|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทำอย่างไรการบริหารงานเพื่อสังคมไม่จำกัดอยู่เพียงในประเทศแต่ขึ้นชั้นระดับโลก?
จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ บริษัทเหล้ายักษ์ใหญ่ จับมือพาร์ตเนอร์ท้องถิ่นแบ่งเขตการทำงานสู่เป้าหมาย
เปิดรหัสลับ CSR อย่างยั่งยืน "เน้นสร้างคนให้จับปลาไม่ใช่จับปลาให้เขากิน"
ปูพรมระดมสมองพนักงานกระตุ้นไอเดียขมีขมันเพื่อสิ่งแวดล้อม
ณ เวลานี้กลยุทธ์การบริหารเพื่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) หลายองค์กรในประเทศเฝ้าบ่มเพาะเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมในเร็ววัน
สัปดาห์นี้ B-SCHOOL จะพาทุกท่านมากะเทาะแก่นการทำงานเพื่อสังคมชั้นเวิลด์คลาสของค่ายน้ำเมาระดับโลก
"ดิอาจิโอ" CSR ไซส์บิ๊ก รุกสร้างเครือข่ายทั่วโลก
เจฟฟรีย์ บุช ประธานมูลนิธิดิอาจิโอ (Diageo Foundation) ในประเทศอังกฤษ บริษัท ดิอาจิโอ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อจอห์นนี วอล์กเกอร์, เบนมอร์, สเมอร์นอฟ ฯลฯ กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้าระดับโลก (global brand) ส่งผลให้การทำงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือ CSR เป็นกลยุทธ์ที่ต้องครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกมากที่สุดโดยบริษัทได้ทำงานผ่าน Diageo Foundation เพื่อประสานความสัมพันธ์อันดีกับผู้ประกอบธุรกิจในแต่ละท้องถิ่น
ขณะนี้มีมูลนิธิกระจายอยู่ทั่วโลกกว่า 100 แห่ง ซึ่งการบริหารจัดการมูลนิธิได้แบ่งลำดับความต้องการความช่วยเหลือเป็น 1.ทวีปแอฟริกา 2.ลาตินอเมริกา 3.ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปีนี้บริษัทแม่ที่ประเทศอังกฤษให้ความสำคัญที่จะช่วยเหลือประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพิเศษเนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ สึนามิก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากจึงต้องเร่งช่วยเหลือระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยมีแผนการที่จะเปิดศูนย์กลางของมูลนิธิดิอาจิโอ ให้เป็นศูนย์รวบรวมความรู้และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามรูปแบบกระบวนการทำงานเพื่อตอบแทนสังคมนอกกระบวนการผลิต (After Prosess)
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมในภูมิภาคเอเชียปีนี้เน้นโครงการ "น้ำเพื่อชีวิต" เนื่องจากยังมีอีกหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม ฯลฯ ที่ประชากรยังขาดแคลนน้ำดื่มซึ่งขณะนี้ได้ทำการเข้าไปช่วยเหลือวัสดุอุปกรณ์ในการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล และส่งวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในทีมวิจัยของมูลนิธิเพื่อให้เกิดโครงการนำร่องที่ยั่งยืน
ด้านโครงการที่ต้องสานต่อให้เป็นรูปธรรมในระยะยาวคือ การฝึกอาชีพไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบแอฟริกาใต้และอินเดียที่มีความยากจน ซึ่งบริษัทมุ่งหวังให้ประชากรสามารถเลี้ยงตนเองได้
สำหรับในปีนี้ครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งมูลนิธิ มีแผนการทำงานเพื่อสังคมครั้งใหญ่เพื่อระดมความคิดบุคคลากรที่ทำงานด้าน CSR ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกว่าปัญหาใดที่ต้องเร่งแก้ไขในภูมิภาคของตน รวมถึงกระตุ้นให้พนักงานต้องการทำกิจกรรมเพื่อสังคมตามแบบที่ทุกคนในองค์กรต้องการ ซึ่งจะสามารถประสบผลสำเร็จได้ดีกว่าการบังคับให้พนักงานทำตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา
ตลอดจนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ้งกันและกันเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมความคิดด้านประสบการณ์ทำ CSR ของตนให้ประเทศอื่นเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับโครงการของตนจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขได้อย่างยั่งยืน
"การทำกิจกรรมเพื่อสังคมปีนี้เน้นทำงานในประเทศแถบเอเชียมากไม่ใช่เหตุผลจากการรีแบรนด์ดิ้งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาของบริษัท แต่บริษัทต้องการจะสร้างความไว้วางใจจากลูกค้าและได้รับยกย่องจากพันธมิตรในการประกอบธุรกิจทุกส่วน ตลอดจนให้ผู้บริโภคได้รับรู้อันตรายจากการดื่มสุราที่ไม่ทำลายสุขภาพซึ่งบริษัทอยากให้ผู้บริโภคสินค้าที่เหมาะสมกับสุขภาพของตน"
โครงการในแต่ละพื้นที่จะร่วมทำงานกับผู้ร่วมทุนในประเทศนั้นๆ ซึ่งเริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจวิจัยความต้องการของประชากรในพื้นที่ ซึ่งแต่ละโครงการจะต้องสามารถสร้างความยั่งยืนให้เกิดในชุมชน และต่อมาเป็นการเปิดโครงการนำร่องเก็บข้อมูลที่ผิดพลาดเพื่อหาทางแก้ไขตลอดการดำเนินโครงการ โดยการเริ่มต้นโครงการในระยะแรกมูลนิธิฯ ในประเทศอังกฤษ จะมีการช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดตลอด 3 ปีที่ดำเนินงาน ซึ่งหลังจากนั้นพาร์ตเนอร์และองค์กรท้องถิ่นจะเป็นผู้สานต่อโครงการต่อไป
"บริษัทพยายามสอนคนในพื้นที่ซึ่งทำโครงการให้จับปลาไม่ใช่บริษัทจับปลามาให้เขาโดยไม่รู้จักวิธีการหากินเอง"
ทั้งนี้ การลงทุนของบริษัทจะตัดสินใจลงทุนกับพาร์ตเนอร์รายใหม่ต้องเน้นสร้างความเข้าใจในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อให้เกิดการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละประเทศในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมจะต้องสำรวจการทำงานของบริษัทอื่น เพื่อที่จะสร้างความโดดเด่นในการทำงานและลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เช่น ในประเทศอินเดียบริษัทได้เข้าไปช่วยเหลือการฝึกอาชีพที่เป็นความโดดเด่นส่งผลให้ผู้ประกอบการของอินเดียทั้งรายใหญ่และผู้ค้าปลีกต่างสนับสุนนผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดีเนื่องจากประชาชนเห็นถึงการทำงานที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน
กระนั้นความช่วยเหลือด้านเงินทุนที่จะมาสานต่อโครงการตอบแทนเพื่อสังคมทั่วโลกได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ประเทศอังกฤษเป็นเงิน 1% จากผลกำไรโดยรวมของบริษัททั่วโลกเป็นเงินกว่า 1,400 ล้านปอนด์ต่อปี ซึ่งจะถูกหักเงิน 3 ล้านปอนด์ เข้ากองทุนมูลนิธิฯ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อมีเหตุการณ์ประสบพิบัติภัยต่างๆ จะได้นำเงินส่วนดังกล่าวไปช่วยเหลือได้ทันที อย่างไรก็ตามหากผลกำไรมีเพิ่มขึ้น เงินช่วยเหลือก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่จะไม่มีการลดเงินช่วยเหลือให้ต่ำกว่า 1% ของแต่ละปี
ความรวดเร็วในการช่วยเหลือของมูลนิธิเห็นได้จากกรณีเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่จากคลื่นยักษ์สึนามิ ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 บริษัทได้กำชับให้ผู้จัดการในพื้นที่ เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย ศรีลังกา ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านทุนทรัพย์ภายใน 2 ชั่วโมง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือโครงการในระยะยาวของแต่ละพื้นที่โดยตั้งกองทุน คีฟ วอล์คกิ้ง ไทยแลนด์ สึนามิ ฟันด์ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยให้มีความยั่งยืน
ด้านที่การทำงาน CSR ในกระบวนการผลิต (In-Process) ปีนี้บริษัทมุ่งเน้นทำโครงการเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อนไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรในกระบวนการผลิตจะลดให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด ตลอดจนการประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ด้านการบำบัดน้ำเสียมีโครงการลดก๊าซคาบอนไดออกไซน์ ตลอดจนลดขยะจากบรรจุภัณฑ์โดยนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด ซึ่งทุก 3 ปี บริษัทจะมีการประเมินผลกระทบด้านการผลิตเพื่อวางนโยบายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงงาน
"สำหรับพนักงานบริษัทได้สำรวจความต้องการทำงานเพื่อสังคมในแต่ละที่ว่าต้องการทำกิจกรรมใดเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อพนักงานและสังคมมากที่สุด และมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในโรงงานผลิต เช่นกลุ่มจัดการขยะ และควบคุมมลพิษในการปฏิบัติงาน หรือในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิบริษัทจะให้เงินทุนพนักงานเพื่อสร้างบ้านใหม่ให้กับผู้ประสบภัย
CSR น้ำเมาที่ไม่เมา ไทยชู 3 นโยบายหลัก
วรเทพ รางชัยกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมีการวางแผนดำเนินงานเพื่อสังคมที่ยังคงเน้น 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1. การให้ความรู้แอลกอฮอล์ศึกษา(Alcohol Education) อาทิ การวิจัยพฤติกรรมและปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมิชอบ รวมถึงการผลิตสื่อความรู้พื้นฐานเพื่อสร้างค่านิยม "คิดก่อนดื่ม" 2.การรณรงค์โครงการรับผิดชอบต่อสังคม "เด็กไม่ดื่ม" และ "ดื่มไม่ขับ" อย่างสม่ำเสมอ (Alcohol-related Social Campaign) 3. การสร้างพันธมิตรกำหนดนโยบายแอลกอฮอล์ (Alcohol Policy) เพื่อลดปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมิชอบอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมเกี่ยวข้องกับภัยจากแอลกอฮอล์และมุ่งการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงการดำเนินกิจกรรมบนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และความรู้จากกรณีศึกษาที่พิสูจน์ได้ในเรื่องประสิทธิภาพการป้องกันแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์
"บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจ และปลูกฝังทัศนคติและพฤติกรรม "คิดก่อนดื่ม" ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย" นายวรเทพกล่าว
สำหรับกิจกรรมในระยะสั้นและระยะยาวบริษัทได้ให้ความช่วยเหลือเงินกว่า 500 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการจัดหาแหล่งน้ำและระบบประปาบาดาลช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ 6 แห่ง ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนในการสำรวจหาแหล่งน้ำจืดพร้อมทั้งวางระบบท่อเพื่อให้แต่ละแห่งมีน้ำใช้ทั้งหมด 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อพื้นที่ ซึ่งสามารถช่วยนักเรียนและประชาชนในชุมชนรวม 4,231 คน 876 ครัวเรือน
ในปีที่ผ่านมาบริษัทเป็นหนึ่งในสมาชิกของ "สมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ" เพื่อสร้างทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้บริโภค ตลอดจนสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้บริษัทฯ พร้อมมุ่งให้การศึกษาและความรู้เรื่องการดื่มอย่างรับผิดชอบผ่าน "ชมรมรักกันเตือนกัน" ในมูลนิธิธรรมศาสตร์ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 100,000 คนทั่วประเทศ ประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาจาก 80 สถาบัน
โดย ผลงานสำคัญคือ ร่วมกับชุมชนรอบสถาบันการศึกษา ทั้งองค์การบริหารนักศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดระเบียบผู้ประกอบการเพื่อสร้างค่านิยมที่ดีและให้ความรู้แก่เยาวชนให้รู้เท่าทันแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันเยาวชนจากภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การทำงานเพื่อสังคมเสมือนก่อกองไฟที่ต้องสุมฟืนอยู่เสมอเนื่องจากการทำงานที่ไม่ต่อเนื่องเมื่อกองไฟมอดลงจะเหลือเพียงเถ้าธุลี....
|
|
|
|
|