Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เลขาธิการ ก.ล.ต.คนที่ 3             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
Investment




จากนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ยุค 14 ตุลา มาเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. ที่มีอายุน้อยที่สุด ภารกิจเบื้องหน้าของประสาร ไตรรัตน์วรกุล คือ การจัดระบบระเบียบ ที่เข้มงวดให้กับตลาดทุนไทย

ด้วยวัยเพียง 47 ปี กับการรับตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในตลาดทุนของไทย จัดได้ว่าเป็นงาน ที่ท้าทายความสามารถของประสาร ไตรรัตน์วรกุลเป็นอย่างยิ่ง

ประสารจบวิศวะไฟฟ้า เกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2517 หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานทุนจากมูลนิธิอานันทมหิดล ไปเรียนด้านการบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันเดียวกับเอกกมล คีรีวัฒน์ เลขาธิการ ก.ล.ต.คนแรก จนได้ปริญญาเอกออกมาในปี 2524

ประสารนับว่าเป็นคนที่มีความใกล้ชิดกับเอกกมลค่อนข้างมาก เพราะตั้งแต่กลับมาทำงานใช้ทุน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประสารได้อยู่ในสายงานกำกับ และตรวจสอบ ซึ่งเป็นสายงานเดียวกับเอกกมลมาเกือบตลอด

การที่เอกกมลดึงประสารออกจากแบงก์ชาติ มารับตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.ล.ต.เมื่อปี 2535 ทำให้หลายคนมองว่าเป็นการสร้างทายาทต่อเนื่องไว้ในหน่วยงาน ที่ตนเองเป็นผู้บุกเบิก

ชื่อของประสารเคยได้รับการเสนอขึ้นเป็นแคนดิเดทเลขาธิการ ก.ล.ต.มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อครั้ง ที่เอกกมลถูกพิษการเมืองเล่นงานให้ออกจากตำแหน่งในปี 2538

แต่คราวนั้น หลายคนมองว่าด้วยวัยเพียง 40 ต้นๆ อาจทำให้ประสารมีความอาวุโสน้อยเกินไป น่าจะให้เวลาในการสะสมบารมีต่อไปก่อนอีกสักระยะหนึ่ง จึงมีการดึงปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา มารับตำแหน่งแทนจนครบวาระไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา

"ประสารเป็นคนที่เชื่อมั่นตัวเองสูง ยึดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ ที่เข้มงวด" คนในวงการธุรกิจหลักทรัพย์มองถึงบุคลิกของประสาร ซึ่งส่งผลถึงการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

ก.ล.ต.ในวันนี้ ได้ผ่านพ้นช่วงบุกเบิกมาแล้ว 7 ปี มีเลขาธิการต่อเนื่องมาแล้ว 3 คน

ยุคเริ่มต้นก่อตั้ง มีความจำเป็นต้องใช้คนที่มีสายสัมพันธ์สูงมาเป็นผู้นำ เพราะจะต้องประสานงานกับทุกระดับได้อย่างราบรื่น ตั้งแต่ระดับกระทรวงการคลัง ลงมาจนถึงโบรกเกอร์ ซึ่งเป็นบุคลิก ที่เหมาะสมสำหรับเอกกมล คีรีวัฒน์

ยุคที่ 2 ที่ธุรกิจหลักทรัพย์เริ่มขยายตัวออกไปในวงกว้างขึ้น การทำงานต้องอาศัยการประนีประนอมสูง เพื่อไม่ให้การลงทุนในธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งเป็นภาระ ที่เหมาะกับปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา

แต่เมื่อการขยายตัวในธุรกิจหลักทรัพย์ดำเนินมาได้แล้วในระดับหนึ่ง ก็ถึงยุคที่จะต้องมีการเข้มงวดกับกฎระเบียบต่างๆ เพื่อพัฒนาตลาดทุนให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของประสาร ที่ได้สั่งสมประสบการณ์ และบารมีมาพอสมควรแล้วในหน่วยงานแห่งนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us