Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536
"มาดูห์ เมห์ตา ผ้าไหมเหล็ก"             
 


   
search resources

อินเดีย ซิลค์
มาดูห์ เมห์ตา




มาดูห์ เมห์ตา ในชุดส่าหรีสีสดใส ขยับนิ้วเรียวยาวจับต่างหูเพชรเม็ดใหญ่ให้เข้าที่เข้าทาง ขณะที่กำลังทบทวนคืนวันเก่า ๆ ของธุรกิจเครื่องตกแต่งบ้านที่ทำด้วยผ้าไหมของเธอ

ตอนที่เมห์ตาเริ่มต้นธุรกิจนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว สังคมเยอรมนียังมีค่านิยมว่า ธุรกิจเป็นเรื่องของผู้ชาย ส่วนงานของผู้หญิงนั้นอยู่ในครัว จึงออกจะเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่มีผู้หญิงคนหนึ่งในชุดส่าหรีออกเร่ขายของด้วยตัวเอง

"ลูกค้าชาวเยอรมันของฉันจำนวนมากมีอาการตะขิดตะขวงใจที่เห็นผู้หญิงผิวสีแต่งกายในชุดประหลาดมาเสนอขายผ้าไหม ซึ่งปกติพวกเขามักจะซื้อจากชาวเยอรมันที่เดินทางมาเที่ยวแถบเอเชีย" เมห์ตากล่าวกลั้วเสียงหัวเราะ

มาดูห์ เมห์ตา วัย 53 ปี เป็นเจ้าของบริษัทอินเดีย ซิลค์ ซึ่งผลิตและขายหมอน เบาะ ผ้าม่าน สำหรับตกแต่งบ้านที่ทำจากผ้าไหมซึ่งนำเข้ามาจากอินเดีย แล้วออกแบบให้เข้ากับรสนิยมของชาวยุโรป ปีที่แล้วอินเดีย ซิลค์ ซึ่งมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป อเมริกัน และออสเตรเลีย ทำยอดขายได้สูงถึง 4 ล้านเหรียญ

"คุณจะต้องฝ่าฟันอย่างเต็มที่ ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจเดียวกับดิฉัน เพราะการแข่งขันที่รุนแรงและความไม่แน่นอนของตลาด"

แม้ว่าทางซัพพลายเออร์จากอินเดีย พยายามจะติดต่อกับลูกค้าของเธอเองด้วยการตัดราคาลงมาต่ำกว่า แต่ก็นับเป็นโชคดีของเมห์ตาเองที่ลูกค้ายังมีความเชื่อใจในบริการและคุณภาพของสินค้าจาก "อินเดีย ซิลค์" มากกว่าจะฟังคารมของพวกซัพพลายเออร์ "ขณะเดียวกัน ดิฉันก็ได้เปลี่ยนไปติดต่อซัพพลายเออร์รายใหม่ที่น่าไว้ใจได้แทน

เมห์ตามีความรู้สึกว่า ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากทัศนคติเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงอินเดียของเธอ "ฉันเคยไล่พนักงานบางคนออกไป พวกเขาเห็นว่าฉันไม่มีความหมายอะไรเลย เพียงเพราะเชื้อชาติของฉัน" เธอกล่าว นอกจากนั้นยังมีลูกค้าเรื่องมากบางคน ที่คิดว่าจะทำอย่างไรกับคนเอเซียก็ได้ อย่างเช่น การต่อรองราคาสินค้าทั้ง ๆ ที่ตกลงกันไว้เรียบร้อยแล้ว "ซึ่งในบางครั้งฉันก็รู้สึกรำคาญ และระอาใจเกี่ยวกับแรงกดดันพวกนี้ แต่ตอนแรกเมื่อมายืนอยู่ในจุดนี้ ฉันไม่มีทางเลือก ก็ต้องยอม แต่มาระยะหลังนี้ฉันตัดสินใจว่าจะต้องพูดคำว่าไม่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลก ที่ฉันได้รับคำตอบจากลูกค้าคนนั้น ในอีก 2 อาทิตย์ต่อมาว่าเขาจะซื้อผ้าไหมในราคาที่ตั้งไว้"

ก่อนที่จะมาทำธุรกิจของตัวเองในเยอรมนี เมห์ตาทำงานเป็นดีไซเนอร์ของบริษัทผลิตสินค้าหัตถกรรมแห่งหนึ่งในนิวเดลฮี ชื่อ คอตเทจ อินดัสตรี้ เอมโพเรี่ยม ปี 1962 เธอได้พบกับมาเรีย เมย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบและให้สีจากสถาบันโพลิเทคนิคแฟชั่นแห่งหนึ่งในฮัมบูร์ก ซึ่งเดินทางมาอินเดียในตอนนั้น เมห์ตาได้นำผลงานการออกแบบของเธอไปให้มาเรีย เมย์ดู และปรากฏว่าเป็นที่ประทับใจจนเมย์เป็นธุระจัดหาทุนให้เธอได้ไปเรียนที่สถาบันแห่งนั้น

ระหว่างที่เรียนอยู่ เมห์ตาพบรักกับสถาปนิกเยอรมนีคนหนึ่ง หลังจากเธอเรียนจบ และกลับอินเดียเมื่อปี 1964 สถาปนิกคนนี้ก็บินตามมา และชักชวนเธอให้กลับไปใช้ชีวิตร่วมกันที่เยอรมนีเป็นผลสำเร็จ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เธอกลับมาอินเดียนั้น เมห์ตาได้เรียนรู้แง่มุมทางธุรกิจของงานออกแบบผ้าไหม ซึ่งเมื่อเธอไปถึงเยอรมนี ก็ได้ใช้วิชาความรู้นี้ก่อตั้งเป็นบริษัทขึ้นมา "ฉันรู้ว่าสามารถผสมผสานผ้าไหมอินเดียให้เข้ากับเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ของตะวันตกได้ ในเยอรมนีความต้องการผ้าไหมมีสูงมากหลังจากที่ได้เริ่มติดต่อกับลูกค้าเพียง 2-3 ราย ดิฉันก็ไม่มีเวลาหันไปคิดเรื่องที่ผ่านมาอีกเลย" เมห์ตากล่าว

เพื่อนสนิทและลูกค้าพูดถึงความสำเร็จของเมห์ตาว่า เกิดจากความสามารถในการผสานศิลปะในการทอผ้าแบบอินเดียให้เข้าการออกแบบที่ดีได้ เธอสามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มของผ้าไหมในแต่ละช่วงได้อย่างถูกต้อง เฮลมุตต์ ชมิตช์ เจ้าของร้านเฟอร์นิเจอร์ในออกซเบอร์ก ซึ่งเป็นลูกค้าของเมห์ตามาเป็นเวลานานถึง 20 ปี ก็ให้ความเห็นว่า "เราเชื่อมั่นว่า เธอมีความเข้าใจแบบแผนและโครงสร้างของสี และสามารถประยุกต์เข้ากับรสนิยมท้องถิ่นได้อย่างน่าชื่นชม"

เมห์ตาได้คิดค้น และพัฒนาผ้าไหมชนิดที่สีไม่ซีดเมื่อโดนแดด ซึ่งแต่ก่อนนี้จะหาผ้าแบบนี้ได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนั้นเธอยังประสบความสำเร็จในการขยายความกว้างของผืนผ้าไหมที่ทอด้วยมือจากหน้ากว้าง 1.22 เมตรเป็น 1.37 เมตร ซึ่งนวัตกรรมทั้งสองอย่างนี้ เป็นที่นิยมของคนเยอรมนีมาก

เมห์ตาไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาหาเงินทองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เธอยังอุทิศตัวให้กับการสร้างภาพพจน์ของอินเดียในหมู่ชาวเยอรมนีด้วย "ฉันพยายามเผยแพร่สิ่งที่ดีงามของคนอินเดียให้คนทั่วไปได้ทราบว่า อินเดียงยังมีของดีอีกมาไม่ใช่มีแต่เพียงความยากจนและสลัม ประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นมรดกตกทอดมานั้น มีมากมายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าของยุโรปแต่อย่างใด"

เมห์ตาซึ่งขณะนี้ได้หย่าขาดจากสามี และใช้ชีวิตอยู่กับลูก 2 คนที่โตแล้ว กำลังคิดถึงการปลดเกษียณตัวเอง "ฉันจะกลับไปหาความสงบ และปลดเปลื้องความทุกข์ที่อินเดีย ที่ซึ่งยังคงเสน่ห์ในตัวเองอยู่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us