Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536
"สจฟ…ภารกิจใหม่ของการไฟฟ้า"             
 


   
www resources

โฮมเพจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สำนักงานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า - สจฟ.
สุวิทย์ ศิริสุวรรณชน
Electricity




สำนักงานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าหรือในชื่อย่อว่า สจฟ. เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยขึ้นตรงต่อคณะอนุกรรมการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีสมบูรณ์ มณีนาวา ผู้ว่าการการไฟฟ้าฯ เป็นประธาน

"ภารกิจเดิมของกฟผ.ก็คือ การสร้างและผลิตไฟฟ้าแต่ตอนนี้เรามีหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้นมาคือ รณรงค์ในเรื่องของการประหยัดไฟฟ้า เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ" สุวิทย์ ศิริสุวรรณชน ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (สจฟ.) พูดถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานนี้

ตัวเลขของการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น กฟผ.ระบุว่าหากการใช้ไฟฟ้าของคนไทยยังอยู่ในระดับปัจจุบัน ปริมาณของความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1 พันเมกะวัตต์ ซึ่งหมายความว่า กฟผ.จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ซึ่งมีกำลังการผลิต 300 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับขนาดของโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะประมาณปีละ 3-4 โรง

ฟังๆ ดูแล้ว ไม่ได้เป็นเรื่องเล็ก ๆ เลย เพราะการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละโรงในปัจจุบัน เป็นเรื่องยากมาก เพราะมีข้อจำกัดหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อเพลิงหรือด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเรื่องใหญ่ในปัจจุบัน

"เราเชื่อว่านโยบายของสำนักงานจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (สจฟ.) จะทำให้มีการประหยัดไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 300 เมกะวัตต์" สุวิทย์กล่าวถึงตัวเลขเป้าหมาย

นั่นหมายความว่า หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานที่สจฟ.วาดเอาไว้แล้ว ในปี 2541 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า กฟผ.จะประหยัดเงินลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าประมาณ 10,000 ล้านบาทประหยัดค่าเชื้อเพลิงประมาณ 640 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าได้ประมาณ 1 ล้านตัน !!!

ที่สำคัญก็คือ การไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มนั้นเป็นการลดกระแสการต่อต้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวด้านอนุรักษ์ธรรมชาติในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการต่อต้านการสร้างเขื่อนหรือการสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับมาตรการประหยัดไฟนโยบายแรกที่สจฟ.เริ่มก็คือโครงการประชาร่วมใจใช้หลอดประหยัดไฟฟ้า ซึ่งได้มีการลงนามทำข้อตกลงระหว่าง กฟผ.กับผู้ผลิตหลอดไฟฟ้ารายใหญ่ในประเทศ 5 รายคือ ไทยโตชิบาไลท์ติ้ง ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย) สยามทรีนิตี้อินเตอร์เทรด เอเซียอุตสาหกรรมหลอดไฟฟ้าและล.กิจเจริญแสง ในการที่ทั้ง 5 บริษัทนี้จะเลิกผลิตหลอดไฟฟ้าแบบเดิมซึ่งกินไฟขนาด 20 และ 40 วัตต์ หลังจากวันที่ 19 ธันวาคม 2539 และหันมาผลิตเฉพาะหลอดไฟฟ้าประหยัดไฟขนาด 18 และ 36 วัตต์ ซึ่งกินไฟน้อยลงแต่ให้ความสว่างเท่าเดิมแทนโดยที่ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ อมก.ของกระทรวงอุตสาหกรรมก็จะเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของหลอดไฟฟ้าใหม่ ด้วยการออกเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือมาตรฐาน อมก. ให้กับหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดไฟนี้ และยกเลิก อมก.ที่ให้กับหลอดแบบเดิมเสีย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้หลอดประหยัดไฟนี้แทน

"เป็นการนำการตลาดมาช่วยในการรณรงค์การประหยัดไฟ" สุวิทย์พูดถึงกลยุทธ์หลักในการรณรงค์ครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการด้านการประหยัดไฟชิ้นแรกที่ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง และน่าจะมีผลในทางปฏิบัติ เพราะว่าสามารถดึงผู้ผลิตที่ครอบครองตลาดในประเทศเกือบทั้งหมดเข้ามาร่วมได้

ปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย อยู่ในจุดที่มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยประมาณหน่วยละ 1.80 บาท ซึ่งหากเพิ่มการผลิตจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นกว่าเดิม อันจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าทุกอย่างสูงขึ้นหากการใช้ไฟฟ้าไม่เป็นไปอย่างระมัดระวัง

"เรื่องค่าไฟนี่เป็นรื่องสำคัญของการลงทุนอุตสาหกรรม" สุวิทย์กล่าว พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่า ระหว่างอเมริกากับญี่ปุ่น ในการหาเงิน 1 ดอลล่าร์ อเมริกาจะใช้เชื้อเพลิงสูงกว่าญี่ปุ่นถึง 2 เท่าตัว

ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าเพียงรายเดียวในประเทศ กฟผ.จึงต้องลงมาทำกิจกรรมนี้

หลังจากจบการรณรงค์ใช้หลอดไฟฟ้า โครงการรณรงค์ประหยัดไฟต่อไปก็จะหันมาแนะนำในเรื่องการใช้เครื่องไฟฟ้าตัวอื่น คือตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นอันดับต่อไป

การดำเนินโครงการให้มีการประหยัดไฟของกฟผ.โดยผ่านบทบาทของสำนักงานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าในครั้งนี้ คือความพยายามสร้างภาพพจน์ใหม่ของการไฟฟ้าฯ ให้เห็นว่า ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จนจะทำอะไรแต่ละทีก็ถูกจับตาดูจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมว่าจะทำลายสมดุลทางนิเวศวิทยากันอีกแล้วหรือ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us