|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บาทยังวิกฤต ล่าสุดแข็งค่ามาอยู่ที่ 34.83 บาทต่อดอลลาร์ "อัจนา" อ้างเหตุผลเดิม ผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์ โชว์ฉลาด บอกเป็นโอกาสทองของผู้นำเข้า สั่งคลัง-รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบและก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ สศค.เผยวันนี้จะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กรรมการขับเคลื่อน "ธาริษา" งัวเงียส่งสัญญาณ กนง.พร้อมลดดอกเบี้ยรวดเดียว 0.5% เผยอนุญาตให้หญิงอ้อขน 400 ล้านออกแล้ว ขณะที่ ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจ เอกชนถอดใจ คาดจีดีพีลดเหลือเพียง 3-3.5%
ค่าเงินบาทวานนี้ (19 มี.ค.) นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ปิดตลาดที่ 34.83/85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 34.89/90 บาท/ดอลลาร์ ในระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 34.83 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 34.90 บาท/ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าลงจาก 117.20 เยน/ดอลลาร์ ในช่วงเช้ามาเป็น 117.50 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่เงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลงจาก 1.3300 ดอลลาร์/ยูโร มาเป็น 1.3285 ดอลลาร์/ยูโร ทั้งนี้ วันที่ 20 มี.ค.ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีการประชุม คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม 0.5% เนื่องจากผู้ว่าการของ BOJ ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
"วันนี้ (20 มี.ค.) คาดว่า ค่าเงินบาทจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 34.75-34.90 บาท/ดอลลาร์ โดยมองว่าเงินบาทจะยังแข็งค่าขึ้น เนื่องจากไม่มีปัจจัยใดๆ ที่จะทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้ในช่วงนี้"
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเหมาะสำหรับนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขยายกำลังการผลิตภาคธุรกิจให้มากขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยยังไม่ดีมากนัก ขณะเดียวกันแม้กำลังการผลิตจะสูงในปัจจุบัน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งด้วยปัจจัยเหล่านี้เหมาะสำหรับลงทุนให้เกิดขึ้นทันที อีกทั้งปัจจัยจากการแข่งขันของอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศจีนด้วย
ดังนั้น ขณะที่นโยบายการเงินที่ ธปท.ดูแลมีการผ่อนคลายมากขึ้น ภาครัฐจึงควรมีนโยบายการลงทุนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนโยบายการคลังควรมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและรัฐบาลควรเร่งก่อสร้างโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ภาครัฐควรกระตุ้นออกมาให้มาก
นางอัจนากล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ เพราะผู้ส่งออกมีการเทขายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นรายได้จากการค้าขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้ ธปท.คงจะเข้าไปห้ามผู้ส่งออกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเชิงธุรกิจของผู้ส่งออกแต่ละรายเอง แต่ ธปท.ก็ได้กำชับให้ดูให้ดี เพราะการใช้วิธีป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยเต็มจำนวน (fully hedge) ไม่ได้แตกต่างกับวิธีกันสำรอง30% และผลของมาตรการนี้ก็ช่วยดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้ส่งออกจะมีความเข้าใจและทำการหยุดการซื้อขายเอง เพราะมันมีกลไกของมันอยู่ เช่น มีการนำเงินตราต่างประเทศไปชำระหนี้ต่างประเทศ ถือเป็นการหักล้างกันได้
รายงานข่าวระบุว่า เมื่อพิจารณาความสามารถในการแข่งขันของไทยเทียบกับประเทศคู่ค้าทั้ง 21 ประเทศ พบว่า การที่ประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงตาม โดยจากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ซึ่งแสดงถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเทียบกับปัจจุบัน ปรากฏว่า ดัชนีค่าเงินบาทแตะที่ระดับ 77.36 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 72.02 หรือหากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของดัชนีค่าเงินบาทอยู่ที่ 7.41%ขณะที่ดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (REER) ซึ่งมีการนำระดับราคาสินค้าในแต่ละประเทศมาเข้ามาพิจารณาด้วย แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันของไทยเทียบกับ 21 ประเทศ ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 2550 อยู่ที่ระดับ 88.92 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 81.40 ถือว่าความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือหากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของดัชนีค่าเงินที่แท้จริงอยู่ที่ 9.24%
คลังเด้งรับเข้าทาง "อัจนา"
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.กำลังศึกษาแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม พิจารณาในวันนี้ (20 มี.ค.) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นมาตรการนอกเหนือจากการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ
ธปท.ส่งซิกยอมลดดอกเบี้ย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องเรียกประชุม กนง.นัดพิเศษ อย่างไรก็ตาม การพิจาณาปรับอัตราดอกเบี้ยก็เหมือนกับที่นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว แต่ควรให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่
“หากเราเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์คณะกรรมการอิสระ ซึ่งมีคณะกรรมการบางคนที่ได้เชิญบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาอยู่ในทีมด้วย ถือเป็นการก้าวก่ายการตัดสินใจของคณะกรรมการชุดนี้ การประชุมคณะกรรมการ กนง.ไม่เคยมีการล็อบบี้กันมาก่อน ฉะนั้นจะลดหรือขึ้นดอกเบี้ย กนง.จะดูข้อมูลแล้วพิจารณาตามดุลพินิจของแต่ละคนเป็นสำคัญ”
ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ธปท.เคยปรับขึ้นและลดลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 0.5% มาแล้ว ดังนั้น เป็นไปได้หมดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และข้อมูลตัวเลขด้านต่างๆ ของเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ อย่างไรก็ตามในขณะนี้อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลงเรื่อยๆ
ยอมหญิงอ้อโอนเงินออกนอก
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปท.ได้อนุมัติให้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สามารถขนเงินออกนอกประเทศจำนวนประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์เรียบร้อยแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยื่นเรื่องผ่านธนาคารพาณิชย์มาขออนุญาต ธปท.
“เหตุผลที่แบงก์ชาติอนุมัติให้สามารถดำเนินการขนเงินจำนวน 400 ล้านบาทให้แก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) รวมทั้งฝ่ายคดีของแบงก์ชาติก็ได้พิจารณาแล้วว่าไม่ติดข้อกฎหมายเช่นกัน จึงได้อนุมัติไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว”
สำหรับขั้นตอนต่อไป ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อเข้ามาจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เสนอขอนำเงินออกไปจริงหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รายนั้นยังออกเอกสารให้ เพราะเชื่อว่ายังอยู่ในขั้นตอนดังกล่าวอยู่
สำหรับประเด็นคำถามที่ว่าเกรงไหมว่าจะเกิดปัญหาหรือข้อร้องเรียนภายหลัง เมื่อธปท.อนุมัติไปแล้ว ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้พิจารณาทุกด้านแล้ว ซึ่งทุกฝ่ายก็ระบุว่าสามารถทำได้ อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าว โดยหลักการแล้วจะมีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาที่ชัดเจน ฉะนั้น ธปท.ต้องทำตามกรอบระยะเวลาที่ระบุไว้ด้วย
ภาคเอกชนทำใจเชื่อจีดีพีวูบ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบที่นักธุรกิจได้รับจากอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และเหตุการณ์ระเบิด ที่สำรวจจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ 800 ราย ระหว่างวันที่ 7-16 มี.ค.2550 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 53.7% ระบุว่าการไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองจะกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจเป็นอันดับแรก ขณะที่ปัจจัยที่กระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 คือ เหตุระเบิด ตามด้วยราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย แต่ปัจจัยที่กระทบต่อธุรกิจเป็นอันดับ 2 คือ ราคาน้ำมัน ตามด้วยอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และเหตุระเบิด
ส่วนสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขเป็นอันดับแรก คือ เสถียรภาพทางการเมือง เพราะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ และต่างชาติขาดความมั่นใจ ส่วนอันดับรองลงมา คือ แก้ไขราคาน้ำมัน เหตุระเบิด อัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ปัญหา 5 ด้านจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ซึ่งผู้ประกอบการ 58.3% ของกลุ่มสำรวจเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเหลือ 3-3.5 % ลดลงจากผลสำรวจในเดือนส.ค.2549 ที่ระบุว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 3.5-4% อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ 35.9% เห็นว่า นโยบายด้านการเมืองของรัฐบาลไม่เหมาะสม 34.4% เห็นว่าเหมาะสมน้อย 24.2% เหมาะสมปานกลาง มีเพียง 5.5% ที่ว่าเหมาะสมมาก ขณะที่ 50.2% เห็นว่านโยบายด้านสังคมเหมาะสมปานกลาง 25.5% เห็นว่า เหมาะสมน้อย 13% เหมาะสมมาก และ 11.6% เห็นว่าไม่เหมาะสม ขณะที่มุมมองต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ 39.8% เห็นว่าเหมาะสมปานกลาง 33.6% เห็นว่า เหมาะสมน้อย 18.7% ไม่เหมาะสม และ 8% เหมาะสมมาก
“ธุรกิจส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลปรับปรุงนโยบายด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ต้องการให้เปลี่ยนแนวทางใหม่ ซึ่งในด้านเศรษฐกิจ เสนอให้กระตุ้นเศรษฐกิจให้ชัดเจนผ่านนโยบายทางการเงิน และการคลัง โดยเฉพาะการลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.5% ซึ่งเชื่อว่า จะทำให้ลดปัญหาค่าเงินบาทแข็ง การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่น และการใช้จ่ายภาคประชาชนไม่ให้ลดลงอีก รวมถึงนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในเชิงประจักษ์มากขึ้น เพราะยังมีความไม่ชัดเจนและไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรอีกมาก ศูนย์เห็นว่า ในปี 2550 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวต่ำกว่า 4%” นายธนวรรธน์กล่าว
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำผลสำรวจทางเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการเห็นว่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสมควรลดลงจากปัจจุบันอีก 1% ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่นิ่งและค่าเงินบาทแข็งจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ยอดขายและกำไรลดลง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่รับได้อยู่ที่ 37.5 บาท/เหรียญ แต่ที่เหมาะสมคือ 37.9 บาท/เหรียญ.
|
|
 |
|
|