Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 มีนาคม 2550
โครงการรถไฟฟ้าส่อ “ตกราง” พ.ร.บ.ร่วมทุนก้างชิ้นใหญ่ทางขวางเกิด             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงคมนาคม
โฮมเพจ การรถไฟแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

   
search resources

การรถไฟแห่งประเทศไทย
กระทรวงคมนาคม
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
Transportation




โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ส่อเค้าติดเบรกยาว ติดเงื่อนเวลาเปิดซองประกวดราคา–พ.ร.บ.ร่วมทุน สายสีแดงเลื่อนประมูล 2 เดือน ขณะสีน้ำเงินและสีม่วงช้าไป 1 เดือน เหตุติดปัญหาการโอนงบประมาณว่าจ้างที่ปรึกษา

เป็นอันว่าแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.65 ล้านบาท ส่อเค้าว่าจะเจอโรคเลื่อนอีกครั้ง หลังจากที่ถูกเลื่อนมาหลายครั้ง ซึ่งสร้างความสับสนให้กับกลุ่มนักลงทุนมาก

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม รีบออกมาชี้แจงแล้วว่า รัฐบาลยังคงเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทางเดิมตามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนว่าจะไปในทิศทางที่ดี แต่หากมองลึกๆ แล้วโครงการรถไฟฟ้าเริ่มส่อเค้าว่าอาจล่าช้ากว่ากำหนดเดิม เนื่องจากต้องปรับกรอบเวลาการประมูลใหม่ ขณะเดียวกันเงินลงทุนที่จะขอกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) ก็ยังไม่คืบหน้า

สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เป็นที่แน่นอนแล้วว่ารัฐบาลจะลงทุนรถไฟฟ้า 5 สาย ตามกรอบการทำงานเดิมคือระยะทาง 118 ก.ม. มูลค่า 1.65 แสนล้านบาท จำนวน 5 เส้นทาง คือ สายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 41 ก.ม.วงเงิน 53,985 ล้านบาท สีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ 23 ก.ม. วงเงิน 29,160 ล้านบาท สีน้ำเงินบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 27 ก.ม. 52,581 ล้านบาท และสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ และซอยแบริ่ง-สมุทรปราการ 27 ก.ม. 29,676 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ปรับเปลี่ยนกรอบเวลาการเปิดประกวดราคาและก่อสร้าง ซึ่งอาจจะต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่ครม.อนุมัติเพื่อให้เกิดความโปร่งใส

โดยกรอบเวลาเดิมที่ ครม.อนุมัติไป คือ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเปิดประกวดราคาในเดือนเม.ย.นี้ และเริ่มก่อสร้างเดือนต.ค. ปี 2550 จะต้องเลื่อนออกไป 2-3 เดือน ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกวดราคาเดือน ต.ค.ปี 2550 ก่อสร้างเดือนเม.ย. 2551 สายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เสนอ ครม.อนุมัติผลศึกษาร่วมทุนเดือนเม.ย. ประกวดราคาเดือน พ.ค. และเริ่มก่อสร้างเดือนธ.ค .2550 ขณะที่สีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค เดือนเม.ย. เสนอ ครม. พิจารณาผลการศึกษาร่วมทุน ประกวดราคาเดือนก.ย. 2550 ก่อสร้างเดือนเม.ย. ปี 2551 ส่วนสายสีเขียวใน เดือนมิ.ย. จะเสนอ ครม.ผลศึกษาร่วมทุนและ เดือนธ.ค.ประกวดราคา และเริ่มก่อสร้างเดือนมิ.ย. ปี 2551

สำหรับรถไฟฟ้าสายที่จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างก่อนสายอื่นๆ คือสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต เพราะไม่ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และไม่ต้องเวนคืนที่ดิน เพราะใช้พื้นที่ของ ร.ฟ.ท. ขณะที่สายอื่นๆ ต้องเข้า พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ และมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งจะต้องออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินก่อน จากนั้นจึงประกวดราคา คาดว่าเร็วที่สุดน่าจะเป็นสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ แม้จะต้องศึกษาการร่วมทุน แต่ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน และเริ่มสำรวจการเวนคืนที่ดินแล้ว

ด้านสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.)โดยเกรียง วิศิษฏ์สรอรรถ ประธานคณะดำเนินงานศึกษาโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง กล่าวว่า ได้เตรียมเสนอรัฐบาลให้ก่อสร้างสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-พญาไทก่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันหรือทำควบคู่กันไป เนื่องจากช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-พญาไท จะเป็นการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่จะไปสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ซึ่งจะทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาจราจรได้ถึง 20-30% อีกทั้งยังช่วยลดค่าก่อสร้างได้อีกกว่า 10,000 ล้านบาท หรือราว ๆ 20% ของงบก่อสร้างเดิม หากเป็นการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินแทนการก่อสร้างแบบยกระดับ

นอกจากนี้ จะเสนอให้รัฐบาลลงทุนก่อสร้างทั้งหมด 100% เพื่อให้ควบคุมค่าโดยสารและการบริหารจัดการได้เอง เพราะหากให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้วยจะควบคุมค่าโดยสารได้ยาก

สำหรับการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่และซอยแบริ่ง-สำโรง รัฐบาลจะคำนึงถึงประโยชน์และความสะดวกของประชาชน เช่น ค่าโดยสารและค่าตอบแทนคืนแก่รัฐต้องเป็นธรรม

นอกจากนี้ การปรับกระบวนการจัดหาระบบรถไฟฟ้ากับระบบอาณัติสัญญาณจากการที่รัฐลงทุนเองมาให้เอกชนลงทุน 100% นั้น รัฐต้องจัดให้มีผู้กำกับเพื่อกำกับดูแลระบบและค่าโดยสารเพราะภาคเอกชนจะยึดสัญญาสัมปทานเป็นหลัก การคิดค่าโดยสารจะอิงตามข้อตกลงที่ผู้พันกับแหล่งทุนมากกว่าประโยชน์ทางสังคม ทำให้เกิดปัญหาการคิดค่าโดยสาร เช่นเดียวกับกรณีของรฟม.และบีทีเอสที่ขัดแย้งกับกทม.เรื่องการขึ้นค่าโดยสาร

ที่สำคัญ รัฐจะต้องนึกถึงผลประโยชน์ที่จะคืนสู่รัฐและเอกชนผู้ร่วมทุน ทั้งนี้ภาคเอกชนลงทุนเพียง 15% แต่กลับได้เป็นเจ้าของสัมปทานไปทั้งหมด และแบ่งรายได้มากกว่ารัฐ 4 เท่าตัว เป็นเวลานานถึง 25-30 ปี ทั้งที่รัฐเป็นผู้ลงทุนในระบบหลักถึง 85% แต่กลับรายได้ไม่ถึง 85% หรือคิดเป็น 1 ส่วนเท่านั้น

รฟม.แจงอาจล่าช้าจากแผนเดิม 1 เดือน

ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ จะล่าช้าไปจากแผนเดิม 1 เดือน โดยสายสีม่วง จะเปิดประกวดราคาได้เดือนมิ.ย. จากเดิมเดือนพ.ค. เพราะติดปัญหาการโอนงบประมาณว่าจ้างที่ปรึกษากว่า 277.3ล้านบาท ที่ใช้บริษัทที่ปรึกษารายเดิม เนื่องจากมีประสบการณ์ และผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้ว คือ บริษัท AEC เป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 53.9 ล้านบาท และอนุมัติให้จ้างกลุ่มบริษัท BMTC (บีเอ็มทีซี) เป็นที่ปรึกษาสายสีน้ำเงิน วงเงิน 223.4 ล้านบาท

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่คาดว่าจะเริ่มเป็นสายแรกนั้น มีการเลื่อนประกวดราคาออกไปอีก 2 เดือน จากเดิมที่จะเปิดประมูลในเดือนเม.ย.นี้ เพื่อทำให้การประมูลโปร่งใสมากขึ้น โดยทางร.ฟ.ท.จะเปิดประมูลว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่เข้ามาประเมินราคากลางการลงทุนและจัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชน ซึ่งทำให้ขั้นตอนช้าลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us