการคิดกำไรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของบสก. ซึ่งที่ผ่านมาบสก.ก็มีกำไรตลอด จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา”กรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าว
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บสก. กล่าวว่า แม้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึง ณ วันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา บสก.จะมีทรัพย์ใหม่ๆ เข้ามามากเมื่อเทียบกับปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นการรับโอนเอ็นพีเอจากสมาคมธนาคารไทยที่มีธนาคารพาณิชย์จำนวน 10 แห่งเกือบ 1 หมื่นล้านบาท และได้รับโอนเอ็นพีแอลจากบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย(บตท.) จำนวน 2.5 พันล้านบาท แต่ทรัพย์เหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการปรับสภาพทรัพย์ก่อนออกจำหน่าย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทก็ได้เน้นปรับปรุงสภาพทรัพย์ก่อนออกจำหน่าย เพราะจะช่วยให้สามารถขายทรัพย์ได้เร็วขึ้น และราคาค่อนข้างดี
ทั้งนี้ บสก.คาดว่าสิ้นเดือนมี.ค.นี้บริษัทจะมีรายได้จากการขายเอ็นพีเอและเจรจาประนอมเอ็นพีแอลจากลูกหนี้ได้ประมาณ 700 ล้านบาท ถือว่าเฉลี่ยกับรายได้ที่ได้รับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยเดือนม.ค.ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้กว่า 800 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.กลับลดลงเหลือ 500-600 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้รายได้ลดลง โดยเฉพาะทรัพย์ประเภทการลงทุนที่มีขนาดใหญ่ก็ขายได้ยากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ หลังจากที่บสก.มีการชำระคืนหนี้และทุนให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ งวดสุดท้าย 4.1 หมื่นล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนส.ค.49 ที่ผ่านมา และในเดือนเม.ย.ปีนี้ บสก.จะคืนเงินในรูปจ่ายปันผลจำนวน 700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5%ของทุนจดทะเบียน ซึ่งปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทของทุนจดทะเบียน
|
|
|
|
|