Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
จับตา 'โอกาสธุรกิจ' แฟชั่นไทยผ่าน 'บางกอกฯ แฟชั่น วีค 2007'             
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามพารากอน
BMW Group Thailand Homepage
โฮมเพจ โนเกีย ประเทศไทย

   
search resources

บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย), บจก.
โนเกีย (ประเทศไทย), บจก.
สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก.
Flynow




ติดตามความพยายาม "ดิ้นรน" ของภาคเอกชนในธุรกิจแฟชั่น หลังภาครัฐ "หยุด" ต่อยอดโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น

เชื่อหรือไม่ว่า "โอกาสธุรกิจ" แฟชั่นไทยยังมีแววส่อประกายในตลาดโลก?

ทำไมแฟชั่นโชว์จึงเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจแฟชั่นที่ไทยต้องเดินตาม?

พิสูจน์ความสำเร็จ "สยามพารากอน" จับมือพันธมิตร "Nokia-BMW-L’Oreal-K Bank-เมืองไทยประกันชีวิต" กับดีไซเนอร์แฟชั่นแบรนด์ดังของไทย จุดกระแสใหม่กระตุ้นภาพลักษณ์เมืองแฟชั่น

แม้ว่าโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นจะไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทุ่มงบประมาณของรัฐลงไป แต่เอกชนโดย 4 ศูนย์การค้าในกลุ่มเดียวกัน คือ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ ดิ เอ็มโพเรียม และสยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ ยังคงประกาศชัดเจนว่าจะจับมือผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่น โดยล่าสุด ได้ร่วมมือกันจัด "โครงการบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แฟชั่น วีค 2007" เพื่อต่อยอดโครงการบางกอก แฟชั่น วีค ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการย่อย 11 โครงการของโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น

เกรียงศักดิ์ ตันติภพ ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวถึง โอกาสของธุรกิจแฟชั่นไทยว่าจะอยู่รอดได้นั้น ถ้าต้องการแนวทางที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว การเดินตามสูตรสำเร็จของเมืองแฟชั่น คือการสร้าง "Country Immage" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญให้เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อให้คนอยากมา และผลพวงที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่เพียงความเชื่อมั่นที่ได้จากทั่วโลก แต่จะทำให้เกิดการลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้อำนาจการต่อรอง และในที่สุดคือความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

การพัฒนาคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาภาพลักษณ์ของประเทศ เพราะฉะนั้น โครงการบางกอกอินเตอร์ เนชั่นแนล แฟชั่น วีค 2007 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงวันที่ 15-18 มีนาคมนี้ ที่สยามพารากอน โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสานต่อโครงการบางกอก แฟชั่น วีค ที่ทำไปแล้วทั้ง 2 ครั้งนั้น เพราะเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเป็นการสนับสนุนให้วงการแฟชั่นไทยตื่นตัวและพัฒนาการ เป็นการสร้างกระแสให้เกิดภาพลักษณ์ด้านแฟชั่นด้วยการสร้างงานแฟชั่นโชว์และการประชาสัมพันธ์ไปในระดับโลก

โดยมี 13 แบรนด์ชั้นนำของไทย คือ ANR , Fly Now ,Gray Hound by Nokia, Inspireed by Inner Complexity , Kai , Theatre , Time’s End , Tippy & Matthew , Tube Gallery , Nude Color by L’Oreal Professional และYoswadee มาร่วม เปิดคอลเลคชั่นล่าสุด และรูปแบบการจัดงานแฟชั่นโชว์ที่ยิ่งใหญ่ โดยจะมีดีไซเนอร์ระดับอินเตอร์แบรนด์ เช่น Jimmy Choo จากลอนดอน มาร่วมงาน

"วันนี้ทั้ง 4 ศูนย์ฯ มีภาพลักษณ์ของผู้นำแฟชั่นอยู่แล้วอย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเรา สำหรับเรื่องภาพลักษณ์คือสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นมาอยู่แล้ว ซึ่งเราทำมาตลอด และดูแล้วว่าถ้าเราไม่ร่วมผลักดันให้อุตสาหกรรมแฟชั่น คือเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีมูลค่า 3-4 แสนล้านบาท และคนนับล้านจะกระทบไปถึงหลายอุตสาหกรรมและรายได้ของประเทศซึ่งเป็นภาพใหญ่ ในขณะที่ทั้งจีน เวียดนาม และมาเลเซีย กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยยิ่งต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะใน 2 ปีข้างหน้าเมื่อจีนสามารถเปิดเสรีได้ทั่วโลกอันตรายมากเราสู้ไม่ได้แน่

การสร้างภาพลักษณ์คือการชี้ประเด็นหรือจ่อสปอตไลต์ไฮไลต์สิ่งที่เราเด่น เพราะ 2 ปีที่โครงการแฟชั่นทุ่มลงไปเรายังเดินไม่ถึงไหนเลย ประเด็นที่เป็นอยู่ตอนนี้คือ เราต้องทำคือสร้างภาพลักษณ์ นอกจากนี้เราพร้อมเพราะเรามีอุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงมีดีไซเนอร์เก่งแต่ไม่มีฐานด้านการผลิตและส่งออก แต่มีบางโรงงานที่ผลิตให้แบรนด์ดัง ทำไมคนเหล่านี้ไม่เคยเจอกัน เพราะฉะนั้นมูลค่าของสิ่งเหล่านี้คือแบรนดิ้ง เพื่อให้สามารถทำกำไรได้สูงพอ"

การจัดแฟชั่นโชว์เป็นการตลาดที่สำคัญของวงการแฟชั่น เพราะเป็นการเปิดตัวสินค้าใหม่หรือคอลเลคชั่นใหม่ เป็นการกระตุ้นการขาย ทำให้เกิดการขายได้อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างแบรนด์อิมเมจ และยกระดับของแบรนดดิ้ง ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้มีการเชิญผู้ซื้อทั้งระดับประเทศและอินเตอร์ ผู้บริโภค และสื่อมวลชนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้วงจรธุรกิจขับเคลื่อนและเติบโต

"เราเหมือนประตูสู่ความสำเร็จเป็นโอกาสสร้างยอดขายและกำไรให้ผู้ประกอบการได้เติบโตได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อทำให้สิ่งเหล่านี้ครบวงจร เราจึงเชิญดีไซเนอร์ไทยอีก 3 แบรนด์ เข้ามาอยู่ใน Dress Code เป็นดีไซเนอร์หน้าใหม่ เป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงสังคม เป็นคนที่เก่งอยู่แล้ว แต่เราเปิดโอกาสด้วยการให้พื้นที่ขาย ทำให้ยอกขายมากขึ้น สร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์มากขึ้น ซึ่งในที่สุดเขาจะเติบโตเอง เป็นสิ่งที่เราทำอย่างครบวงจร เราสนับสนุนแฟชั่นอย่างเป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ผลักดันดีไซเนอร์ไทยเติบโตมาก่อนแล้ว

สิ่งที่เราทำได้คือเราผลักดันให้เขาผ่านประตูนี้ไป ส่วนที่เหลือเมื่อต้องไปเติบโตในต่างประเทศเขาต้องไปเองแล้ว แต่อย่างไรก็ตามประตูนี้เปิดตลอดเวลาเพื่อให้แบรนด์ใหม่เติบโตขึ้น รูปธรรมในการทำอย่างครบวงจรคือ ทำแฟชั่นโชว์ สร้างพื้นที่ขาย และสปอนเซอร์ที่เลือกเข้ามามีบทบาทและความสำคัญ สำหรับครั้งนี้คือธนาคารกสิกรไทยจะมาช่วยเป็นที่ปรึกษาเรื่องการเงิน เมืองประกันประกันชีวิตที่มาลดความเสี่ยงเรื่องการขนส่งสินค้า โนเกียซึ่งเป็นโกลบอลแบรนด์สามารถสร้างการรับรู้สู่ตลาดโลก เช่นเดียวกับรถบีเอ็มดับเบิ้ลยู"

อย่างไรก็ตาม สำหรับความสำเร็จของผู้ประกอบการหรือดีไซเนอร์ ไม่ว่าจะ 13 แบรนด์ที่มาร่วมเดินแฟชั่นฯ ในงานนี้ หรือ 30 แบรนด์ใหม่ที่อยู่ใน Dress Code ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการที่แต่ละคนมีต่างกัน ความสำเร็จอยู่ในระดับที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การเปิดโอกาสให้แล้ว และจะทำต่อไป เพราะไม่ว่าจะอย่างไรต้องช่วยกันผลักดันเพื่อเป็นหนทางของความอยู่รอดของธุรกิจแฟชั่นไทย

เกรียงศักดิ์ สรุปทิ้งท้ายว่า การผลักดันธุรกิจแฟชั่นไทยเช่นนี้เป็นการเป็นสร้างโอกาสเพื่อส่งเสริมให้แบรนด์ไทยมีโอกาสเปล่งประกายด้วยตัวเอง

'ฟลายนาว' โชว์สปิริต ย้ำทำเพื่อสร้างความเชื่อถือ

ชำนัญ ภักดีสุข ดีไซเนอร์ แบรนด์ Fly Now และบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่น Harper’s Bazaar กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อจะบอกถึงความพยายามว่าวงการแฟชั่นพยายามพึ่งตนเอง และแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจจริง เพราะสำหรับการสร้างความเชื่อถือยิ่งในระดับอินเตอร์ต้องทำให้เห็นว่าชัดเจน ไม่ใช่หยุดๆ เดินๆ ซึ่งในส่วนของแบรนด์ฟลายนาวที่เติบโตมาได้มาจากความมุ่งมั่นด้วยตัวเองมาตลอด และจะทำต่อไป เพื่อเป็นกำลังใจหรือตัวอย่างให้คนที่เริ่มทำธุรกิจมีความพยายาม เพราะฟลายนาวสามารถไปเติบโตในต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับในปารีส อัมสเตอร์ดัม อิตาลี่ และสเปน ซึ่งเป็นเมืองแฟชั่น

แต่ภาพรวมของวงการแฟชั่นไทยนั้น ยังมีจุดอ่อนในด้านการบริหารจัดการ เพราะการทำงานของคนไทยมีวิธีการมองธุรกิจที่เป็นอุปสรรคในการเติบโต ไม่เข้าใจธุรกิจแฟชั่นเพียงพอ เช่น การทำเสื้อโชว์เป้าหมายต่างกับเสื้อขาย ซึ่งในต่างประเทศเสื้อโชว์ผลกำไรได้จากการประชาสัมพันธ์ไปแล้ว ส่วนผลกำไรเป็นเงินได้จากเสื้อขาย

"สำหรับงานนี้ความจริงไม่ตรงกับช่วงที่เราออกคอลเล็กชั่น แต่เราก็มาช่วยเพราะเรามองว่าเมื่อคนจัดตั้งใจทำแล้ว เราต้องตั้งใจช่วยอย่างเต็มที่"

ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ต่อยอดอนาคตแฟชั่นไทย

ศรุดา นิ่มพิทักษ์พงศ์ เจ้าของธุรกิจเสื้อผ้าแบรนด์ KUNITAR , 8E88 และ Triple 8 กล่าวถึงงานบางกอกแฟชั่นวีคซึ่งมีการจัดขึ้น 2 ครั้ง นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้แบรนด์ KUNITAR กับ 8E88 มีโอกาสเติบโตในต่างประเทศ คือที่นิวยอร์คและไต้หวัน และเร็วๆ นี้กำลังจะเจรจากับแฟชั่นเฮ้าส์ซึ่งมีศักยภาพที่ดูไบ และที่มาเก๊า เนื่องจากลูกค้าเห็นผลงานผ่านนิตยสารต่างประเทศที่เข้ามาร่วมงานและมาสัมภาษณ์ เพราะฉะนั้น จึงได้นำแบรนด์ใหม่ คือ Triple 8 by 8E88 ซึ่งจะวางจำหน่ายในโซน Dress Code ในสยามพารากอน เข้าร่วมในการจัดงานแฟชั่นโชว์ครั้งนี้

ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ กล่าวอีกว่า จุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าชื่นชอบนอกจากงานที่มีคุณภาพและดีไซน์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังทำออกมาเพียงตัวเดียว แม้จะอยู่ในคอลเล็กชั่นเดียวกัน โดยมีลูกค้าในกลุ่มดารากับเซเรบริตี้เป็นจำนวนมาก

สำหรับความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมสร้างสรรค์ความก้าวหน้าในวงการแฟชั่นมีอยู่มากมาย เพราะล่าสุด ซึ่งได้รับเลือกเป็นตัวแทนของดีไซเนอร์ไทยในงาน "Cross Couture" ที่จะจัดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ แม้จะเป็นงานเล็กๆ แต่ก็มีความหมาย มีดีไซเนอร์อีก 3 ชาติคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และมาดากัสการ์ มาร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน จะมาอยู่ร่วมกัน 10 กว่าวัน เพื่อคิดคอลเลกชั่นใหม่ออกมา เพราะฉะนั้น ในฐานะที่เป็นตัวแทนจากไทย จึงนำผ้าไหมจากจิม ทอมสัน ซึ่งมีทั้งคุณภาพและชื่อเสียงเท่ากับเป็นการร่วมส่งเสริมสิ่งดีๆ ของไทย

นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นที่ปรึกษาของรายการ U Channel ซึ่งมีรายการเกี่ยวกับแฟชั่นและออกอากาศในมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงคิดขอโอกาสให้นักศึกษาที่เรียนด้านแฟชั่นมามีประสบการณ์ร่วมมากขึ้น ส่วนแรกเปิดคัดเลือกเพื่อให้มาเป็นลูกมือของดีไซเนอร์ ซึ่งดีไซเนอร์ต่างชาติที่มาร่วมก็คิดที่จะหาคนที่มีฝีมือไปร่วมงานเท่ากับเพิ่มโอกาสให้กับเด็กไทยไปทำงานระดับโลก กับอีกส่วนเปิดให้นักศึกษาประมาณ 100 คนเข้ามานั่งชมการทำงานของดีไซเนอร์

"ทั้งแบรนด์ใหม่ที่ทำออกมาเรื่อยๆ รวมทั้ง งานนี้คือผ้าไหมซึ่งไม่ได้เก่งเลย แต่เมื่อต้องทำเพราะเป็นตัวแทนประเทศ ตอนนี้ก็เริ่มฝึกแล้ว เพราะอยากเป็นตัวอย่างให้น้องๆ ดูว่าถ้าคิดจะทำก็สามารถทำได้ไม่ยาก สิ่งที่เราทำคือเริ่มต้นใหม่ได้ตลอดเวลา เหมือนกับแฟชั่นซึ่งก้าวไปทุกวันไม่มีหยุด เพราะฉะนั้นเราจึงวิ่งอยู่ตลอดเวลา และเป็นตัวของตัวเอง และคิดเสมอว่าไม่มีใครนั่งเก้าอี้ตัวเดียวกันได้เหมือนกัน อย่าอยากนั่งท่าเดียวกับเขา แต่ให้นั่งในท่าที่เราสบายที่สุด เราใช้เวลา 5 ปีในงานเสื้อผ้า แต่ใช้เวลาสร้างแบรนด์ 2 ปี และคาดว่าอีก 5 ปีน่าจะก้าวสู่แบรนด์ระดับอินเตอร์ฯ เราต้องตั้งเป้าหมายไว้ ส่วนจะได้หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องพยายาม"

แต่อุปสรรคด้านการเงินยังคงมีอยู่โดยเฉพาะดีไซเนอร์รุ่นใหม่ เท่าที่รู้มีหลายคนไม่มีทางออกที่ดี ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้และไม่มีทุนทรัพย์มากพอ ต้องหันไปเลือกกู้เงินนอกระบบ ทั้งๆ ที่มีฝีมือ ทำให้การเริ่มต้นเข้าสู่วงการนี้ต้องล้มเหลวอย่างที่ไม่ควรจะเป็น เท่ากับว่าวงการแฟชั่นเสียโอกาสพัฒนาและเติบโตอีกด้านหนึ่ง

พันธมิตรเปิดใจจับมือเพื่ออนาคต

"โนเกีย" ร่วมเปิดโอกาสเน้นดีไซเนอร์มือใหม่

อุณา ตัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นโยบายของโนเกียให้การสนับสนุนดีไซเนอร์เสมอ อยากให้ดีไซเนอร์ไทยมีโอกาสแสดงฝีมือ ซึ่งการร่วมเป็นสปอนเซอร์ของงานนี้เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำ เพราะเป็นเวทีที่ดีให้ดีไซเนอร์ไทย เพราะโอกาสเป็นเรื่องสำคัญมาก ความสามารถอย่างเดียวไม่เพียงพอ นอกจากนี้ สำหรับ young designer หรือดีไซเนอร์รุ่นใหม่เป็นกลุ่มที่โนเกียเน้นให้การสนับสนุน เพราะต้องการให้โอกาสกับคนรุ่นใหม่ และยังเห็นว่าด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยที่มีเอกลักษณ์เป็นพื้นฐานให้นำไปเป็นแนวความคิดในการออกแบบได้อย่างดีอีกด้วย

"BMW" ส่งซีรี่ส์ 7 จับคู่สร้างภาพลักษณ์

สำหรับ BMW ที่เข้ามาร่วมงานในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการร่วมสร้างภาพลักษณ์ซึ่งเหมาะสมกันระหว่างรถยนต์ BMW กับแฟชั่นแบรนด์ชั้นนำของเมืองไทย และการจัดงานแฟชั่นโชว์ครั้งนี้ ทำให้เห็นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ผ่านการออกแบบรถที่สวยงามและโดดเด่น เช่นเดียวกับผลงานแฟชั่นที่ต้องประณีตและต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยการนำ BMW ซีรี่ส์ 7 มาเป็นรถลิมูซีนเพื่อรับส่งดีไซเนอร์ชื่อดังจากต่างประเทศที่มาร่วมงานในครั้งนี้ และในส่วนของสยามพารากอนซึ่งเป็นศูนย์การค้าระดับหรูจะนำ BMW ซีรี่ส์ 7 มาเป็นรถลิมูซีนประจำไว้ให้บริการลูกค้า เพราะมีความคิดตรงกันว่ามีภาพลักษณ์ที่เหมาะสมกันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีซึ่งกันและกัน เป็นการจับคู่ความหรูหราหรือความเป็นพรีเมี่ยม

"K Bank" แนะสร้างแบรนด์ ลดความเสี่ยงธุรกิจ

ทางด้านธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสปอนเซอร์ของงานในครั้งนี้ เนื่องจากนโยบายของธนาคารฯ ที่ต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยรวมอยู่แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการในธุรกิจแฟชั่นเป็นหนึ่งในเอสเอ็มอีที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ร่วมสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนไทยจะมีความคิดสร้างสรรค์ และคุณภาพงานที่ดี แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือถ้าไม่มีแบรนด์ของตนเอง แต่รับจ้างผลิตอย่างเดียวจะต้องปรับตัว เพราะการปล่อยเงินกู้ให้ผู้ประกอบการนั้นธนาคารต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ จึงต้องมองอนาคตของธุรกิจ เพราะฉะนั้น ถ้ารับจ้างผลิตอย่างเดียวจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตดีพอและสามารถแข่งขันได้ เพราะสิ่งที่เห็นอยู่คือประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและเวียดนามกำลังเป็นคู่แข่งในเรื่องนี้ ในขณะที่ การสร้างแบรนด์เท่ากับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า จึงมีโอกาสที่จะแข่งขันได้มากกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us