Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536
"สุเมธ อินทมระ กับเฟอร์นิเจอร์งานศิลป์"             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกัน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย)

   
search resources

เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกัน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย), บมจ.
ธนัยพัฒน์ กรุ๊ป
สุเมธ อินทามระ
Sanitary Wares




สุเมธ อินทามระ หากเป็นผู้อยู่ในแวดวงตลาดสุขภัณฑ์ในช่วง 10 ปีที่แล้ว จะจำได้ถึงความเป็นขุนทัพของค่ายอเมริกันสแตนดาร์ดของบุรุษหนุ่มผู้นี้ที่ได้แย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด จนผลักดันให้ค่ายอเมริกันสแตนดาร์ด เป็นผู้นำในตลาดสินค้านี้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยความเป็นผู้ใฝ่รู้และศึกษากลยุทธ์แนวทางการตลาดอยู่ตลอดเวลา ผลงานครั้งอยู่ที่อเมริกันสแตนดาร์ด ที่มีส่วนผลักดันให้มีการผลิตสุขภัณฑ์หลายๆ รูปแบบ รวมทั้งการบรรจุเทคโนโลยี่ชั้นสูงเข้าไปในสุขภัณฑ์บางรุ่นเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นรากฐานประการสำคัญในการค้นหาสูตรผสมที่ลงตัวในอาชีพของสุเมธในอนาคต

ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ครั้งอยู่ที่อเมริกันสแตนดาร์ดแห่งนี้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสุเมธในกาลต่อไปคือ การมีส่วนร่วมในการวางแผนตอบโต้กลยุทธ์ของค่ายตรงจ้ามไม่ว่าจะเป็นค่ายปูนซิเมนต์ไทยหรือปูนซิเมนต์นครหลวงที่ใช้วิธี "PACKAGING" หรือการขายครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นปูนซิเมนต์ เหล็กเส้น กระเบื้อง หลังคา รวมถึงสุขภัณฑ์ เพื่อลดส่วนแบ่งของค่ายอเมริกันสแตนดาร์ดลง ทางฝ่ายอเมริกันสแตนดาร์ดก็ใช้กลยุทธ์ตอบโต้โดยพยายามชูประเด็นเรื่องคุณภาพ และภาพพจน์ของสินค้าผ่านสื่อโฆษณาทั้งหนังสือพิมพ์ และโทรทัศนือย่างเต็มที่ ทำให้สามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้

แต่จากจุดนี้ไปก่อปฏิกริยาสำคัญที่ทำให้สุเมธได้คิดว่าเขาเริ่มไม่สนุกเสียแล้วกับสงครามการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงเช่นนี้ เมื่อได้รับการทาบทามจากกลุ่มธนัยพัฒน์ซึ่งกำลังพัฒนาโครงการธนิยะพลาซ่าและต้องการมือการตลาดเข้าไปช่วยบริหารงาน สุเมธจึงหวังจะไปทดสอบประสบการณ์ที่สั่งสมมาในบรรยากาศอื่นดูบ้าง แต่การก้าวเข้ามานั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนิยะพลาซ่าแห่งนี้ สุเมธทราบดีว่าไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ตนเองหวังเอาไว้ แต่จะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่จะทำให้ตนเองค้นพบแก้วผลึกที่ตนเองค้นหามานานมากว่า

โดยกลุ่มธันยพัฒน์ได้เปิดโอกาสให้สุเมธได้ทำในสิ่งที่ตนเองใฝ่ฝันมานาน นั่นคือธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ระดับบน ที่สุเมธได้ใช้เวลาศึกษาและเข้าไปคลุกคลีกับตลาดเฟอร์นิเจอร์ทั้งระดับบนและระดับกลางอยู่กว่า 3 ปี แม้ว่าจะจบมาทางด้านเอ็มบีเอ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับการออกแบบภายใน รวมถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วยมือหรือ HAND MADE นั้นว่าเขาทำกันอย่างไรก็ตาม แต่สุเมธก็มีความรู้สึกเชื่อมั่นอีกว่า นี่แหละคือก้อนผลึกของอาชีพที่รอการตกบ่มมาเป็นเวลานานของเขา

ด้วยแนวความคิดทางด้านกลยุทธ์ สำหรับตลาดเฟอร์นิเจอร์ระดับสูงที่ผิดแผกไปจากตลาดสุขภัณฑ์ที่ไม่ต้องใช้วิธีส่งเสริมการขาย และอัดฉีดโฆษณาอย่างบ้าระห่ำ แต่หันมาเน้นที่ตัวสินค้า ความพิถีพิถันในการหาเนื้อไม้ที่ดีที่สุดมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์แต่ละชุด หรือแม้แต่ความวิจิตรบรรจงที่จะสลักเสลาลวดลายลงไปในเนื้อไม้ เพื่อก่อให้เกิดงานศิลป์ที่มีคุณค่ามากกว่าคำว่า "เฟอร์นิเจอร์" นั้น เป็นสิ่งที่คุ้มค่าเป็นอย่างมากสำหรับการรอคอยครั้งนี้ และแล้ว "ลาคาซ่า" บริษัทผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์ระดับสูงจากต่างประเทศก็ได้ฤกษ์เกิดขึ้นที่ชั้นล่างของอาคารธนิยะพลาซ่า และเร็วๆ นี้ก็จะได้ขยับขยายไปเปิดสาขาอีกแห่งที่ถนนศรีนครินทร์

"ความท้าทายของตลาดเฟอร์นิเจอร์ระดับบนนั้นไม่ใช่เกิดจากความมุ่งหวังที่จะทำยอดขายให้มาก ๆ แต่เป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผมที่จะผสมผสานความใฝ่ฝัน ที่จะทำอาชีพเกี่ยวกับการเพิ่มคุณค่าของชีวิตที่คิดมานานแล้วกับประสบการณ์ทางด้านตลาดที่สั่งสมมานานพอสมควร นั่นก็คือ ผมอยากจะเข้าไปทำตลาดที่ไม่ต้องมีการแข่งขันที่สูงมาก และสามารถเข้าไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าทางด้านงานศิลป์ และยกระดับชีวิตของผู้ใช้ไปในตัวด้วย"

ด้วยเหตุที่เพิ่งจะเข้ามาจับตลาดสินค้าประเภทนี้เป็นครั้งแรก การลองผิดลองถูกเพื่อจะเข้าไปนั่งในใจของลูกค้า จึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยสุเมธต้องลงไปคอยต้อนรับไต่ถามความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด และเพื่อสนองตอบความต้องการดังกล่าวจึงต้องไปตลุยเสาะหาแหล่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับบนทั่วโลกที่มีคุณภาพดีเยี่ยม และก็ค้นพบว่า อิตาลี เสปน เป็นแห่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับบนที่เหมาะสมที่สุด เพราะความสามารถของช่างศิลป์ผู้สร้างสรรค์งานเฟอร์นิเจอร์ ยังดำรงวิธีการผลิตดั้งเดิมด้วยมืออย่างเหนียวแน่น

"แต่ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ว่าเราเข้าใจวิธีการทำตลาดและส่งเสริมการขายเฟอร์นิเจอร์ระดับบนเช่นนี้หรือไม่ เพราะตลาดสินค้าประเภทนี้จะต้องอาศัยวิธีส่งเสริมการขายด้วยวิธีปากต่อปาก และค่อยๆ สร้างเสริมภาพพจน์สินค้าขึ้นไปเรื่อยๆ " สุเมธกล่าว

ดังนั้นเป้าหมายในการทำตลาดเฟอร์นิเจอร์ระดับบนในช่วง แรกๆ หลังจากเปิดกิจการมาได้กว่าปีจึงไม่ใช่เรื่องที่สุเมธใส่ใจมากนัก อย่างไรก็ตามด้วยตัวเลขลูกค้าช่วงแรกๆ ซึ่งมีเพียง 4-5 รายต่อเดือนจนกระทั่งมาเป็นกว่า 10 รายในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้สุเมธมีความหวังว่าตลาดนี้ยังไปได้อีกไกล แม้ว่าจะมีมูลค่าตลาดเพียง 1% ของตลาดเฟอร์นิเจอร์ทั้งระบบเท่านั้น

ความใฝ่ฝันของสุเมธ ที่จะหาสูตรผสมของตนเองนั้น ณ วันนี้เป็นเพียงครึ่งทางเท่านั้น เพราะความใฝ่ฝันของเขายังหวังต่อไปว่า จะผลักดันให้ช่างศิลป์ของไทยสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับสูงเช่นนี้ ออกไปให้คนทั่วโลกได้ดูบ้าง

นอกจากนั้นแล้ว ความคิดที่จะเข้าไปตลาดสินค้าที่จะเพิ่มคุณค่าชีวิตตัวอื่น ก็ยังคงหลั่งไหลออกมาตลอดเวลาเพียงรอดูจังหวะ และโอกาสว่าจะลงไปทำตลาดในตัวใดดีเท่านั้น

"ผมเชื่อมั่นว่าชีวิตของคนไทยในช่วงอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะคนที่ค่อนข้างมีฐานะดีนั้น จะเป็น FAMILYMAN กันมากขึ้น เพราะการงานที่ต้องแข่งขันสูงขึ้น ความเครียดที่ต้องอยู่บนท้องถนนเนื่องจากการจราจรที่ติดขัดเหล่านี้จะทำให้คนระดับนี้ต้องไขว่คว้าหาซื้อสิ่งต่างๆ มาปรนเปรอความสุขภายในบ้านเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นงานศิลป์ด้วยน่าจะเป็นทางออกที่ลงตัวได้" สุเมธกล่าวในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us