Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 มีนาคม 2550
ล้มมาตรการกันสำรอง30%             
 


   
search resources

ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
Economics




“ฉลองภพ” ล้มมาตรการ 30% เผยแบงก์ชาติกำลังพิจารณายกเลิก เพราะตอนนี้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ไม่มีผลต่อภาคปฏิบัติแล้ว ขณะที่แบงก์ชาติเรียกนายแบงก์ประชุมด่วน สกัดบาทแข็งพร้อมหาค่าบาทที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจ ลืออาจย้อนยุคผูกค่าเงิน ส่งผลบาทวานนี้อ่อนยวบไปอยู่ที่ 35.06 บาทต่อดอลลาร์

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ขณะนี้มาตรการดังกล่าวไม่มีผลทางการปฏิบัติ เพราะหากใครจะนำเงินเข้ามาในประเทศก็สามารถทำสัญญาแลกเปลี่ยน (สวอป) ล่วงหน้าโดยไม่ต้องสำรอง 30%มาตรการนี้จึงคล้ายๆ กับยังอยู่ในกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น

"สาเหตุที่ยังไม่ประกาศยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ในช่วงนี้ จะต้องรอจังหวะให้ ธปท. เป็นผู้พิจารณา แต่ยอมรับว่าทางปฏิบัติไม่มีผล สำหรับการประกาศยกเลิกตอนนี้ก็เปรียบเป็นกระดาษที่แค่เปลี่ยนกระดาษ แต่ที่สำคัญต้องทำให้ประชาชนและนักลงทุนเข้าใจ เพราะจริง ๆแล้วมีมาตรการให้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนได้โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา ดังนั้นช่วงนี้ใครจะนำเงินเข้ามาก็ไม่ต้องสำรองแล้ว"

ลือผูกค่าบาทส่งผลอ่อนยวบ 35.06

นักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (26 มี.ค.) บาทอ่อนค่าเล็กน้อย ปัจจัยสำคัญเกิดจากนักลงทุนตื่นข่าวลือกรณี ธปท.ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ในการดูแลค่าเงินโดยสั่งห้ามขายดอลลาร์ เพื่อให้เงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป

โดยวานนี้บาทต่อดอลลาร์เปิดตลาดที่ 34.98/35.00 ปิดตลาดที่ 35.04/06 อ่อนค่าลงจากวันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้นำเข้าเทขายเพราะคาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีก หลังจากระยะ 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวลือว่า ธปท. อาจจะมีมาตรการเพิ่มเติม และวานนี้ตลาดเกิดข่าวลืออีกว่า ธปท.อาจผูกติดค่าเงินบาทไว้ที่ 36 บาท/ดอลลาร์ ประกอบกับค่าเงินเยนและค่าเงินยูโรก็ปรับอ่อนค่าลง เนื่องจากดอลลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล จากยอดขายบ้านในสหรัฐดีกว่าที่ตลาดคาดารณ์

ทั้งนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดอยู่ที่ 34.65 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนอ่อนค่าในวันศุกร์มาปิดที่ 35.00 บาทต่อดอลลาร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 17.00 น.วานนี้ ธปท.ได้เรียกผู้บริหารธนาคารพาณิชย์มาประชุมที่ ธปท.สำนักงานถนนสุรวงศ์ ท่ามกลางกระแสข่าวที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ธปท.อาจยกเลิกมาตรการ 30% ตามที่นายฉลองภพพยายามส่งสัญญาณผ่านสื่อมวลชน พร้อมกันนี้ ธปท.อาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลค่าเงินบาท หลังจากวันศุกร์ที่ผ่านมาได้กำชับให้นายธนาคารช่วยดูแลค่าเงินด้วยการหยุดขายดอลลาร์

"แบงก์ชาติคงหารือกับนายแบงก์เกี่ยวกับค่าเงินบาทที่เหมาะกับเศรษฐกิจไทย ยังมีข่าวลือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะต้องผูกค่าเงินบาทที่ 36 บาทต่อดอลลาร์ แต่ก็คงไม่ง่าย" แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเผย

โฆสิตถกเอกชนหาทางออกบาทแข็ง

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้ (27 มี.ค.) จะหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เพื่อที่จะทางที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในเวลาที่เหลือของรัฐบาลนี้ซึ่งจะมองภาพใหญ่เป็นหลัก รวมไปถึงภูมิคุ้มกันจากความผันผวนของค่าเงินบาทแข็งค่าด้วย

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ส.อ.ท.จะนำสมาชิกกลุ่มผู้ส่งออกอาทิ อาหาร และอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง สิ่งทอ ฯลฯ เข้าหารือกับนายโฆสิต ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยประเด็นที่จะหารือเป็นเรื่องทิศทางค่าเงินบาท รวมถึงความคืบหน้ากรณีส.อ.ท.ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) ในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลไปเร่งหารือกับภาคเอกชนทุกส่วนเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากการหารือเบื้องต้นกับผู้ส่งออก ที่ได้รับผลกระทบต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าค่อนข้างเห็นได้ชัดได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง สิ่งทอพบว่า ในช่วงรอยต่อค่าเงินบาทในช่วงปลายปีที่ผ่านมาถึงต้นปีนี้ผลจากค่าบาทที่แข็งขึ้นทำให้ฉุดรายได้จากการส่งออกไปแล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาททำให้บางรายไม่กล้าที่จะรับยอดคำสั่งซื้อหรือออร์เดอร์การผลิตเพิ่มขึ้นเพราะเกรงจะมีปัญหาขาดทุน และบางรายเริ่มมีการลดการผลิตลงบ้างแล้ว ซึ่งหากปล่อยไประยะยาวอาจนำไปสู่การปลดคนงาน

ส่งออกผวา 33 บาทวิกฤติแน่

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าผู้ส่งออกส่วนใหญ่ต่างมองว่าหากบาทแข็งค่าในระดับ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯจะนับเป็นวิกฤติสำหรับผู้ส่งออกค่อนข้างมากเพราะจะกระทบอย่างหนักกับกลุ่มส่งออกหลักๆ ทั้งอาหาร และสิ่งทอที่เป็นสินค้าที่ไทยได้มูลค่าเพิ่มมากในระดับต้นๆ อย่างไรก็ตามการกำหนดให้บาทไม่แข็งค่านั้น เอกชนยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่สิ่งที่เอกชนมองคือบาทไทยมีพื้นฐานแข็งค่ากว่าเพื่อนบ้านในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมาก และแม้ปัจจุบันจะเริ่มมาดีขึ้นบ้าง แต่เฉลี่ยก็ยังสูงกว่าทั้งเวียดนาม และจีน

นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นว่า ปัญหานี้มีสะสมมาตั้งแต่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากเปรียบกับประเทศเวียดนามที่มีการลงทุน โดยการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ ทำให้การแข่งขันในระยะยาวประเทศไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นจึงต้องคิดผลความสามารถในการแข่งขันระยะ 4-5 ปี หากไทยไม่มีการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ก็จะลำบาก ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

“ทำอย่างไรสร้างความมั่นใจให้คนไทยลงทุนเพิ่ม ให้คนต่างด้าวลงทุนเพิ่มขึ้น เมื่อไรมีการซื้อเครื่องจักรใหม่ การลงทุนใหม่ ๆก็จะเพิ่ม เพราะหากมีการซื้อเครื่องจักรที่ใช้ค่าเงินต่างประเทศซื้อ เมื่อใช้เงินดอลล่าห์ซื้อ ความต้องการดอลล่าห์ก็จะเพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลล่าห์ก็จะเพิ่ม ค่าของเงินบาทก็จะต้องลดลง แต่ที่ผ่านมาเราแก้ที่ปลายเหตุกันมากเกินไป” นายสมชายกล่าว.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us