Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
MARKETING TASTE: Online Radio มาแล้ว             
โดย วิสุทธิ์ ตันติตยาพงษ์
 


   
search resources

Radio
Marketing




ผมได้มีโอกาสเข้าไปทำงานการตลาดให้กับวิทยุออนไลน์ที่ชื่อ Radio.in.th โดยจับพลัดจับผลูด้วยว่าบริษัทที่ผมให้คำปรึกษาอยู่ ได้ขายหุ้นครึ่งหนึ่งให้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ และบริษัทนี้ก็ได้รับโอนวิทยุออนไลน์มาจากรุ่นน้องที่มีใจรักในการทำสถานีวิทยุออนไลน์

โดยมีเงื่อนไขว่าคนที่ริเริ่มจะตามมาทำงานด้วยในฐานะพนักงานประจำ จึงเป็นผลทำให้บริษัทที่ผมให้คำปรึกษาอยู่ จึงต้องรับวิทยุออนไลน์หนึ่งสถานีมาก่อร่างสร้างโมเดลทางธุรกิจด้วย ซึ่งทำให้ผมมีโอกาสที่จะได้ทำการตลาด ในลักษณะที่เรียกว่าสินค้าใหม่ในตลาดเก่า

เหตุที่ต้องกล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า วิทยุออนไลน์ในมุมของผมต้องถือว่าเป็นสินค้าใหม่ ด้วยว่ามีคุณสมบัติของเทคโนโลยีเข้ามาสอดแทรก ทำให้แตกต่างไปจากวิทยุกระจายเสียงแบบเก่าพอสมควร อย่างเช่นลักษณะทางกายภาพที่เห็นได้ชัดก็คือ วิทยุกระจายเสียงแบบเก่าจำกัดกลุ่มคนฟังตามขอบเขตของการกระจายเสียง คนในต่างจังหวัดไม่สามารถฟังวิทยุในกรุงเทพได้ และเช่นกันคนในกรุงเทพก็ไม่สามารถฟังวิทยุในต่างจังหวัดซึ่งเป็นบ้านเกิดได้ ในขณะที่วิทยุออนไลน์ทำลายขอบเขตการฟังนั้น ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใดถ้ามีอินเตอร์เน็ทแล้วไซร้ ก็ย่อมสามารถฟังได้เหมือนกัน

อีกประการหนึ่งวิทยุออนไลน์สามารถแสดงให้เห็นถึงความนิยมแบบคนดูลิเก (Speculator) กลับมาอีกครั้ง กล่าวคือคนดูสามารถตบมือชอบใจ พร้อมกับมอบพวงมาลัยหรือเสียงโห่ให้กับผู้แสดงลิเกฉันใด ก็ฉันนั้นกับวิทยุออนไลน์ที่ดีเจจัดก็มีสิทธิ์ได้รับเสียงตบมือและโห่ฮาได้เช่นกัน

แต่ด้วยระบบขอเพลงหรือต่อว่าแบบได้เดี๋ยวนั้น (Real Time) ในขณะที่ดีเจก็ทราบว่ามีผู้ฟังอยู่มากเท่าใดที่กำลังรับฟังอยู่ในขณะนั้น ซึ่งก็หมายถึงความชมชอบหรือความนิยม ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างฉับพลันด้วยเทคโนโลยีในการนับจำนวนผู้เข้าเว็บ การจัดการด้วยเว็บ ผนวกกับระบบติดต่อด้วยมือถือ ซึ่งเป็นผลมาจกเทคโนโลยีการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ท

แต่ถึงแม้ว่าข้อแตกต่างข้างต้นจะทำให้วิทยุออนไลน์ดูเหมือนสินค้าใหม่เพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังมีลักษณะตลาดที่คล้ายคลึงกันคือ กลุ่มคนฟังยังเป็นคนกลุ่มเดิม เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการเข้าถึงสื่อ ในขณะที่แรงดึงดูดของสินค้าวิทยุออนไลน์ก็ยังอยู่ที่ดีเจและการเปิดเพลง หรือที่เรียกว่าคอนเทนต์อยู่นั่นเอง

แล้วเพราะเหตุใดผมจึงกล้าบอกกับคุณๆ ว่าวิทยุออนไลน์มาแล้ว มีเหตุผลเดียวครับคือ ราคาของการเป็นเจ้าของสถานีวิทยุบนออนไลน์ใช้เงินแค่หลักล้านแบบไม่ถึงสิบ แต่วิทยุกระจายเสียงแบบเก่าต้องว่ากันที่หลักสิบ หรือบางที่ว่าถึงหลักร้อย

ในขณะที่ผลชี้ขาดความสำเร็จยังเหมือนเดิมคือ ความนิยมจากคนฟัง ซึ่งจะส่งผลให้กับผู้อุปถัมภ์ที่จะใช้เงินเป็นค่าโฆษณาในสถานี ยิ่งถ้าได้พ่วงไปกับเว็บท่าสำคัญๆ อย่างกูเกิล (Google) แล้ว ความนิยมยิ่งจะสร้างไม่ยาก จึงสามารถเดาอย่างไม่ต้องกลัวพลาดว่าต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ในขณะที่กำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ เชื่อว่ามีวิทยุออนไลน์อยู่ไม่ต่ำกว่า 10 สถานี และแน่นอนว่าน่าจะถึง 100 สถานีไม่เกิน 1 ปีข้างหน้า อย่าแปลกใจไปเลยครับ ทั้งประเทศวิทยุกระจายเสียงแบบเก่ายังมีเกิน 500 สถานีเลยครับ เป็นเพราะความต้องการที่หลากหลายนั่นเอง

สำหรับการทำตลาดวิทยุออนไลน์ สามารถสรุปปัจจัยที่ควรพิจารณาได้พอสังเขป ดังต่อไปนี้ หนึ่ง 'คอนเทนต์' ยังเป็นพระเอกในการสร้างความนิยม ถ้าคอนเทนต์ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ให้ข้อสังเกตไว้ตรงนี้ว่า ในขณะที่ผู้ทำสถานีวิทยุกระจายเสียงแบบเก่าเอาคอนเทนต์หรือเนื้อสารเดิมมาเผยแพร่ทางออนไลน์ เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าถึงง่ายขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือไม่สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น เพราะรายได้หลักมาจากผู้ให้โฆษณาทางวิทยุออฟไลน์ (Off line Radio - Conventional Radio) ซึ่งเชื่อว่าในขณะนี้ผู้ให้โฆษณาก็ยังคงไม่ยินดีที่จะต้องเสียเงิน 2 ต่อ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เว้นเสียแต่ว่ารายได้มาจากเว็บของวิทยุนั้นๆ (ต้องฟังผ่านเว็บ) ซึ่งก็ยังไม่มากพอ ทั้งยังมีข้อจำกัดในการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ฟังออนไลน์

ดังนั้นดูเหมือนว่าวิทยุออนไลน์จริงๆ จะมีความได้เปรียบในเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ก็ไปเสียเปรียบตรงไม่สามารถสร้างความนิยมได้เท่ากับวิทยุกระจายเสียง ด้วยว่ามาทีหลัง อย่างไรก็ตามแคมเปญการตลาดที่ต้องการสร้างความนิยมให้กับวิทยุออนไลน์ ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญ

สอง ต้องใช้จุดเด่นของออนไลน์มาใช้ จุดเด่นที่ว่าคือการมีปฏิสัมพันธ์แบบฉับพลัน (Real Time) กับผู้ฟัง โดยเรียกร้องการตอบกลับแบบฉับพลันจากผู้ฟัง เพื่อแสดงผลจำนวนของผู้ฟัง ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ที่สนใจจะให้โฆษณา อย่างไรก็ตามตลาดของโฆษณาทางออนไลน์ ก็ยังไม่มากพอที่จะกระจายไปให้เฉพาะวิทยุแต่อย่างเดียว ยังต้องกระจายไปยังเว็บที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆอีกด้วย ดังนั้นการใช้จุดเด่นทางออนไลน์ จะสร้างความแตกต่างจากวิทยุกระจายเสียงแบบเก่า ในขณะที่ในมุมของคู่แข่งขันด้านการโฆษณา ก็มิใช่เฉพาะสถานีวิทยุออนไลน์ด้วยกัน แต่ยังเป็นเว็บที่ได้รับความนิยมต่างๆอีกด้วย

สาม ต้องมีเทคโนโลยีที่เสถียรพอ เพราะออนไลน์หมายถึง '24x7' 24 ชั่วโมง 7 วัน ไม่มีวันหยุด ในขณะที่เทคโนโลยีกระจายเสียงแบบเก่ากล่าวได้ว่าเสถียรแล้ว แต่วิทยุออนไลน์เทคโนโลยีการกระจายเสียงผ่านสายยังไม่เสถียรมากนัก จึงทำให้ในยุคแรกของวิทยุออนไลน์นี้ จะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามาทำ แต่ก็ยังขาดการสร้างความนิยมอยู่ดี ดังนั้นเทคโนโลยีที่เท่าทันจึงเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วย

สรุปได้ว่าวิทยุออนไลน์มาแล้ว และพร้อมที่จะวิ่งเพื่อแข่งขันแย่งชิงเม็ดเงินจากงบโฆษณา รวมทั้งอุตสาหกรรม สำหรับนักการตลาดควรมองวิทยุออนไลน์ในฐานะเป็นสื่อที่น่าสนใจ แต่สำหรับนักลงทุนและนักบริหารคอนเทนต์ ต้องขอบอกว่าไม่มีเวลาไหนเหมาะเท่านี้ ที่จะเข้ามาศึกษาและลงทุนในวิทยุออนไลน์ครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us