|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สื่อออนไลน์รุ่ง เหตุเศรษฐกิจแย่ ผู้ประกอบการเล็งใช้กลยุทธ์ทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น เบียดสื่อโทรทัศน์และวิทยุที่มีค่าใช้จ่ายแพง “ธอมัสไอเดีย” ผุดกลยุทธ์ ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง หวังเรียกฐานลูกค้าหันมาใช้สื่อออนไลน์ขยับเพิ่มขึ้นอีก 5-10% จากเดิมที่มีอยู่ในมือกว่า 60 ราย มั่นใจผลักรายได้ปีนี้ขยับขึ้นอีกอย่างน้อย 20-30% ของ 40 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
นางสาวอุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล กรรมการผู้จัดการและที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านการวางกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ เปิดเผยว่า จากสภาพการแข่งขันธุรกิจที่รุนแรงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าสื่อออนไลน์เป็นอีกหนึ่งสื่อที่บริษัทต่างๆหันมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์และทำตลาดมากยิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าในปีนี้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะชะลอตัวก็ตาม กลับมองว่าบริษัทต่างๆยังคงให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น
เนื่องจากการที่แต่ละบริษัทหันมาลดงบประมาณด้านการตลาดลงนั้น จะต้องมองหาสื่อการตลาดในรูปแบบใหม่ที่คุ้มค่าคุ้มราคามากยิ่งขึ้น ซึ่งสื่อออนไลน์เองก็เป็นอีกหนึ่งสื่อที่บริษัทต่างๆให้ความสนใจ เพราะเมื่อเทียบกับสื่อโทรทัศน์และวิทยุในงบประมาณที่เท่ากัน สื่อออนไลน์สามารถใช้งานได้คุ้มกว่า และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง จึงมองสื่อออนไลน์กำลังจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต
“ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีหน่วยงานใดทำการสำรวจหามูลค่าของสื่อออนไลน์ว่ามีมูลค่าประมาณเท่าไรนั้น แต่มั่นใจอย่างหนึ่งว่า สื่อออนไลน์กำลังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เพราะบริษัทต่างๆเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการที่เป็นสื่อที่ใช้งบประมาณไม่สูงมากแล้ว ยังเป็นสื่อในรูปแบบใหม่ที่สามารถเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบันที่นิยมเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งในอนาคตมองว่า กลุ่มวัยรุ่นนั้นจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักต่อไปที่มีฐานค่อนข้างใหญ่นั้นเอง ดังนั้นการปูฐานสร้างสื่อออนไลน์ดังกล่าวจึงน่าจะช่วยในเรื่องของการทำตลาดได้ง่ายขึ้นต่อไปในอนาคต”
ส่วนงบประมาณของการใช้สื่อออนไลน์ต่อหนึ่งบริษัทนั้น ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 7-10 ล้านบาท (ในรูปแบบของการจัดทำเว็บไซต์ของบริษัทนั้นๆเอง ไม่รวมการซื้อสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์อื่น) ซึ่งเมื่อเทียบกับสื่อโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ถือว่าใช้งบได้น้อยมาก แต่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน และยังสามารถเป็นการสื่อสารทางการตลาดแบบทูเวย์คอมมูนิเคชั่นอีกด้วย ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบที่สื่อโทรทัศน์และวิทยุไม่สามารถทำได้
ดังนั้นล่าสุดจากการที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้านการวางกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ มองว่าในปี้นี้ น่าจะมีกลยุทธ์ทางการตลาดเพิ่มขึ้นอีก 1 อย่าง คือ ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง สำหรับช่วยลูกค้าในการที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของสื่อออนไลน์ที่มองว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้คาดว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มลูกค้าใหม่อีกอย่างน้อย 5-10% หรือประมาณ 5-10 บริษัท จากจำนวนลูกค้าที่มีอยู่แล้วกว่า 60 บริษัทจากปีที่ผ่านมา แบ่งได้เป็น เอกชน 85% หน่วยงานภาครัฐ 15% โดยในจำนวนบริษัททั้งหมดนั้น เป็นบริษัทต่างชาติประมาณ 10-20%
ขณะเดียวกันมองว่าน่าจะช่วยเพิ่มผลประกอบการในปีนี้ได้อย่างน้อย 20-30% จาก 40 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา จากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯในปีนี้ ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.การให้คำปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ออนไลน์ 30% 2.การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และเว็บแอพพลิเคชั่น 50% และ 3.บริการดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง 20% ซึ่งสัดส่วนรายได้ดังกล่าว มีการปรับขึ้นใหม่จากเดิมในปีที่ผ่านมา คือ 1.การให้คำปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ออนไลน์ 20% 2.การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และเว็บแอพพลิเคชั่น 70% และ 3.บริการดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง 10% นั้นเอง
โดยลูกค้าของบริษัทฯนั้น ที่ผ่านมาค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์, กลุ่มอาคารและวัสดุก่อสร้าง, กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค, กลุ่มการเงินการธนาคาร, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มการสื่อสาร และหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เป็นต้น
นางสาวอุไรพร กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มของกลุ่มบริษัทที่คาดว่าจะหันมาใช้สื่อออนไลน์มากยิ่งขึ้นในอนาคตนั้น ส่วนใหญ่น่าจะเป็นกลุ่มสินค้าสำหรับอุปโภคและบริโภค รวมไปถึงกลุ่มภาคอุตสาหกรรมด้านการส่งออกต่างๆ เป็นต้น
|
|
|
|
|