Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 มีนาคม 2550
ตลาดแอร์ปีหมู กำลังซื้อแผ่ว ผู้ผลิตอัดกิจกรรม งัดกลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)
โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
โฮมเพจ เทรน (ประเทศไทย)
โฮมเพจ ทีซีแอล

   
search resources

เทรน (ประเทศไทย), บจก.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
ทีซีแอล อีเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก.
แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย), บจก.
Electric




ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์แนวโน้มตลาดเครื่องปรับอากาศในประเทศปี 2550 ว่าอยู่ในภาวะทรงตัวเท่ากับปีก่อน หรือประมาณ 540,000 เครื่อง เนื่องจากปัจจัยลบกระหน่ำต่อเนื่อง ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง ด้านผู้ประกอบการเร่งทำตลาดเต็มสูบ อัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ชูเทคโนโลยี งัดกลยุทธ์ Co-Promotion กระตุ้นกำลังซื้อ

จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปี 2549 ที่มีความผันผวนอย่างมาก ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ยอดขายของเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงประมาณ 9% เมื่อเทียบกับปี 2548 หรือมีปริมาณการขายราว 540,000 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ากว่า 10,700 ล้านบาท และจากปัจจัยลบดังกล่าวที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงปี 2550 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ตลาดเครื่องปรับอากาศในประเทศไทยปีนี้จะอยู่ในภาวะทรงตัวเท่ากับปีก่อน

นอกจากนี้ จากการประมาณตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่คาดว่า ไทยจะมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ในปี 2550 ประมาณ 3.5-4.5% ซึ่งน้อยกว่าปีก่อนที่มีการขยายตัวถึง 5% ทั้งนี้เพราะจากพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากความไม่มั่นใจของประชาชนในด้านการเมือง และราคาน้ำมันที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่สูงและการชะลอตัวของการส่งออกตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นแม้สภาพอากาศในปัจจุบันจะร้อนมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทว่าสภาพทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงก็จึงทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายมากกว่าเดิม

ไม่เพียงเท่านี้ การขยายตัวของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปีนี้จะมีที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศอยู่ที่ 149,000-155,000 ยูนิต (รวมบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม/อาคารชุดและบ้านรับจ้างสร้าง) ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น 0 - 3% จากปีที่ผ่านมาเท่านั้น จากปัจจัยลบดังกล่าว รวมทั้งสถานการณ์การแข่งขันที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้เล่นในตลาดแอร์ต้องเร่งปรับตัวและจัดรายการส่งเสริมการขายตั้งแต่ต้นปี โดยต้องเน้นที่เทคโนโลยีเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ขณะที่กลยุทธ์ด้านราคาก็ยังเป็นสิ่งสำคัญในการมัดใจผู้บริโภค

ผู้ประกอบการลอนช์สินค้าใหม่ ขยายพันธมิตร งัดกลยุทธ์สู้

ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ทำให้เครื่องปรับอากาศยังมีการเติบโตขึ้น เพราะเป็นสินค้าจำเป็นต้องใช้งานทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน แต่จากเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังผันผวน รวมทั้งต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถรักษาการเติบโตตามเป้าที่วางไว้ สุริชัย ภัทรกิจนิรันดร์ กรรมการผู้จัดการ เทรน (ประเทศไทย) เผยว่า ในปีนี้ บริษัทจะหันมาบุกตลาดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการเติบโตที่ดี ขณะที่แอร์ขนาดใหญ่คาดว่าจะจะมีการเข้าโครงการน้อยลง โดยตั้งเป้ายอดขาย 4,400 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10% เทียบกับปีก่อนที่มียอดขาย 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้แอร์ขนาดเล็ก 50% หรือ 2,000 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมแอร์เล็ก 13,000 ล้านบาท และ แอร์ขนาดกลางกับใหญ่ 50% หรือ 2,000 ล้านบาท จากตลาดรวมแอร์ขนาดใหญ่5,000 ล้านบาท

สำหรับการทำตลาด บริษัทได้ทุ่มงบกว่า 60 ล้านบาท เพื่อจัดกิจกรรมกับลูกค้าตัวแทนจำหน่ายเพื่อสื่อสารและกระชับความสัมพันธ์ ตามแนวคิดซีอาร์เอ็ม พร้อมกับชูแผน Co-Promotion เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้สูงสุด นอกจากนี้ก็จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ ล่าสุดส่ง "Trane New Stylus" เข้าสู่ตลาด โดยมีขนาดทำความเย็นตั้งแต่ 12,000 - 60,000 Btu/h มีจุดเด่นในด้านการประหยัดพลังงาน จากแผนการทำตลาดดังกล่าวคาดว่าจะสามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้

ขณะที่แบรนด์ทีซีแอล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน กล่าวว่า การทำตลาดในปีนี้ จะเน้นจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง และจะมีการออกสินค้าใหม่ โดยสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศจะมีจำนวน 2 รุ่นคือ ขนาด 9,000 บีทียู และ 12,000 บีทียู นอกจากนี้บริษัทจะให้ความสำคัญกับการจับมือกับพันธมิตรเพื่อขยายช่องทางจำหน่ายให้มากขึ้น เช่น การร่วมมือกับร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เพื่อนำสินค้าประเภทต่างๆ แบรนด์ทีซีแอลเข้าไปจำหน่าย ซึ่งตอนนี้นำร่องไปแล้วจำนวน 5 สาขา โดยบริษัทคาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 5-10%

ส่วนแบรนด์แอลจี ที่ปีนี้เตรียมขยับราคาสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศขึ้นอีก 10-15% เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทว่าแอลจีก็เตรียมงัดกลยุทธ์ Co-Promotion เพื่อช่วยสร้างแบรนด์และกระตุ้นรายได้ โดยเป็นแผนที่แอลจีเริ่มเจรจากับพันธมิตรมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งจะเริ่มจัดกิจกรรมร่วมกันตั้งแต่ต้นปี เริ่มจากการจัดแคมเปญร่วมกับธนาคารอาคารสงเคาะห์ หรือ ธกส. และธนาคารกรุงไทย ซึ่งบริษัทคาดว่าปีนี้จะมีการจับมือจัดกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรประมาณ 5-6 ราย ซึ่งบริษัทคาดว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยให้ยอดขายมีการเติบโตขึ้น 10-15% จากการเติบโตทั้งปีที่ตั้งไว้ประมาณ 40% ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us