Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
แนวคิดการบริหาร: เครื่องมือทางการจัดการต่างๆ กับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ             
โดย พสุ เดชะรินทร์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




สองสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้นำเสนอถึงแนวทางและเกณฑ์ในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งส่วนราชการต่างๆ จะรู้จักกันในชื่อของ PMQA (Public Management Quality Award) ซึ่งได้มีการดัดแปลงมาจากเกณฑ์ TQA ของภาคเอกชน และ MBNQA ของสหรัฐ

จริงอยู่นะครับที่หลักการและแนวทางที่ได้นำเสนอไปในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แต่ก็เชื่อว่าโดยหลักการแล้ว สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรประเภทอื่นๆ ได้เช่น เดียวกัน

โดยในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ปิดท้ายไว้ในเรื่องของการที่ส่วนราชการจะต้องประเมินตนเองตามแนวทางของ ADLI (Approach-Deploy-Learning-Integration) เพื่อหา OFI (Opportunitie for Improvement) ขึ้นมา ซึ่งถ้าดูที่แก่นจริงๆ แล้วก็เหมือนกับการวิเคราะห์ SWOT เพื่อให้ได้จุดอ่อนที่จะนำมาพัฒนาและปรับปรุงตัวเราเอง แต่แทนที่จะเรียกเป็นจุดอ่อนซึ่งมองในแง่ลบ เราก็เรียกใหม่เสียว่าเป็นโอกาสในการปรับปรุง ซึ่งเป็นการพิจารณาในแง่บวกมากขึ้น

เมื่อส่วนราชการได้มีการวิเคราะห์และประเมินตนเองตามแนวทางของ ADLI แล้ว ส่วนราชการก็จะพบโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ซึ่งในขั้นตอนนี้ผมมองว่ามีความสำคัญพอสมควรครับ เนื่องจากในอดีตเราอาจจะมีการวิเคราะห์ SWOT กันอยู่แล้ว

แต่เป็นการวิเคราะห์ SWOT โดยขาดการเปรียบเทียบ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาโดยขาดการเปรียบเทียบ หรือ เรื่องบางเรื่องที่เป็นจุดอ่อน แต่พอเราวิเคราะห์ SWOT ด้วยวิธีการเดิมอาจจะออกมาเป็นจุดแข็ง เนื่องจากคิดว่าสิ่งที่เราทำมานั้นเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว โดยขาดการมองเปรียบเทียบกับแนวทางการบริหารที่ดี แต่พอมีการวิเคราะห์และประเมินตนเองเทียบกับแนวทางในการบริหารที่ดีที่ได้มีการกำหนดใน PMQA ไว้แล้ว ก็ทำให้องค์กรทราบว่ายังมีปัจจัยหรือโอกาสสำหรับการปรับปรุงในด้านต่างๆ อยู่อีกมาก

อย่างไรก็ดีใช่ว่าเมื่อองค์กรทำการวิเคราะห์และประเมินตนเองแล้ว องค์กรจะต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานตามข้อสรุปที่ได้ เนื่องจากเมื่อพิจารณาโอกาสในการปรับปรุงต่างๆ ที่ได้แล้วจะพบว่าใน OFI (Opportunities for Improvement หรือ โอกาสในการปรับปรุง) นั้น ไม่ได้มีความสำคัญในระดับเดียวกันหมด

ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องทำการคัดเลือกเฉพาะปัจจัยที่มีความสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงก่อน และนอกจากนี้ยังพบอีกนะครับว่าในหลายสถานการณ์โอกาสในการปรับปรุงในหลายๆ ประการนั้นก็มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ดังนั้นท่านผู้อ่านต้องอย่าลืมนะครับว่าเมื่อได้โอกาสในการปรับปรุงแล้ว ท่านผู้อ่านจะต้องพิจารณาโอกาสในการปรับปรุงเหล่านั้นก่อนนะครับว่าปัจจัยไหนมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และเลือกเฉพาะโอกาสในการปรับปรุงที่มีความสำคัญขึ้นมาดำเนินงานและทำการปรับปรุงก่อน

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือถ้าเราพิจารณาดีๆ แล้วจะพบว่าเมื่อเราระบุโอกาสในการปรับปรุงในด้านต่างๆ แล้ว เราจะพบว่าการนำเครื่องมือทางด้านการบริหารต่างๆ เข้ามาใช้ จะเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรในด้านต่างๆ เนื่องจากเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (หรือจริงๆ แล้วของเอกชนด้วย) เป็นแนวคิดในด้านการบริหารจัดการที่ดีที่องค์กรควรจะมี โดยไม่ได้สนใจพวกเครื่องมือทางการบริหารต่างๆ ที่เป็นนิยมกันในปัจจุบัน แต่เมื่อองค์กรได้มีการระบุโอกาสในการพัฒนาหรือปรับปรุงแล้ว การที่จะยกระดับหรือพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้ดีขึ้น หรือ เทียบเท่าแนวทางการบริหารที่ดีต่างๆ นั้น การใช้เครื่องมือทางการจัดการต่างๆ จะเป็นกลไกหรือแนวทางที่สำคัญ

ผมขอชวนท่านผู้อ่านลองช่วยกันคิดตามก็ได้ครับ เช่น ในหมวดที่สอง การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์นั้น ยังแบ่งเป็นอีกสองหมวดย่อยได้แก่ การจัดทำยุทธศาสตร์ และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ถ้าผลการประเมินองค์กรพบว่าในหมวดนี้องค์กรยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เครื่องมือทางการบริหาร (Management Tools) ที่จะเข้ามาช่วยองค์กรในการปรับปรุงในหมวดนี้ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) และ Balanced Scorecard

หรือในหมวดที่สามที่เกี่ยวกับ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบด้วยสองหมวดย่อยได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ ความสัมพันธ์และความพึงพอใจนั้น ถ้าองค์กรยังต้องมีการปรับปรุงในด้านนี้ เครื่องมือทางการบริหารที่จะเข้ามาช่วยได้ในเรื่องนี้ก็หนีไม่พ้นเรื่องของ การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction Survey) หรือ การบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (Customer Relationship Management)

ในหมวดที่สี่ ในเรื่องของการวัด วิเคราะห์และจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วยสองหมวดย่อยได้แก่ การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และ การจัดการสารสนเทศ และความรู้นั้น เครื่องมือทางการบริหารที่เข้ามาช่วยในการพัฒนาสมรรถนะขององค์กรในด้านนี้ก็เป็นเรื่องของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) เรื่องของระบบสารสนเทศทางการบริหาร (Management Information Systems) และเรื่องของการบริหารความรู้ (Knowledge Management) เป็นต้น

เห็นไหมครับว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่องค์กรสามารถใช้ได้ก็คือการใช้เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการเป็นกรอบหรือแม่แบบในการบริหารหรือพัฒนาองค์กร โดยบรรดาเครื่องมือทางการบริหารจัดการต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันก็ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรให้มีแนวทางและมาตรฐานที่ควรจะเป็น

จริงๆ แล้วการนำเอาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ เหล่านี้มาใช้ ถือเป็นแนวทางที่ช่วยทำให้ทุกคนในองค์กรได้เห็นความเชื่อมโยงของการนำเอาเครื่องมือทางการบริหารต่างๆ เข้ามาใช้ และที่สำคัญก็คือทำให้เห็นว่าการนำเครื่องมือทางการบริหารต่างๆ เข้ามาใช้ จะมีส่วนช่วยในการยกระดับและพัฒนาองค์กรได้อย่างไร

จากเนื้อหาในสามสัปดาห์ที่ผ่านมาท่านผู้อ่านคงพอจะเห็นภาพหรือแนวทางในการยกระดับหรือพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการขององค์กรได้อย่างไร? ถึงแม้ว่าเนื้อหาในสามสัปดาห์ทั้งหมดจะเป็นแนวทางการพัฒนาองค์กรของภาครัฐ แต่ก็เชื่อว่าหลักการทั้งหมดนั้นสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภทครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us