|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นในกลุ่มสื่อสารวานนี้ (15 มี.ค.) ภายหลังคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด มีมติที่จะผลักดันบริษัทให้เป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้แปรสัญญาสัมปทานและส่วนแบ่งรายได้ของเอกชนคู่สัญญาของทีโอทีทุกประเภท เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น เพื่อให้ทีโอทีกลายเป็นผู้บริหารโครงข่ายของชาติ และให้มีการเก็บค่าเช่าจากเอกชน ที่มาใช้โครงข่ายด้วยวิธีเก็บค่าเช่าแบบรายเดือนและรายปี รวมทั้งเป็นการเปิดเสรีอย่างเท่าเทียมกันของผู้ประกอบการในธุรกิจ
สำหรับราคาหุ้นในกลุ่มสื่อสารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T ราคาปิดที่ 1.13 บาท เพิ่มขึ้น 0.14 บาท หรือ 14.14% มูลค่าการซื้อขาย 170.59 ล้านบาท, หุ้นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ราคาปิดที่ 5.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ 7.55% มูลค่าการซื้อขาย 239.05 ล้านบาท, บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ UCOM ราคาปิดที่ 40 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท หรือ 3.23% มูลค่าการซื้อขาย 5.36 ล้านบาท
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ราคาปิดที่ 72.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 0.69% มูลค่าการซื้อขาย 44.16 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมกลุ่มสื่อสารปิดที่ 71.21 จุด เพิ่มขึ้น 0.96 จุด หรือ 1.37% มูลค่าการซื้อขาย 639.70 ล้านบาท
นายประสิทธิ์ สุจิรวรกุล นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากข่าวที่เกี่ยวกับการยกเลิกสัมปทานเครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างเอกชนกับบริษัททีโอที ส่งผลทำให้ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริษัทที่จะได้รับประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ แม้ว่าเรื่องดังกล่าวหากเกิดขึ้นจริง จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่เคยต้องเสียค่าสัมปทานมากกว่าคู่แข่ง แต่เรื่องดังกล่าวคงต้องรอการประกาศอย่างชัดเจนจากผู้บริหารของบริษัทอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร และมีเงื่อนไขในการยกเลิกสัมปทานอย่างไร
สำหรับบริษัทที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการยกเลิกสัญญาดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้โครงข่ายลดลงค่อนข้างมาก คือ TT&T เพราะบริษัทต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับทีโอทีสูงถึง 43% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่ UCOM ต้องจ่ายค่าสัมปทาน 37% ส่วน TRUE ต้องจ่ายค่าสัมปทาน 30% ก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย
"ถ้าหากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง แม้ว่าจะทำให้ภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการเป็นไปด้วยความเป็นธรรมมากขึ้น แต่คงส่งผลกระทบต่อรายได้ของทีโอทีอย่างแน่นอน ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าทีโอทีจะหารายได้จากด้านอื่นเข้ามาอย่างไร แต่เชื่อได้ว่าเรื่องดังกล่าวคงยังไม่เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะจะต้องมีเสียงต่อต้านจากกลุ่มนักวิชาการอย่างแน่นอน" นายประสิทธิ์กล่าว
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า แม้ว่าหุ้นในกลุ่มสื่อสารจะมีการปรับตัวขึ้นตอบรับข่าวดีเรื่องการเปลี่ยนระบบการเก็บค่าสัมปทาน แต่นักลงทุนที่จะลงทุนจะต้องพิจารณาความเสี่ยงอื่นๆ ประกอบด้วย เพราะเรื่องดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนที่แน่นอน ขณะที่ผลบวกที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการบางบริษัทก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยเชื่อว่าราคาหุ้นในกลุ่มสื่อสารน่าจะยังเคลื่อนไหวในลักษณะผันผวนต่อไป
"นโยบายในเรื่องดังกล่าวแม้ว่าจะทำให้รายได้ของทีโอทีลดลง แต่หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการพัฒนาของระบบเครือข่ายของผู้ประกอบการ ในท้ายที่สุดผู้ประกอบการเอกชนที่ต้องเสียสัมปทานในระดับที่สูงอาจจะไม่ต่อสัญญากับทีโอทีซึ่งจะทำให้รายได้ของบริษัทปรับลดลงไปมากกว่านี้ก็ได้" นางสาวจิตรา กล่าว
ตลาดหุ้นซึมวอลุ่มบาง
ด้านภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นวานนี้ตลอดทั้งวันดัชนีแกว่งตัวอยู่ในแดนบวกทั้งวันก่อนปิดที่ 674.31 จุด เพิ่มขึ้น 3.69 จุด หรือ 0.55% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 675.71 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 672.19 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8,676.61 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 993.53 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 24.27 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 1,017.80 ล้านบาท
มาตรการ30%กดดันแบงก์
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่มากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว โดยคาดว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตเพียง 4% ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยคาดว่ายังมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้อีกซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ถือว่ามีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ยังคงเป็นเรื่องการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหลัก
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์จะไม่โดดเด่นมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบเรื่องของเกณฑ์มาตรการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (IAS 39) ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเชื่อว่าอาจจะปรับตัวลดลงประมาณ 0.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อช่วยกระตุ้นความมั่นใจของผู้บริโภคและสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ส่วนกลยุทธ์การลงทุน
ทั้งนี้ บล.เอเซียพลัส แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK โดยประเมินราคาเหมาะสมที่ 83 บาท ,ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ประเมินราคาเหมาะสมที่ 75 บาท และธนาคารกรุงศรีอยุทธยา หรือ BAY ประเมินราคาเหมาะสมที่ 19.42 บาท
|
|
 |
|
|