Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536
"วันที่รอคอยของเอ็มไทย"             
 


   
search resources

เอ็มไทยกรุ๊ป
ฉัตรชัย วีระเมธีกุล
Real Estate




ในที่สุดกลุ่มเอ็มไทยก็ได้ฤกษ์ทำโครงการในที่ดินแปลงประวัติศาสตร์ บนถนนวิทยุใกล้กับสถานฑูตอเมริกาหลังจากรอคอยมาด้วยความอดทนเกือบ 4 ปีเต็มท่ามกลางคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายว่า ทำไมถึงได้ยอมประมูลที่ดินซึ่งราคาสูงเกือบ 2,000 ล้านบาท แล้วทิ้งไว้โดยไม่ลงมือทำอะไรเลยนานถึงขนาดนั้น ?

ที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 22 ไร่ เดิมเป็นทรัพย์สินของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ ซึ่งทางกลุ่มเอ็มไทยประมูลมาได้ในนามของบริษัทออลซีซั่น พร็อพเพอตี้ จำกัด ซึ่งมีกลุ่มเอ็มไทยและบริษัทไชน่ารีสอร์ท เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เมื่อปี 2532 ในราคาตารางวาละ 250,000 บาท ในขณะที่ราคาประเมินของกรมที่ดินในขณะนั้นมีราคาเพียงตารางวาละ 70,000-80,000 บาทเท่านั้นทำให้กรมที่ดินรับค่าธรรมเนียมการโอนไปเหนาะๆ ประมาณ 50 ล้านบาท เล่นเอาทวี ชูทรัพย์ อธิบดีกรมที่ดินสมัยนั้นดีอกดีใจเป็นการใหญ่ และได้จัดพิธีการจดทะเบียนโอนเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของการซื้อขายที่ดินที่แพงที่สุด

ในช่วงนั้น การก่อสร้างอาคารบนถนนวิทยุกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดสัดส่วนความสูงของอาคารต่อพื้นที่ว่างรอบๆ อาคาร หรือเอฟ.เอ.อาร์ไว้ 6 ต่อ 1 ซึ่งทำให้ไม่คุ้มกับการพัฒนาโครงการบนที่ดินที่มีต้นทุนสูงลิบลิ่วแปลงนี้ เอ็มไทยเองรู้ว่าจะต้องมีการแก้ไขสัดส่วนเอฟ.เอ.อาร์นี้แน่ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

การคาดการณ์ไม่ผิดพลาด เมื่อต้นปี 2536 เอฟ.เอ.อาร์ของการก่อสร้างบริเวณนี้ได้เปลี่ยนเป็น 10 ต่อ 1 คราวนี้กลุ่มเอ็มไทยไม่รอช้าอีกต่อไปแล้ว ได้ยื่นขออนุญาตทันทีและมาถึงวันนี้ก็ได้เซ็นสัญญาตอกเสาเข็มกับบริษัท เยนเนอรัลเอ็นจิเนียริ่ง (GEL) ไปแล้วในมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท และเตรียมเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ ภายใต้ชื่อ "ออลซีซัน เพลส"

สำหรับรูปแบบของโครงการที่จะก่อสร้างนั้นจะเป็นคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในย่านนั้นโดยแบ่งออกเป็น 4 เฟส มีตึกขนาด 30-50 ชั้น 5 ตึก เฟสแรกจะเป็นคอนโดฯ ที่อยู่อาศัย และออฟฟิศบิวดิ้งส่วนเฟสสุดท้ายจะเป็นโรงแรมและศูนย์การค้า ซึ่งระยะเวลาของการก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 7 ปี

"เมื่อยังไม่ถึงเวลาทำเราก็รอ แต่วันนี้เราพร้อมที่จะทำเราก็จะเดินหน้าต่อไปไม่มีปัญหาในเมื่อก่อนที่จะประมูลที่ดินแปลงนี้มา เราก็ได้บวกดอกเบี้ยเผื่อไว้แล้วประมาณ 5 ปี แต่นี่เพียงไม่ถึง 4 ปีเราก็ลงมือทำได้ตามแผนที่วางไว้" ฉัตรชัย วีระเมธีกุลกรรมการบริหารคนหนึ่งของเอ็มไทยกรุ๊ปกล่าวยืนยัน

แน่นอนว่าในช่วงที่กำลังรอนั้น ได้มีผู้เข้ามาติดต่อขอเสนอซื้อที่ดินแปลงนี้อีกหลายรายโดยเฉพาะกลุ่มของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งกำลังตบเท้าเข้ามาทำโครงการในเมืองไทยอย่างคึกคัก เพราะคิดว่าเอ็มไทยคงไม่มีความพร้อมในการพัฒนา และที่ดินแปลงใหญ่ใจกลางเมืองหลวงเช่นนี้ย่อมเป็นที่หมายปองของผู้ประกอบการที่มองการณ์ไกล โดยเฉพาะกลุ่มทางด้านธุรกิจโรงแรมจากญี่ปุ่นและฮ่องกง แต่เอ็มไทยก็ได้ปฏิเสธไปอย่างใจแข็งและเฝ้ารอช่วงจังหวะในการพัฒนาอย่างอดทน

เป็นการรอคอยที่แสนคุ้มเพราะราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินตรงบริเวณนั้น ณ. วันนี้ต่อตารางวาก็พุ่งสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 2.2 แสนบาทถึง 2.4 แสนบาท แต่ราคาซื้อขายกระโดดไปไกลกว่านั้นมากและถ้าหากลุ่มเอ็มไทยใจร้อนที่อยากจะก่อสร้างมีผลงานในช่วงที่ได้ที่ดินมาใหม่ๆ ตามข้อกำหนดเอฟ.เอ.อาร์ 6 ต่อ 1 นั้น แน่นอนว่าพื้นที่ขายจะได้น้อยกว่านี้กำไรก็จะต้องลดลง ในขณะเดียวกันยังต้องมาเผชิญกับสงครามทางด้านการตลาดที่กำลังแข่งขันกันหนักหน่วงในช่วงเวลานี้อีกด้วย

"ตามรูปแบบเดิม 1 ต่อ 6 นั้นได้วางรูปแบบการก่อสร้างไว้เพียง 2 ตึก ในขณะที่ของใหม่สร้างได้ถึง 5 ตึก ก็นับว่ากลุ่มเอ็มไทยคิดถูกแล้วที่ใจเย็นพอที่จะรอถึงวันนี้ และที่สำคัญกลุ่มนี้มีสายป่านทางการเงินที่ยาว เงินกู้ที่นำมาซื้อที่ดินก็เป็นเงินกู้ต่างประเทศที่คำนวณดอกเบี้ยแล้วยังต่ำกว่าราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นมาก" แหล่งข่าวในวงการพัฒนาที่ดินอรรถาธิบายให้ผู้จัดการฟัง

สำหรับ "ออลซีซั่นเพลส" กลุ่มเอ็มไทยได้ส่งนครินทร์น้องชายของฉัตรชัย เข้ามาดูแลในขณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกขั้วหนึ่งทางด้านบริษัทเอ็มไทยพัฒนาอุตสาหกรรมนั้นมีฉัตรชัยรับผิดชอบเพื่อทำโครงการ "ซิตี้พาร์ค บางนา" และกำลังมีแผนการที่จะเปิดเฟสที่ 3 ในปลายปีนี้ซึ่งประกอบไปด้วยห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ เพื่อบริการให้แก่ชุมชนในโครงการและชุมชนใกล้เคียง และเตรียมที่จะเปิดโครงการที่อยู่อาศัยระดับเกรดซีบวกถึงบีอีกหลายโครงการในย่านบางนาตราดในต้นปีหน้า พร้อมๆ กับวางแผนปรับปรุงโครงสร้างบริษัทใหม่เพื่อก้าวสู่ความเป็นสากลมากขึ้น และที่สำคัญได้มอบหมายให้บริษัทเจเอฟธนาคมเป็นผู้วางแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ภายในเวลาไม่เกิน 2 ปีนี้

และวันใดที่เอ็มไทยกรุ๊ปพัฒนาที่ดินที่มีรากฐานมาจากอุตสาหกรรมเคมีสามารถเข้าไปผงาดอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็จะเป็นวันแห่งการรอคอยครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของกลุ่มนี้ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us