|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
10 ปี ของการตรากตรำทำงานหนัก คือดัชนีชีวัดการคลับเคลื่อน "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" (กบข.) ให้เติบใหญ่สู่องค์กรที่มีความเป็นสากล มีขุมทรัพย์จำนวนมหาศาลที่ต้องดูแลกว่า 3.2 แสนล้านบาท ด้วยบุคลากรเพียง 240 คนในองค์กร เทียบแล้วช่างไม่สมน้ำสมเนื้อกับการบริหารทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล เพราะเหมือนองค์กรขนาดเล็กทำงานใหญ่เกินตัว แต่กลับกลายเป็นว่าความเล็กนั้นได้ภาพสะท้อนภาพความเด็ดและของดีที่มีในตัว "กบข."
อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ กบข.ก้าวมายืนเป็น "กองทุน" ชั้นนำของประเทศได้? ...
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิดกับการบริหารทรัพย์สินถึง 3.2 แสนล้านบาท ด้วยทรัพยากรบุคคล 240 คน หากเมื่อเทียบกับตอนต้นแรกกำเนินของ กบข. เมื่อ10 ปีที่แล้ว มีทรัพย์สินในการจัดการเพียง 4 หมื่นกว่าล้านบาท ตรงนี้น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ว่า กบข.สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือของสมาชิกผู้นำเงินเข้ามาลงในกองทุน
แต่หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่า "กบข." สามารถพาองค์กรให้ขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าได้อย่างมั่นคง...ด้วยแผนแม่บทที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ...ซึ่งนั่นคือรหัสลึกที่ไม่ลับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเหล่าข้าราชการ
"วิสิฐ ตันติสุนทร" เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ผู้ถอดรหัสลับ 10 ปี กบข. ที่มายืนตรงจุดนี้ได้เพราะ มันสมองของบุคลากรทั้ง 240 คน ที่มีค่าเหนือเครื่องจักรกลอื่นใดทั้งสิ้น และผนวกเข้ากับเทคโนโลยีไอทีสมัยใหม่ ยิ่งเพิ่มศักยภาพของบุคลากรก็ไม่ปาน และนี่คือหัวใจที่ทำให้ กบข. เป็นองค์กรที่ "Small but Beautiful"
ใครกันเล่าจะเชื่อว่า กบข. เป็นองค์กรที่ Small เพราะบริหารทรัพย์สินถึง 3.2 แสนล้านบาท บวกจำนวนสมาชิก 1.2 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอีกในอนาคต กอปรกับการตั้งเป้าองค์กรสู่เกณฑ์มาตรฐานสากลยิ่งสร้างความฉงนว่า กบข.จะใช้กลยุทธ์ใดในการปีนเขาเพื่อพิชิตยอด ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ อย่างนโยบายการลงทุน ทรัพยากรบุคคลที่น้อยนิด หรือแม้แต่สมาชิกที่คาดหวังกับ กบข. ไว้สูง
วิสิฐกล่าวถึงทรัพยากรบุคคลก่อนว่า ใช่ว่า กบข. จะไม่เพิ่มบุคลากร แต่การเพิ่มนั้นหมายความว่าทุกคนทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้ว เพราะ กบข. เชื่อว่าพนักงานทุกคนเปี่ยมด้วยศักยภาพ อีกทั้งที่ผ่านมาได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากในการสร้างทรัพยากรบุคคล พร้อมติดอาวุธเสริมด้วยระบบไอทีที่ทันสมัย อันเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ กบข. ใช้ทรัพยากรบุคคลน้อยในการบริหารทรัพย์สินมหาศาล และดูแลสมาชิกทั้งหมด
"ผมเข้ามาประมาณ 5 ปีกว่า ด้วยการสานต่อนโยบายท่านเลขาธิการ กบข. คนเก่าในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะการจัดวางระบบไอที ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มศักยภาพให้องค์กรและบุคลากร จนทำให้กบข.มายืนบนจุดที่ไม่น้อยหน้ากองทุนไหนๆ"
วิสิฐ ยังเล่าให้ฟังถึงอดีตตอนที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.ใหม่ๆ ว่า แตกต่างจากปัจจุบัน อย่างเรื่องของการลงทุนไม่มีความยุ่งยากมาก กบข. เน้นลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก เพราะลำพังผลตอบแทนก็ได้แล้วถึง 15% การบริหารจัดการพอร์ตลงทุนจึงไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งผิดจากปัจจุบัน
ด้วยทรัพย์สินตอนที่วิสิฐเข้ามาบริหารมีประมาณ 1.1 แสนล้านบาท และเพิ่มขึ้นมาเป็น 3.2 แสนล้านบาท ทำให้กบข.ต้องการตลาดที่จะใส่เงินลงทุน ขณะเดียวกันผลตอบแทนการลงทุนในประเทศก็เปลี่ยนไปจากอดีตอยู่มาก อย่างลงทุนตราสารหนี้ปัจจุบันคงไม่มีแล้วที่ได้ผลตอบแทนถึง 15% อย่างดีก็ 5%
ด้วยปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงกดดันและบีบบังคับให้ กบข. ต้องหาทางรอดในการสร้างผลตอบแทนโดยมีเป้าหมายที่ต้องชนะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
"เงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราต้องปรับกลยุทธ์การลงทุน การลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝากในอดีตที่ผ่านมาไม่ถูกต้องแม้จะได้ผลตอบแทนสูงก็ตาม เนื่องจากการลงทุนรูปแบบดังกล่าวเป็น Fix ผลตอบแทน สวนทางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นระยะยาวการลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝากในสัดส่วนที่มากจึงไม่ปลอดภัย"
สมาชิกที่นำเงินมาเข้ากองทุนย่อมหวังผลตอบแทนที่ดี แต่เป็นเรื่องยากหาก กบข. ลงทุนได้เฉพาะในประเทศ แม้ว่าจะปรับพอร์ตไปลงทุนตลาดตราสารทุนที่ว่ากันว่าผลตอบแทนเอาชนะเงินเฟ้อได้ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็ยังเป็นข้อจำกัดในการสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่าอยู่ดี นั่นเพราะจำนวนทรัพย์สินจากสมาชิกที่เข้ามาแต่ละเดือนตกราว 1.5-1.6 พันล้านบาท ทำให้ทรัพย์สินโดยรวมของ กบข.เพิ่มขึ้นจนแทบจะเรียกว่าหาที่ลงทุนไม่ได้ทีเดียว แม้ว่าในส่วนหนึ่ง กบข. จะต้องคืนเงินให้กับข้าราชการที่เกษียณอายุก็ตามที
วิสิฐว่าเพราะสินทรัพย์ที่เข้ามาทาง กบข. ไม่ได้มีทางเดียวคือสมาชิกใส่เงินเข้ามา แต่ยังเพิ่มขึ้นด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย ดังนั้นการจำกัดเม็ดเงินลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียวทำให้ กบข.มีความเสี่ยงมากเกินไป
"จนกระทั้งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เราถึงได้รับอนุญาตให้ออกไปลงทุนต่างประเทศได้ ที่สำคัญเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของการหาผลตอบแทนระยะยาวเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการด้านลงทุนของ กบข. และในอนาคตก็จะลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะทิ้งการลงทุนในไทย โดยเรายังให้น้ำหนักการลงทุนในไทย "
วิสิฐ เล่าอีกว่า แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องยุทธศาสตร์เพื่อนำ กบข.ไปสู่การเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของข้าราชการในแบบที่เป็นสากลมากขึ้น ซึ่งจะหมายถึงว่า กบข. จะพิจารณาการลงทุนในประเทศไทยแบบสายตากองทุนระดับโลกที่ปฏิบัติกันซึ่งการพิจารณาลงทุนในต่างประเทศก็จะเป็นเช่นเดียวกัน เพราะ "กบข." ต้องการก้าวไปข้างหน้าสู่การเป็น "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" เทียบชั้นสากลโลก
"สำหรับ กบข. ตอนนี้ถือได้ว่าเป็นกองทุน Pension Fund แถวหน้าของไทย ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องการเพิ่มมาตรฐานสู่ความเป็นสากล ด้วยการเทียบ Benchmark การดำเนินงานกับหน่วยงานชั้นนำอื่นๆ ของโลก ดังนั้นจะดูว่าการบริหารจัดการองค์กร การบริหารความเสี่ยง การให้บริการรูปแบบใดบ้างที่เรายังไม่มี เพื่อนำกลับมาปรับใช้กับองค์กร"
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า กบข. จะเดิมตามทุกย่างก้าว วิสิฐ บอกว่า กบข. เองก็มีในจุดที่เหมาะสมที่ควร อย่างการลงทุนในหุ้นหลายประเทศสามารถลงได้ถึง 50% ในขณะที่ กบข. จำกัดสัดส่วนไว้ที่ 30% เพราะถือว่ามีความปลอดภัยต่อการบริหารจัดการ
วิสิฐ อธิบายเพิ่มเติมว่า ประเทศที่เจริญอย่างออสเตรเลียหรือฮ่องกง Pension Fund สามารถลงทุนในหุ้นถึง 50% เพราะตลาดหุ้นของประเทศที่เจริญแล้วเสถียรภาพ ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศไทยที่แกว่งไปมารุนแรง บางปีสร้างผลตอบแทนได้ 100 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่บางปีติดลบ สภาพที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นไทยยังขาดเสถียรภาพ ดังนั้นเราในฐานะนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของไทย ที่ไม่อาจทิ้งการลงทุนในไทย จึงสมควรแล้วกับเกณฑ์ที่สามารถลงทุนในหุ้นได้ 30%
ส่วนการจัดพอร์ตกรอบการลงทุนหุ้น 30% นั้น เอาเข้าจริงก็ไม่ถึง มากสุดก็ 26% โดยจะกระจายลงทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศผสมกันไปเพื่อแสวงหาตลาดที่สร้างผลตอบแทนให้ดีที่สุด ส่วนตลาดตราสารหนี้ที่เป็นการลงทุนเสี่ยงต่ำสุดที่อดีตลงทุนถึง 70กว่า% ในอนาคตจะลดสัดส่วนการลงทุนเหลือ 58% เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้านทางเลือกอื่น ๆ และในอสังหาริมทรัพย์ อันนำมาสู่ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว
วิสิฐ กล่าวในท้ายว่า ที่สำคัญคือ กบข. เน้นการบริหารจัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง ความไม่โลภในการสร้างผลตอบแทน ด้วยการตั้งเกณฑ์เช่นราคาหุ้นขึ้นมาถึงจุดที่ต้องขายทำกำไร กบข. ก็จะขาย แม้ว่าหุ้นดังกล่าวจะมีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนเพิ่มก็ตาม แต่เพื่อเป็นการรักษาวินัย กบข.ต้องขายหุ้นดังกล่าวออก เพื่อทำกำไร
เพราะสิ่งสำคัญที่ "กบข." ยึดเหนี่ยวไว้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินและองค์กร คือกรอบและระเบียบวินัย ความโปร่งใสขององค์กร อันเชื่อว่าจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดให้สมาชิก...นั่นคือภาพที่ "วิสิฐ" เรียกว่า "Beautiful"
|
|
 |
|
|