|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ฟิทช์ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของ TCAP-TBANK เป็นลบ ชี้ปี 50 ผู้ประกอบการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น อาจกระทบความสามรถในการทำกำไร และอัตราการเติบโตของสินเชื่อพร้อมประกาศคงอันดับเครดิตผู้ประกอบการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์รายใหญ่รายอื่นๆทั้ง"ทิสโก้-เกียรตินาคินและไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง"
รายงานข่าวจาก บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) แจ้งว่าบริษัทได้ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (TCAP) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของ TCAP เป็นลบ จากเดิมที่แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ แต่ยังคงอันดับเครดิตของทั้ง TCAP และ KBANK ไว้ที่ระดับเดิมอยู่ พร้อมกันนี้ ฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตของผู้ประกอบการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์รายใหญ่รายอื่นๆด้วย
โดย TCAP มีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A-(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2(tha) และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ 5 ส่วน TBANK มีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A-(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2(tha) อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ D และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ 5
สำหรับผู้ประกอบการรายอื่น ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (TISCO)มีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F1(tha) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (KK)มีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ BBB+(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F2 (tha) และบริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (SCBL) มีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F1(tha)
ทั้งนี้ การทบทวนอันดับเครดิตนี้สืบเนื่องมาจากผู้ประกอบการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 4 รายหลักนี้ จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอลงอีกในปี 2550 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการบางราย อัตราการเจริญเติบโตของสินเชื่อได้ถูกคาดการณ์ว่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับต้นทุนการปล่อยสินเชื่อและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งการแข่งขันที่สูง อัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยน่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ จากการที่มีการปล่อยสินเชื่อในเชิงรุกรวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการผ่อนปรนมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญ เช่นการวางเงินมัดจำที่ต่ำลงและระยะเวลาในการปล่อยกู้ที่ยาวขึ้น อาจส่งผลให้ต้องมีการกันสำรองที่สูงขึ้น เนื่องจากหนี้เสียที่อาจสูงขึ้น
ขณะที่การดำเนินงานของ TCAP และ TBANK เป็นผู้ประกอบการซึ่งดำเนินการในเชิงรุกมากที่สุด โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา และมีอัตราการเจริญเติบโตของลูกหนี้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30.4% ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับ 18.4% ต่อปี ของ TISCO อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของ TCAP และ TBANK ดูเหมือนจะอยู่ในระดับที่อ่อนแอที่สุด สาเหตุหลักเนื่องมาจากการเป็นผู้นำในการแข่งขันด้านราคา ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนที่เกิดจากการขยายสาขาเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของ TCAP และ TBANK สะท้อนถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรที่ถดถอยลง สถานะเงินกองทุนที่อ่อนแอลง และความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทมีนโยบายในเชิงรุก
ส่วนอันดับเครดิตของ KK ได้สะท้อนถึงความอ่อนไหวของธนาคารต่อแรงกดดันต่อคุณภาพสินทรัพย์ในอนาคต อันเนื่องมาจากการที่มีการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่สูง คือคิดเป็นประมาณ 30% ของลูกหนี้ทั้งหมดของ KK และสภาวะการดำเนินธุรกิจที่อ่อนแอลง แม้ว่าความเสี่ยงต่างๆนี้ได้ถูกลดทอนลงบางส่วนจาก
การที่ KK มีอัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและมีสถานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง
ด้านอันดับเครดิตของ TISCO สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไร คุณภาพสินทรัพย์ และฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งของธนาคาร รวมทั้งการบริหารจัดการที่ระมัดระวังกว่าผู้ประกอบการรายอื่น แนวโน้มอันดับเครดิตของ TISCO มีเสถียรภาพ เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการทำกำไรและคุณภาพสินทรัพย์ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับเดิม แม้สภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานจะอ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม การลดลงอย่างมากของอัตราเงินกองทุนของธนาคารอาจก่อให้เกิดแรงกดดันในเชิงลบต่ออันดับเครดิตของธนาคารในระยะปานกลางได้
และอันดับเครดิตของ SCBL มีพื้นฐานมาจากการสนับสนุนของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (“SCB” ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA(tha)’) ใน
ฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นหลัก แผนการดำเนินงานของ SCB ที่จะเพิ่มขนาดสินทรัพย์ของ SCBL ในปี 2550 นั้นอาจเพิ่มแรงกดดันต่อผลกำไรและมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อของทั้งอุตสาหกรรม
|
|
|
|
|