|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เตือนภัยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ส่อโคม่า ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี หลังเจอวิกฤตความเชื่อมั่นทรุด ทั้งการบริโภค การลงทุน ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทั้งปีต่ำกว่า 4% จี้รัฐเร่งเบิกจ่ายงบ-ลดดอกเบี้ย-ทำบาทให้มีเสถียรภาพเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นด่วน ด้าน “สศค." ห่วงเอกชนลงทุนช้าฉุดเป้าจีดีพีวูบ เร่งภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายตามเป้าดันจีดีพี "พรรณี" พบข้อมูลเป็นสัญญาณอันตราย ภาคการผลิตไม่ผลิตเพิ่ม ทำเท่าที่ขาย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการคาดการณ์ทิศทางธุรกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2550 ว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ จากเดิมที่คาดว่าทั้งปีจะขยายตัว 4.0-4.5% เป็นคาดว่าอัตราขยายตัวจะต่ำกว่าระดับ 4% โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 จะมีอัตราลดลงต่ำสุดในรอบปี และมีแนวโน้มต่ำสุดในรอบ 5 ปี หรือตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจขยายตัวแค่ 1.7% แต่เศรษฐกิจไตรมาส 3 น่าจะขยายตัวไม่ลดลงต่ำกว่า 2%
“ขณะนี้เศรษฐกิจต้องเจอปัจจัยลบจำนวนมาก โดยเฉพาะการเผชิญกับวิกฤติความเชื่อมั่นต่างๆ ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี และตกต่ำต่อเนื่องมา 2 ปี หรือดัชนีภาคธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้จัดทำก็ลดต่ำลง รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ก็ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 รวมทั้งภาคการลงทุนที่ลดลงจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมือง ซึ่งเดิมคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นต้นไตรมาส 2 แต่ขณะนี้คาดว่าน่าจะเลื่อนไป ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวไม่ถึง 4% มีอากาสสูง”
นายธนวรรธน์กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา โดยเร่งกระตุ้นเบิกจ่ายงบประมาณ ลดดอกเบี้ย ซึ่งคาดว่าครึ่งปีแรกธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยประมาณ 0.50% และรอดูสถานการณ์ เพื่อจะปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.25% ตามมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยเอื้อหนุนธุรกิจไทยให้อยู่รอดได้ รวมถึงการพยุงค่าเงินบาท และการสร้างความหวังให้เศรษฐกิจไทยด้วยโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) การประชาสัมพันธ์เรื่องการแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายที่รัฐบาลดำเนินการให้นักลงทุนรับทราบ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อลงลึกถึงการคาดการณ์ทิศทางธุรกิจไทยรายไตรมาสนั้น จากปัจจัยลบทั้งในเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แนวโน้มความผันผวนของราคาน้ำมันตลาดโลก การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท การลงทุนในต่างประเทศชะลอตัวลงจากมาตรการกันเงินสำรอง 30% การแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รวมถึงการบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัว ทำให้ไตรมาส 2 ธุรกิจมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 1 โดยธุรกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวมากสุด อาทิ ธุรกิจน้ำนมดิบ ธุรกิจนมข้นหวาน ธุรกิจโซดาและน้ำอัดลม ธุรกิจโทรทัศน์ ธุรกิจเครื่องปรับอากาศ ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนธุรกิจที่ยังมีแนวโน้มดีในไตรมาส 2 ได้แก่ ธุรกิจน้ำตาล ธุรกิจน้ำมันพืช ธุรกิจเบียร์ ธุรกิจแผงวงจรรวม เป็นต้น
ภาคธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โดยที่ได้รับผลกระทบรองลงมา คือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะคนระวังการใช้จ่าย ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือเร่งสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งจริงแล้วๆ เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าขั้นวิกฤติเหมือนปี 2540 ซึ่งขณะนั้น ไม่มีเงินในระบบ แต่สถานการณ์ปัจจุบันแตกต่างตรงที่มีเงินในระบบ เพียงแต่เงินไม่ได้ใช้ออกไป เพราะการบริโภคหด เนื่องจากคนไม่มั่นใจในสถานการณ์
สศค.ห่วงการลงทุนเอกชน
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ในภาวะปัจจุบันรู้สึกเป็นห่วงภาคการลงทุนของเอกชนที่มีอัตราการขยายตัวในระดับที่น่าเป็นห่วง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยลบที่ฉุดให้ตัดเวลการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ ดังนั้นทางภาครัฐจะต้องเร่งให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้มากที่สุดเพื่อทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้
โดยภาครัฐจะต้องดำเนินการเร่งการเบิกจ่ายเงินลงทุนของภาครัฐให้ได้ 93% และเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ 85% จึงจะสามารถผลักดันให้จีดีพีขยายตัวที่ระดับ 4.0 – 4.5% ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ซึ่งเมื่อภาครัฐและรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าแล้วจะมีส่วนให้ภาคเอกชนเกิดความเชื่อมั่นและเพิ่มปริมาณการลงทุนตามภาครัฐ โดยจะเป็นส่วนร่วมผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามเป้า
“เท่าที่คุยกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแล้วรู้สึกเป็นห่วงว่าจีดีพีจะเป็นเท่าไร เพราะทางภาคเอกชนผลิตสินค้าเท่าที่เขามีคำสั่งผลิตเข้ามาเท่านั้น ไม่มีการผลิตสินค้าเก็บไว้ในสต็อกเพื่อรอการขายแต่อย่างใดถือว่าเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงพอสมควร ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้สะท้อนถึงสภาวะการนำเข้าที่เริ่มชะลอตัวลงเช่นกัน เพราะเมื่อการผลิดลดลงแล้วการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อผลิตสินค้าก็ลดลงด้วย” นางพรรณีกล่าว
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ต้องการส่งสัญญาณถึงผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจที่นิ่งและชะลอตัวจนส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 โดยเฉพาะเดือนมีนาคมที่คาดว่าผลการจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจากสัญญาณดังกล่าว ถือเป็นการตอกย้ำว่า หากไม่มีการทำอะไรให้ดีขึ้น ภาวะเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังของปี 2550 ก็จะยิ่งแย่ไปกว่าช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันคิดหาทางออกในระยะข้างหน้ามากกว่าการมองแค่การแก้ปัญหารายได้ตกต่ำในระยะสั้น
"อยากให้ช่วยกันคิดข้างหน้ามากกว่าเรื่องรายได้ที่ตก โดยต้องดูในหลายมิติ ช่วยกันฟื้นความเชื่อมั่นต่างๆ ให้กลับมา ไม่ว่าจะผู้บริโภค ผู้ลงทุน ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้แม้ว่าคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ที่จะหาวิธีการอัดฉีดเงินเข้าระบบ รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายให้เพิ่มขึ้น คงยังไม่พอ เพราะยังขาดในส่วนของการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกก็ไม่รู้ว่าจะลดลงเท่าไหร่ ผมไม่ได้พูดแค่เดือนมีนาคม เพราะเป็นแค่ระยะสั้น แต่อยากให้มองระยะยาว เดือนมีนาคมเป็นสัญญาณที่ย้ำว่า ถ้าไม่ดี ครึ่งปีหลังก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก ผมอยากให้หลายฝ่ายช่วยกัน" นายศุภรัตน์ กล่าว
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ยอมรับว่าผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตในเดือนมีนาคม ค่อนข้างแย่กว่าที่คาด แต่ในภาพรวมคิดว่า กระทรวงการคลังคงจะต้องนำรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจมาช่วยชดเชยในส่วนที่หายไป
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ขณะนี้กรมสรรพสามิตกำลังติดตามดูตัวเลขรายได้อยู่ ซึ่งยอมรับว่า รายได้ภาษีหลายตัวลดลงไป ทั้งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ เป็นต้น ขณะที่ภาษีน้ำมันก็ค่อนข้างทรงตัว.
|
|
|
|
|