Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536
"กรุงเทพ-เฉลิมกรุง 2 โรงละคร 2 ลีลา"             

 


   
search resources

กรุงเทพโรงละคร
ศิริวรรณ ธีระปถัมภ์
Entertainment and Leisure




โรงละครสองโรงปักหลักเปิดการแสดงเรียกคนดูอยู่คนละมุมเมืองของกรุงเทพโรงแรก "โรงละครกรุงเทพ" บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เยื้องซอยศูนย์วิจัย ในนามของบริษัทกรุงเทพโรงละคร เปิดตัวไปก่อนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม อีกไม่ถึงหนึ่งเดือนถัดมาโรงละครเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ที่แปลงโฉมมาจากโรงหนังเฉลิมกรุง ก็ได้ฤกษ์เบิกโรง

ทั้งสองโรงเกิดขึ้นมาในขณะที่เจ้าเก่าอย่างมณเฑียรทองเธียร์เตอร์กำลังจะลาโรงไปในเดือนตุลาคมปีนี้ เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มกับรายได้ต่อไปไม่ไหว การเกิดขึ้นของโรงละครกรุงเทพและโรงละครเฉลิมกรุงถือเป็นการลงทุนในเชิงธุรกิจเต็มตัวครั้งแรกของวงการละครไทย หากไม่นับโรงละครยุคย้อนหลังไปเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ก่อนหน้ายุคการเข้ามาของภาพยนตร์

โรงละครทั้งสองแห่งนี้แตกต่างกันในหลาย ๆ มิติ

โรงละครกรุงเทพเป็นการลงทุนของนักทำละครมืออาชีพ ที่ใช้ชื่อว่า แดส เอนเตอร์เทนเมนท์ "DASS" คือส่วนผสมของสามสาวอดีตข้าราชการกระทรวงศึกษา ดารกา วงศ์ศิริ เจ้าของตัวอักษร DA, แสงอรุณ กาญจนรัตน์ ตัว S และ S ตัวท้ายสุด ศิริวรรณ ธีระปถัมภ์ ซึ่งทำละครเวทีกันมาตั้งแต่ปี 2529 จนถึงบัดนี้มีผลงานไปแล้ว 15 เรื่อง ส่วนใหญ่จะปักหลักแสดงที่หอประชุม เอ. ยู. เอ

เจ็ดปีของการทำละครเวที กลุ่มละครแดส เอนเตอร์เทนเมนท์มองเห็นแนวโน้มว่าจำนวนผู้ชมมีมากขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะสามปีปลัง คนดูประเภทสมาชิกที่จ่ายเงินปีละ 100 บาทแลกกับแม็กกาซีนของกลุ่มและส่วนลดในการซื้อบัตรมีไม่ต่ำกว่า 20,000 คน จนต้องเพิ่มรอบการแสดงหรือเปิดการแสดงซ้ำอีก ทำให้ทางกลุ่มมีความมั่นใจพอสมควรในเรื่องของตลาด

ความสำเร็จของแดสอยู่ที่การประสานการจัดการทางธุรกิจเข้ากับศิลปะ โดยเฉพาะกลยุทธ์ "การตลาดนำการละคร" ที่เน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการเลือกละครสอดคล้องกับกลุ่มคนดูเป้าหมาย

นอกจากความมั่นใจในกลุ่มคนดูแล้ว ยังมีความอุ่นใจในเรื่องการผลิตละครว่าสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบท ผู้กำกับ นักแสดง ตลอดจนถึงการออกแบบและสร้างฉากละครเครื่องแต่งกาย

ขาดอยู่อย่างเดียวคือโรงละครที่เป็นของตัวเอง การที่ต้องไปเช่าสถานที่อื่น ๆ เล่นละครนั้น มีปัญหาในเรื่องของเวลา และความไม่ได้มาตรฐานสำหรับละครเวที ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้กลุ่มแดสฯ ตัดสินใจลงทุนสร้างโรงละครของตัวเองขึ้นมา โดยเช่าที่ดิน 2 ไร่บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่จากบริษัทปริ้นเซส พร็อพเพอร์ตี้ในเครือโรงแรมดุสิตธานี

บริษัทโรงละครกรุงเทพหรือ THE BANGKOK PLAYHOUSE CO., LTD. เจ้าของโรงละครกรุงเทพ มีทุนจดทะเบียน 37.5 ล้านบาท มีกลุ่มละครแดสเอนเตอร์เทนเมนท์ เป็นตัวหลักในการรวบรวมผู้ถือหุ้นทั้งหมด 20 ราย บริษัทแดสฯ ถือหุ้นไว้ประมาณ 46% อีก 25% เป็นของ ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร อุปนายกมูลนิธิช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลน ซึ่งเป็นมูลนิธีที่กลุ่มแดสฯ ทำละครเรื่องแรกเพื่อหาเงินเข้ามูลนิธิให้เมื่อปี 2529

"ถ้าไม่ได้ ม.ร.ว. สายสิงห์ เข้ามาร่วมทุน โรงละครกรุงเทพคงต้องยืดเวลาเกิดออกไปอีก" ศิริวรรณ ประธานบริษัทโรงละครกรุงเทพกล่าว

ส่วนหุ้นที่เหลือกระจายไปในหมู่ผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งรวมทั้งดารา นักแสดงที่เคยทำงานร่วมกับแดสฯ หลาย ๆ คนด้วย

ปัญหาสำคัญของโรงละครกรุงเทพคือ สัญญาเช่าที่ 2 ไร่นั้น มีอายุเพียง 6 ปีเท่านั้น ในขณะที่ต้องลงทุนสร้างโรงละครขึ้นมาเป็นเงินทั้งสิ้น 50 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องเร่งหารายได้เข้ามาให้คุ้มกับการลงทุนเผื่อเอาไว้ในกรณีที่ครบ 6 ปีแล้วไม่ได้ต่อสัญญาการเช่าที่ดิน

นอกเหนือจากรายได้จากการแสดงละครสัปดาห์ละห้ารอบ โดยใช้วิธีหาสปอนเซอร์จากองค์กรธุรกิจเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแล้วโรงละครกรุงเทพได้มอบหมายให้บริษัท โซลิด สโตน ของสตีเวน ฟงและเชาวณีย์ อัชนันท์เป็นผู้บริหารงานด้านการตลาดทั้งในส่วนของละคร และการให้เช่าพื้นที่ของโรงละครในวันที่ไม่มีการแสดง และส่วนด้านหน้าโรงซึ่งจะรองรับงานจัดเลี้ยงสำหรับคน 300-400 คนได้

ศิริวรรณคาดการณ์ว่าถ้าคิดเฉพาะรายได้จากการแสดงละครโดยที่ทุกรอบมีคนดูเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์อย่างเช่นเคยเป็นมา จะสามารถคืนทุนให้ผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ ยกเว้นแดสฯ ได้ภายในสองปี

ส่วนโรงละครเฉลิมกรุงนั้น จัดว่าอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างจะสบายกว่าโรงละครกรุงเทพมากในเรื่องเงินทุน เพราะผู้ถือหุ้นบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศนล้วนแต่เป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น คือ มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นในนามบริษัทสหศินีมา 45 เปอร์เซ็นต์ บริษัทสยามพานิชพัฒนาอุตสาหกรรม (บริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์) ถือหุ้น 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นของบริษัทมณีทัศน์ของมานิต รัตนสุวรรณ ซึ่งจะเป็นผู้บริหารโรงละคร

เฉลิมกรุงยังไม่ต้องเผชิญกับเงื่อนเวลาที่จำกัดเหมือนโรงละครกรุงเทพ เพราะสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ศาลาเฉลิมกรุง และให้สัมปทานนานถึง 30 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่เพียงพอสำหรับการคืนทุน

รายได้หลักของเฉลิมกรุงในระยะแรกนี้จะมาจากการแสดงโขนพร้อมคำแปลภาษาอังกฤษในวันธรรมดา ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์จะเล่นละครเวทีย้อนอดีตยุค พ.ศ. 2475 สมัยเดียวกับละครรอบปฐมฤกษ์เรื่อง 'ศรอนงค์' ซึ่งเป็นละครของคณะปรีดาลัยในสมัยนั้น และเคยเล่นบนเวทีแห่งนี้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นอกจากนี้อาจจะสลับเล่นละครประวัติศาสตร์รวมถึงละครสมัยใหม่

มานิต รัตนสุวรรณประธานบริษัทมณีทัศน์ คิดว่าต้องใช้เวลา 5 ปีในการคืนทุน 80 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญคือการแสดงด้วยว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ชมมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าเฉลิมกรุงเป็นเจ้าของเวทีเท่านั้น ไม่มีคณะละครสังกัดประจำ ใช้วิธีเซ็นสัญญากับผู้ทำละครเป็นเรื่อง ๆ ไปซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องความคล่องตัวในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชัดเจนก็ได้

ม่านหน้าเวทีละครถูกชักขึ้นแล้ว ละครสองโรงสองลีลากำลังประชันบทกัน โรงไหนจะเรียกคนดูได้มากน้อยกว่ากันโปรดติดตามตอนต่อไป !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us