Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
"เคแบงก์" ต่อยอดสินเชื่อด่วน SME ลดความเสี่ยงกระจุกตัวพอร์ตรายใหญ่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
SMEs
Loan




ในภาวะที่ความเชื่อมั่นลด การบริโภคหดตัว "แบงก์กสิกรไทย" มิได้หวั่นไหวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตรงข้ามยังเดินหน้าปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดต่อยอดบริการเงินกู้ให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการที่มิอาจปฏิเสธได้ว่ามีความเสี่ยงสูง และอาจทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอลของ แบงก์แห่งนี้เพิ่มขึ้นด้วย แต่แล้วดูเหมือนว่างานนี้ "กสิกรไทย" จะมิได้วิตกกับเรื่องดังกล่าวมากนัก

เหมือนสัจธรรม นายแบงก์มักกล่าวว่า ไม่มีสถาบันการเงินแห่งใดบนโลกที่ปล่อยสินเชื่อแล้วจะไม่เกิดเอ็นพีแอล คำพูดดังกล่าวไม่ได้แปลว่าการเกิดเอ็นพีแอลเป็นเรื่องดี แต่แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สถาบันการเงินต้องเผชิญหน้าทุกยุคทุกสมัย

ถึงแม้สถานการณ์จะไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ แต่การปล่อยสินเชื่อก็คือธุรกิจที่เป็นรายได้หลัก แม้ต้องเผชิญความเสี่ยง โดยเฉพาะตัวเลขเอ็นพีแอลที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากแรงเหวี่ยงของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ

บุญทักษ์ หวังเจริญ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า สิ่งที่กังวลในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเอ็นพีแอล นั่นเพราะระบบและกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารมีประสิทธิภาพ ทำให้สิ่งที่กังวลสำหรับธนาคารกลายเป็นเรื่องของงานบริการมากกว่า

แม้ในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีความเสี่ยงสูง "กสิกรไทย" ก็มิได้หวั่นกับการเจาะเข้าหาลูกค้ากลุ่มนี้ ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัวบริการสินเชื่อรูปแบบใหม่ K- SME Credit...นับครบ 10 วัน รับ 10 ล้านได้ทันที ซึ่งเป็นแคมเปญที่ต่อยอดจากอนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอีใน 3 วัน

บุญทักษ์ อธิบายถึงการเข้ามาลุยฐานเอสเอ็มอีว่า เพื่อกระจายความเสี่ยงไม่ให้สินเชื่อไปกระจุกที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเกิดวิกฤติ ธนาคารจะได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากภาคธุรกิจขนาดใหญ่ต้องใช้วงเงินสินเชื่อสูง ดังนั้นการกระจายไปสู่เอสเอ็มอีที่วงเงินสินเชื่อต่ำกว่า จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์บริหารความเสี่ยง

"ยอมรับว่าเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดและได้รับผลกระทบมากสุดถ้าเกิดวิกฤติ แต่ความรุนแรงนั้นน้อยกว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งด่านแรกที่จะได้ รับผลกระทบ หลังจากนั้นก็จะลงมาสู่ภาคเอสเอ็มอีที่เป็นด่านท้ายสุดที่รับผลกระทบ"

บุญทักษ์ เชื่อว่าในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่เข้าขั้นวิกฤติ ด้วยปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจแท้จริงนั้นแข็งแกร่ง หากแต่ขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนเท่านั้นทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ถามว่าภาคธุรกิจยังต้องการสินเชื่อหรือไม่นั้น คำตอบคือยังมีความต้องการอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของภาคธุรกิจเอสเอ็มอี

เอสเอ็มอี ได้กลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่หลายแบงก์จ้องตะครุบ ด้วยจำนวนผู้ประกอบการที่มีสูงกว่า 2 ล้านราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีจำนวนลูกค้าอีกมากที่ต้องการสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกรายที่แบงก์พร้อมจะให้สินเชื่อ ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณา

ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย บอกว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา หรือตายจากไปก็มี แต่นั้นต้องมีสาเหตุ เป็นต้นว่า ความไม่รู้ในวิธีบริหารจัดการ ความไม่ตั้งใจจริงที่จะดำเนินธุรกิจ ตรงจุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำตอบที่ว่าทำไมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถึงล้มลง

"สำหรับความไม่รู้และเข้าใจในธุรกิจที่แท้จริง เราสามารถช่วยได้ เพราะเรามี เอสเอ็มอี แคร์ ให้คำปรึกษาประคองผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เดินไปถึงเป้าหมายได้อย่างตลอดลองฝั่ง ซึ่งนั่นคือหนึ่งบริการสำคัญที่แบงก์มีให้"

ปกรณ์ บอกอีกว่า ส่วนของบริการใหม่ที่ต่อยอดจากแคมเปญอนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอีใน 3 วัน จะทำให้ผู้ประกอบการคาดการณ์และวางแผนการเงินทางธุรกิจได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกำหนดเวลาในการรับสินเชื่อได้แน่นอนภายหลัง 10 วันทำการ และยังนับเป็นการอนุมัติสินเชื่อพร้อมรับเงินที่เร็วที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ด้วยกันแต่ทั้งนี้ แคมเปญดังกล่าวจะจัดให้เฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่มียอดขายต่อปีไม่เกิน 50 ล้านบาท

ถึงแม้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้สถาบันการเงินมีเอ็นพีแอลเพิ่ม แต่ด้วยวงเงินที่กู้ไม่สูงมากเท่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ทำให้การเพิ่มตัวเลขเอ็นพีแอลไม่น่าหวาดผวาเท่าใดนักเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการขนาดยักษ์ใหญ่ต้องล้ม

ด้วยเหตุผลนี้ไม่เพียง "กสิกรไทย"เท่านั้นที่ยินดีเปิดประตูบ้านต้อนรับลูกค้าเอสเอ็มอี แต่ยังรวมถึงธนาคารพาณิชรายอื่นด้วย นับเป็นผลดีต่อภาคเอสเอ็มอี เพราะการแย่งตลาดเอสเอ็มอีทำให้เกิดการแข่งขันเรื่องบริการอันนำมาสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us