|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ในโลกโลกาภิวัตน์ที่การแข่งขันอย่างรุนแรงและหมุนเร็วอย่างเชี่ยวกรากดังเช่นปัจจุบัน คำถามที่เกิดขึ้นกับเมืองไทยก็คือ ธุรกิจ SMEs มีความเป็นอยู่อย่างไรในสภาวะที่ว่านี้
คำตอบอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการของไทยจะต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้านอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองทางหนึ่ง นอกเหนือจากที่รัฐบาลหยิบยื่นให้ และธรรมาภิบาล (Good Governance) จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างวัคซีนในการแข่งขันได้ ดังนั้นความยั่งยืนของ SMEs ไทยจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะสร้างฐานของอนาคตประเทศได้
การมอบรางวัล "ธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2550" จึงได้เกิดขึ้น และจัดต่อเนื่องมาจนกระทั่งเข้าปีที่ 5 ด้วยความร่วมมือของสามสถาบันหลัก ได้แก่ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสมาคมธนาคารไทย เพื่อจัดพิธีมอบรางวัล ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเผยแพร่และยกย่องแบบอย่างของธุรกิจขนาดย่อมที่ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
ตามหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธที่ว่า กิจกรรมการผลิตที่ดี คือการยึดหลักการไม่เอาเปรียบ คือ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่เอาเปรียบแรงงาน ไม่เอาเปรียบสังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่เอาเปรียบผู้ถือหุ้น และขณะเดียวกันต้องไม่เอาเปรียบตนเองด้วย จึงจะเป็นการประกอบการที่ยั่งยืน แข็งแกร่ง และมีภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับอนาคต
ซึ่งแนวคิดในการพิจารณาดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR ของฝั่งตะวันตกที่องค์กรธุรกิจใหญ่น้อยในเมืองไทยกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้
ข้อความตอนหนึ่งจาก ดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระบุว่า การจัดประกวดธุรกิจขนาดย่อมที่มีธรรมาภิบาลเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งจะทำให้สังคมประจักษ์ว่า ธุรกิจที่มีสินทรัพย์และบุคลากรน้อย ส่วนใหญ่เป็นกิจการครอบครัว ก็สามารถบริหารจัดการอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างให้ธุรกิจขนาดย่อมรายอื่นซึ่งมีอยู่มากได้
หากธุรกิจได้พัฒนาธรรมาภิบาลและถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องได้ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจก็คือ ความน่าเชื่อถือ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดมีให้กับธุรกิจนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค คู่ค้าที่อยากร่วมธุรกิจ พนักงานที่ทุ่มเทให้กับบริษัท และที่สุดแล้วสังคมภาพรวมก็อยากจะสนับสนุนธุรกิจนั้นๆ ตามไปด้วย
ในงานครั้งที่ 5 นี้จึงมีตัวอย่างบริษัทที่ได้รับรางวัลต่างๆ ดังต่อไปนี้ รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น ปี 2549 ได้แก่ บริษัท บาธรูมดีไซน์ จำกัด รางวัลธรรมาภิบาลด้านการปฏิบัติต่อผู้บริโภค บริษัทไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และรางวัลด้านการปฏิบัติต่อพนักงานงาน บริษัท บีโปรดักส์อินดัสตรี้ จำกัด
นอกจากรางวัลหลักทั้ง 3 รางวัลแล้ว ภายในงานยังมีการมอบเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ประกอบการที่เข้ารอบสุดท้าย 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท ดี เค อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ดับบลิว.โอ.เอ แอ๊ดเวอร์ไท้ซิ่ง จำกัด บริษัท บ้านสวาย โปรดักส์ฟู้ด จำกัด บริษัท สยามอุตสาหกรรมและการผลิต จำกัด บริษัท เอ็น.ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ ซิสเท็มส์ จำกัด
|
|
 |
|
|