Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536
"อรนุช พณิชากิจ กับมนตรีทรานสปอร์ต ยักษ์ใหญ่รับ-ส่งนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ"             
 

   
related stories

"ตลาดการศึกษานานาชาติลงทุนเพื่ออนาคตคนรุ่นใหม่"

   
search resources

มนตรีทรานสปอร์ต
อรนุช พณิชากิจ
International School




"ธุรกิจของเราเริ่มต้นจากศูนย์" อรนุช พณิชากิจ ประธานบริษัทมนตรีทรานสปอร์ต ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทรับส่งนักเรียนโรงเรียนนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศย้อนอดีตให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ปัจจุบันเป็นปีที่ 23 ของการดำเนินงานของมนตรีทรานสปอร์ต ซึ่งดูจะเป็นบริษัท ยักษ์ใหญ่การให้บริการด้านการรับส่งนักเรียนโรงเรียนนานาชาติไปเสียแล้ว ไม่เฉพาะโรงเรียนนานาชาติ ดั้งเดิมอย่างร่วมฤดีวิเทศศึกษา สถานศึกษานานาชาติ (ไอเอสบี) หรือสมาคมไทย-ญี่ปุ่นที่ใช้บริการมาโดยตลอด โรงเรียนมานาชาติที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งได้อย่างเสรีตั้งแต่ปี 2534 ก็ยังคงเรียกใช้บริการของมนตรีทรานสปอร์ตเช่นกัน ทั้งๆ ที่อัตราค่าบริการสูงกว่าบริษัทอื่นเกือบสามเท่าตัว

อัตราค่าบริการของมนตรีทรานสปอร์ต จะขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกลระหว่างบ้านและโรงเรียน เช่นที่ไอเอสบีซึ่งย้ายไปอยู่ที่ถนนสามัคคี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรีจะเก็บค่ารถระหว่างอัตราต่ำสุดปีละ 27,000 บาท ถึงอัตราสูงสุด 41,400 บาท ขณะที่โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษาซึ่งย้ายไปอยู่มีนบุรี ก็จะใช้ระบบการเหมาจ่ายค่ารถ คือคิดค่ารับ-ส่งถึงบ้าน 12,000 บาท แต่ถ้ารับ-ส่งเฉพาะสถานีเก็บ 10,000 บาทต่อปี ส่วนอัตราค่ารถรับ-ส่งนักเรียนของนานาชาติเซนต์จอนห์จะเก็บเทอมละ 7,000 บาทต่อปี แต่ที่ไอเอสทีหรือนานาชาติใหม่ที่อยู่สุขุมวิทซอย 15 จะเก็บค่ารถรับ-ส่งเป็นรายวันๆ ละ 150 บาท

แน่นอนว่าประสบการณ์ที่มีมานานกว่า 20 ปี ตลอดจนมาตรฐานระบบความปลอดภัยที่ดูเหมือนว่าจะเป็นจุดขายที่สำคัญของมนตรีทรานสปอร์ต ไม่ว่าจะเป็นเข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งทุกที่นั่ง หรือระบบวิทยุสื่อสารบนรถที่ผู้ปกครองสามารถติดต่อกับบุตรหลานได้ตลอดเวลา

"ทั้งเข็มขัดนิรภัยและวิทยุสื่อสารนั้นเราติดตั้งนานแล้ว…ก่อนที่ทางรัฐบาลจะประกาศบังคับใช้อีก" อรนุช กล่าวย้ำถึงการให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของบริษัทที่ไม่จำเป็นต้องให้ทางการบังคับแล้วถึงลงมือทำเหมือนกับบริษัทอื่นๆ ในปัจจุบัน

ชีวิตที่พลิกผันของอรนุช เริ่มขึ้นภายหลังจากจบการศึกษาในระดับ ม.ศ. 5 ความต้องการเรียนต่อด้านเลขานุการต้องมลายไป เนื่องจากครอบครัวประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ อรนุชในฐานะพี่สาวคนโตของน้องอีก 3 คน จึงต้องออกหางานทำด้วยเหตุผลที่ว่า

"ตอนนั้นคุณพ่อตกงาน…น้องทั้ง 3 คน ก็กำลังเรียนกันหมด เราจึงคิดให้น้องเรียนจบก่อนแล้วเราค่อยเรียนทีหลัง"

จริง ๆ แล้วอรนุชเป็นคนที่ 4 จากจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน แต่เนื่องจากพี่สาวทั้ง 3 คนได้แต่งงานไปหมดแล้ว อรนุชจึงเปรียบเหมือนพี่สาวคนโตของน้องชาย 1 คนคือ ณรงค์ พณิชากิจ และน้องสาว 2 คนคือ กนกวรรณ เล็กศิวิไล และอุไร พณิชากิจ

ด้วยวัยเพียง 18 ปี อรนุชได้เริ่มงานครั้งแรกในแผนกซักรีดที่แกรนด์โฮเต็ล แถวสุขุมวิท ซึ่งเป็นโรงแรมที่ตั้งขึ้นเฉพาะทหารอเมริกัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เกิดสงครามเวียดนามในปี 2507-2517 และประเทศไทยถูกใช้เป็นฐานทัพของทหารอเมริกัน

อรนุชต้องทนเหม็นกลิ่นเหงื่อจากเสื้อทหารอเมริกันนานนับปี ก่อนที่จะย้ายไปอยู่แผนก RECEPTIONIST ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เพียงการต้อนรับ แต่ยังรวมถึงเป็นพนักงานรับโทรศัพท์และแคชเชียร์ด้วย ซึ่ง ณ จุดนี้เองที่ทำให้อรนุชมีโอกาสทำธุรกิจติดต่องานในแวดวงทหารอเมริกันอันเป็นจุดเริ่มต้นของ "มนตรีทรานสปอร์ต"

"เพื่อนๆ ที่อยู่จัสแม็ก (JUSMAG) เขามาถามว่าสนใจไหมธุรกิจนี้ เพราะทหารอเมริกันกำลังจะกลับประเทศเขาแล้ว จะให้เราไปสวมรอยต่อ…เราก็โอเค ทำก็ทำ" อรนุชเล่าถึงความเป็นมาของบริษัทที่ให้บริการรับส่งนักเรียนโรงเรียนร่วมฤดี ซึ่งเป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย แทนทหารอเมริกันที่อยู่ในช่วงถอนกำลังเนื่องจากเป็นช่วงปลาย สงครามเวียดนามหรือราวปี 2513

คงไม่ผิดหากกล่าวว่า อรนุชเป็นตัวอย่างของผู้หญิงทำงานคนหนึ่งที่สามารถสร้างธุรกิจขึ้นจากภาวะสงครามเวียดนาม ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างไปจากธุรกิจผับ-บาร์ หรือวัฒนธรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบตะวันตกที่เริ่มเข้ามาแพร่หลายในช่วงเวลาดังกล่าว

แม้อรนุชจะไม่ได้เริ่มต้นทำธุรกิจบริการรับส่งนักเรียนด้วยใจรัก แต่ความตั้งใจจริงในการทำงาน ตลอดจนการขยายตัวของจำนวนโรงเรียนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2534 ที่รัฐบาลมีนโยบายให้เปิดโรงเรียนนานาชาติได้โดยเสรีและเพิ่มโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าศึกษาได้ ส่งผลให้กิจการของมนตรีทรานสปอร์ตขยายตัวแบบก้าวกระโดดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอย่างเด่นชัด

รายได้ที่หมุนเวียนเข้าบริษัท เพิ่มขึ้นจากระดับไม่เกิน 10 ล้านบาท ในช่วงก่อนปี 2534 เป็น 35.9 ล้านบาท และ 62.6 ล้านบาท ในปี 2534 และ 2535 ตามลำดับ หรือจำนวนรายได้ภายหลังปี 2535 เพิ่มขึ้นกว่า 300%-400% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ขณะที่กำไรสุทธิต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากไม่เกิน 40 บาทในช่วงก่อนปี 2534 เป็น 99 บาท และ 97.85 บาทในปี 2534 และ 2535 ตามลำดับ

ปัจจุบันมนตรีทรานสปอร์ตรับส่งนักเรียนโรงเรียนนานาชาติจำนวน 7 แห่ง คือ ร่วมฤดีวิเทศศึกษา สถานศึกษานานาชาติหรือที่รู้จักกันดีในนามของ "ไอเอสบี" ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด สมาคมไทย-ญี่ปุ่น เซนต์จอห์น สถานศึกษานานาชาติแห่งใหม่ สวิส และไอซีเอฟขณะที่บางกอกพัฒนาเพิ่งยกเลิกใช้บริการในเดือนกันยายน 2535 ที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ใช้บริการมานาน เกือบ 20 ปี เพราะคณะกรรมการชุดใหม่ของโรงเรียนเห็นว่าราคาสูงเกินไปโดยทางโรงเรียนจัดให้บริการเอง

หลังจากบริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น อรนุชก็เริ่มวางมือในราวปี 2533 โดยทำหน้าที่ประธานของบริษัทที่คอยให้คำปรึกษาเท่านั้น โดยให้น้องเข้ามามีบทบาทเป็นผู้บริหารระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นณรงค์ พณิชากิจ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการ กนกวรรณ เล็กศิวิไล เป็นรองผู้อำนวยการ

กล่าวได้ว่าทั้งณรงค์และกนกวรรณเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงแม้ทั้งคู่จะสำเร็จการศึกษาทางด้านเภสัช แต่ณรงค์ก็มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากการทำงานที่บริษัทเบอร์ลินอยู่หลายปี รวมทั้งเข้าเรียนในหลักสูตร เอ็กซ์-เอ็มบีเอที่ธรรมศาสตร์ ขณะที่กนกวรรณจบการศึกษาด้านเภสัชเช่นกัน แต่เข้าเรียนในหลักสูตรเอ็มไอเอ็มที่ธรรมศาสตร์

อรนุชค่อนข้างเชื่อมั่นในฝีมือการบริหารของน้องทั้ง 2 คนเป็นอย่างดี ดังคำกล่าวที่ว่า "ทั้งสองคนช่วยให้การทำงานของบริษัทมีความเป็นระบบมากขึ้น…ทุกๆ วันเสาร์เราจะมีการประชุมพนักงาน และจะมีการออกตรวจงานหรือพบลูกน้องตามโรงเรียนต่างๆ ด้วย เพื่อสร้างบรรยากาศใกล้ชิดและความเป็นกันเอง"

ไม่เฉพาะด้านธุรกิจที่อรนุชไม่เคยปล่อยโอกาสให้ผ่านไปการศึกษาก็เช่นกัน อรนุชเข้าศึกษาต่อทางด้านการบริหารในหลักสูตรมินิเอ็มบีเอที่ธรรมศาสตร์จนจบเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ปัจจุบันกำลังเรียนทางด้านนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตและออกช่วยทำงานที่เกี่ยวกับสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประธานโครงการรักสิ่งแวดล้อมเขตบึงกุ่ม หรือที่ปรึกษาของ พอ.วินัย สมพงษ์ รมต.ว่าการคมนาคมในปัจจุบัน

"มันเป็นสิ่งที่เราวางไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เมื่อธุรกิจเราเริ่มอยู่ตัว…เราจะทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น" อรนุชกล่าวทิ้งท้ายกับ "ผู้จัดการ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us