Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
จับตาหุ้นเด่น รับอานิสงค์หวนคืนรังสนามบินดอนเมือง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ โรงพยาบาลวิภาวดี

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ, บมจ.
ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
โรงพยาบาลวิภาวดี, บมจ.
Stock Exchange
ท่าอากาศยานกรุงเทพ




สายการบินในประเทศย้ายกลับ ทำดอนเมืองคึกอีกรอบ คาดหลายธุรกิจบจ.ได้อานิสงค์เรียงตัวตั้งแต่ บมจ.โรงพยาบาลวิภาวดี, บมจ.เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ, บมจ.การบินไทย, บมจ.ท่าอากาศยานไทย ปัจจัยช่วยกระตุ้นยอดปี 2550 มีผลประกอบการที่ดีขึ้น

หลังคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ย้ายสายการบินภายในประเทศที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับเที่ยวบินระหว่างประเทศ จากสนามบินสุวรรณภูมิ กลับมาใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) เหมือนเดิม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมเป็นต้นไป เพื่อให้การซ่อมแซมสนามบินสุวรรณภูมิเป็นไปอย่างคล่องตัว และเสร็จเรียบร้อยเร็วที่สุด ไม่เป็นปัญหากับการเดินทางของประชาชน

ในเบื้องต้นมีสายการบินที่จะย้ายกลับมา 4 สายการบิน คือ นกแอร์ วันทูโก พีบีแอร์ และการบินไทยบางส่วน รวมประมาณ 80 เที่ยวบินทั้งหมดในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณวันละ 2 หมื่นคน โดยจะเปิดใช้อาคารผู้โดยสารภายในประเทศอาคาร 1 ขณะที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศจะใช้รองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเที่ยวบินเช่าเหมาลำทั้งหมด

ดร.ภักดี มานะเวศ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (BAFS) กล่าวถึง กรณีการย้ายสายการบินภายในประเทศกลับมาสนามบินดอนเมืองว่าจะผลดีต่อ BAFS ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมารายได้ส่วนสนามบินดอนเมือง มาจากเครื่องบินเช่าเหมาลำเป็นหลัก และที่สำคัญคือไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเพราะ BAFS มีความพร้อมอยู่แล้ว

คาดว่าปี 2550 BAFS จะสามารถทำรายได้ประมาณ 2 พันล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ค่าบริการจากการให้บริการคลังน้ำมันอากาศยานและค่าบริการเติมน้ำมันอากาศยานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1,445 ล้านบาท และค่าบริการส่งน้ำมันอากาศยานผ่านท่อใต้ลานจอดประมาณ 600 ล้านบาท ขณะที่ปริมาณการเติมน้ำมันอากาศยาน ที่ท่าอากาศยานจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% โดยปริมาณการเติมน้ำมันอากาศยาน ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเดือนตุลาคม 2549 มีปริมาณทั้งสิ้น 1 ล้านลิตร และอัตราค่าบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจะปรับขึ้นจาก 2.74 เซนต์ต่อแกลลอนเป็น 6 เซนต์ต่อแกลลอน

โดย บล.กิมเอ็ง ประเมินว่า BAFS มีความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ อยู่แล้ว ขาดเพียงบุคลากรที่อาจจะต้องมีการจ้างเพิ่มบ้าง การกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองนั้นมีผลบวกในแง่ที่ว่าการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินจะได้มีความสะดวกและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นได้ทั้ง 2 สนามบิน นอกจากนั้นที่สนามบินดอนเมืองก็จะไม่ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ประมาณ 40-50 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างค่าเสื่อมราคาที่เหลือของสนามบินกับการประเมินมูลค่ากระแสเงินสดคิดลดที่เหลือในอนาคตของสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นรายการทางบัญชีที่ไม่กระทบกระแสเงินสดของบริษัทแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม BAFS อาจพบปัจจัยเสี่ยงด้านค่าเงินบาท เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ชำระเป็นเงินสกุลดอลล่าร์ โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 10.90 บาท

ด้านผลกระทบต่อ บมจ.โรงพยาบาล วิภาวดี (VIBHA) ภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส มองว่า VIBHA จะได้รับผลดีจากการเปิดใช้สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินนานาชาติอีกครั้งซึ่งจะทำให้สัดส่วนผู้ที่จะเข้ามารับบริการเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันการปรับขึ้นค่าห้องพักและเตรียมเปิดศูนย์มะเร็งเป็นครั้งแรกในช่วงกลางปีนี้ จะผลักดันผลการดำเนินให้เติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ประมาณการณ์ผลการดำเนินงานในปี 2550 คาดว่าจะมีรายได้ 1,070 ล้านบาท กำไรสุทธิ 109 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากปี 2549 ที่คาดว่าจะมีรายได้ 810 ล้านบาท กำไรสุทธิ 88 ล้านบาท โดยกลยุทธ์การลงทุนยังคงแนะนำ "ซื้อ" โดยให้ราคาเหมาะสมปีนี้ที่ 3.90 บาท

นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยของ บล.เอเชียพลัส ได้ระบุว่า การกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองนอกจากเป็นการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ของ AOT ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังทำให้ประหยัดเงินลงทุนก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Terminal) มูลค่า 1.4 พันล้านบาทด้วย ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายดังกล่าวจะมีสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งให้บริการผู้โดยสารอยู่ประมาณ 4 ล้านคนต่อปี ส่วนใหญ่ย้ายกลับไปทั้งหมดยกเว้น แอร์เอเชีย ซึ่งให้บริการผู้โดยสารเพียง 1.4 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 35% ของผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมด ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์อีกรายคือ บมจ.การบินไทย (THAI) เพราะหากปล่อยให้แอร์เอเชียสามารถย้ายกลับมาใช้ฐานการให้บริการที่สนามบินดอนเมืองได้ ซึ่งอาจทำให้ THAI ต้องสูญเสียลูกค้าให้แอร์เอเชีย และจะกระเทือนถึงประสิทธิภาพการทำกำไรในอนาคตได้

แม้ว่าการย้ายกลับไปใช้สนามบินดอนเมืองจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่สามารถชดเชยด้วยรายได้ที่จะเกิดจากการให้บริการสายการบิน เบื้องต้นประเมินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สนามบินดอนเมืองไว้ที่ 1.65 พันล้านบาท ขณะที่รายได้อยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท ถ้าแอร์เอเชียไม่ย้ายกลับไปใช้ฐานที่สนามบินดอนเมืองจะมีการปรับมูลค่าพื้นฐานของ THAI ขึ้น ให้ราคาเหมาะสมใหม่ในปี 2550 ที่ 53.30 บาท ซึ่ง ณ ระดับดังกล่าวถือว่ายังเป็นระดับที่สมเหตุสมผลเนื่องเทียบได้กับ P/BV ที่ 1.2 เท่า จึงปรับคำแนะนำจาก"ถือ"เป็น"ซื้อ"

ขณะที่ บล.ซิกโก้ กลับมองว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการกลับมาใช้ สนามบินดอนเมือง แต่อาจจะไม่สามารถสร้างรายได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ บมจ.ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (AOT) ได้ เนื่องจากมีการย้ายเฉพาะเที่ยวบินในประเทศแบบจุดต่อจุด ซึ่งมีปริมาณการจราจรเพียง7-8%ของสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตามผลกระทบตรงนี้คาดว่าจะไม่ส่งผลต่อภาพรวมของ AOT มากนัก จึงแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเหมาะสม 70 บาท คิดเป็น Prospective PER ที่ 45.6 เท่า จากมุมมอง ศักยภาพการเติบโตในระยะยาว รวมทั้งเชื่อว่าปัจจัยลบต่างๆก่อนหน้านี้ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของ AOT มากนัก

ส่วนผลกระทบต่อ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) นั้น บล.สินเอเซีย มองว่าการย้ายสายการบินบางสายกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองจะทำให้ปริมาณการใช้ทางด่วนใน sector D ลดลง 10% ของยอดที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงประมาณ 4,000 คัน/วัน นั้น แต่ก็คาดว่าการลดลงของปริมาณการใช้ทางด่วนจะส่งผลกระทบกับรายได้ของ BECL เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ทางด่วนต่อวันที่เกือบ 1 ล้านคัน และเป็นไปได้ที่ยอดการใช้ทางในส่วนต่อขยาย D จะถูกชดเชยด้วยการเพิ่มขึ้นของยอดการใช้ทางด่วนขั้นที่ 1 เพื่อจะเดินทางไปสนามบินดอนเมืองแทนจึงให้ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 30.50 บาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us