Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536
"จุฬาลิเนท ห้องสมุดอิเลคทรอนิคส์ แห่งแรกในประเทศไทย"             
 


   
www resources

โอมเพจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   
search resources

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประจักษ์ พุ่มวิเศษ
Computer




และแล้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลที่กระจัดการจายตามห้องสมุดคณะ หรือสถาบันวิจัยต่างๆ รวมกว่า 20 แห่ง หลังจากใช้เวลาดำเนินการมากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ภายใต้โครงการที่ชื่อ "จุฬาลิเนท (CHULALINET)"

CHULALINET ย่อมาจาก CHULALONGKORN UNIVERSITY LIBRARY NETWORK เป็นชื่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้หมด ระหว่างห้องสมุดต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นระบบที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศนิยมใช้นานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฮ่องกง ขณะที่จุฬาฯเป็นแนวคิดของผู้บริหารระดับสูงหลายท่านในขณะนั้นที่สำคัญคือ ศ.นพเกษม สุวรรณกุล ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลาและศ.สัตวแพทย์ ระบิล รัตนพานี ที่เห็นว่าระบบห้องสมุดนั้นยังไม่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาหรือการทำงานวิจัยของนักวิชาการ

"เพียงคุณกดแป้นคอมพิวเตอร์ก็จะทราบได้ทันทีว่าหนังสือที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใดและสามารถยืม-คืนผ่านเครื่องได้ทันที…ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น" ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวและว่า

"จุฬาลิเนทไม่เพียงช่วยลดการสูญเสียของเวลาแต่ยังช่วยลดอุปสรรคทางด้านข้อจำกัดของเวลาด้วย เพราะการค้นหาข้อมูลในห้องสมุดสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะหากมีเครื่องพีซีที่บ้านแล้วนำมาเชื่อมต่อกับระบบของมหาวิทยาลัย การทำงานวิจัยหรือการค้นคว้าก็สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องทั้งวัน"

จุฬาลิเนทไม่เพียงให้บริการข้อมูลจากหนังสือที่มีอยู่ทุกๆ เล่มในทุกๆ คณะทางด้านเนื้อหาโดยย่อ รวมทั้งการให้บริการติดต่อสื่อสารกันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิคส์เมลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น การขยายเครือข่ายเชื่อมโยงเข้ากับโครงการ THAINET (THAI ACADMEMIC LIBRARY NETWORK) และ PULINET (PROVINCIAL UNIVERSITY LIBRARY NETWORK) ซึ่งเป็นโครงการของทบวงมหาวิทยาลัย ที่จะเชื่อมโยงระบบห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศก็เป็นเป้าหมายต่อไปของโครงการจุฬาลิเนท

และเพื่อให้สอดคล้องกับยุคโลกานุวัตรในปัจจุบันจุฬาลิเนทได้เชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเตอร์เนท (INTERNET) ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายการสื่อสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมาชิกมากที่สุด คือประมาณ 20000 เครือข่ายทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า นักศึกษา นักวิชาการ จำนวนหลายล้านคนจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยต่างๆ ทั่วโลกจะสามารถติดต่อสื่อสารหรือใช้ข้อมูลด้านสารสนเทศร่วมกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ห้องสมุดจุฬาจะเป็นจุดผ่านเข้าออกหรือศูนย์กลางเครือข่ายอินเตอร์เนทในประเทศไทย ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงต่อกับชุดคอมพิวเตอร์ปลายทางกล่าวคือ หากผู้ใช้บริการจุฬาลิเนทต้องการใช้บริการของห้องสมุดในต่างประเทศนั้น จะต้องติดต่อมาที่ห้องสมุดอัตโนมัติของจุฬาลิเนท เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เนท และให้ระบบเทลเนท (TELNET) ซึ่งเป็นซอฟแวร์ประเภทหนึ่งเป็นประตูนำทางสู่การค้นหาข้อมูลในต่างประเทศที่ต้องการ

ประจักษ์กล่าวว่า "ส่วนใหญ่แล้วสมาชิกในเครือข่ายอินเตอร์เนทจะเปิดให้ใช้บริการด้านข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดกันอย่างทั่วถึง แต่ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถอ่านเนื้อหาของหนังสือได้ทุกๆ เล่มที่มีอยู่ในห้องสมุดต่างประเทศ…คงเป็นเฉพาะหนังสือที่เราคิดว่าได้รับความนิยมหรือหาอ่านได้ยากในประเทศเราเป็นสำคัญ"

แม้ว่าทางจุฬาฯ จะต้องเสียค่าเช่าดาวเทียมของการสื่อสารสำหรับการใช้ระบบอินเตอร์เนทในอัตราเหมาจ่ายประมาณปีละ 4.3 ล้านบาท แต่หากเทียบกับค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ต้องสูญเสียไปในการเดินทางแต่ละครั้งแล้ว ก็นับว่าคุ้นค่ายิ่งอย่างไรก็ตามระบบอินเตอร์เนท ที่ทางจุฬาเปิดให้บริการมานานกว่า 2 ปีนั้นก็ยังไม่ได้คิดค่าบริการแต่อย่างไร

"ผมดีใจมาก…มันเหมือนกับความฝันที่กลายเป็นความจริง" ประจักษ์ในฐานะผู้อำนวยการวิทยบริการศึกษาที่รับผิดชอบดูแลโครงการจุฬาลิเนทมาตั้งแต่เริ่มแรก กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แม้ประจักษ์จะสำเร็จการศึกษาทางด้านสัตวแพทย์จากจุฬาฯ และเป็นอาจารย์ประจำที่คณะ แต่เขาก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการจุฬาลิเนทมาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้เพราะเขาเป็นผู้หนึ่งที่สนใจพัฒนางานทางด้านห้องสมุดมานานกว่า 20 ปี ประสบการณ์ที่เขาได้จากการใช้ฐานข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์จากอังกฤษไปอเมริกา ขณะที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศในช่วงปี 2515 มีส่วนสำคัญที่ทำให้เขาสนใจพัฒนาระบบห้องสมุด

การเซ็นสัญญาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ระหว่างจุฬาฯ กับบริษัทดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัดเมื่อต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมาถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเครื่องขนาดมินิรุ่น DEC 3000 MODEL 500 S AXP SERVICES ขนาด 64 BITS ความเร็ว 150 MHs กระจายติดตั้งตามจุดต่างๆ จำนวน 110 เครื่อง ขณะที่ซอฟแวร์ที่ใช้ ชื่อ INNOPAC SOFTWARE ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่นิยมใช้กันมากในห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกด้วยงบประมาณกว่า 28.5 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us