|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เบียร์สิงห์ ออกโรงจวกพ.ร.บ.น้ำเมา สร้างความสับสนสังคม เอื้อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ วอนรัฐทบทวนใหม่ แบนโฆษณาเข้าข่ายขัดดับบลิวทีโอ ระบุตลาดน้ำเมาปีนี้มีโอกาสไม่โต ส่วนเหล้าขาวโตพุ่งจาก 500 ล้านลิตร เป็น 550 ล้านลิตร เตรียมปรับแผนรับมือยุคมืด โยกงบหนุนกีฬาถ่ายทอดสดประเทศเพื่อนบ้าน จ่อคิวดำเนินคดีตามกฎหมายกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพ.ร.บ.
หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเตรียมเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดยสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จะควบคุมทั้งโฆษณา สถานที่บริโภค สถานที่จำหน่ายและการกำหนดอายุผู้ซื้อ ในส่วนของการโฆษณาห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทุกสถานที่และทุกเวลา ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิงนั้น
นายสันติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ ลีโอ และไทเบียร์ ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการกล่าวว่า หากพ.ร.บ.บังคับใช้จริงจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ไม่เฉพาะแต่ผู้ผลิตอย่างเดียว ยังรวมไปธุรกิจเกี่ยวเนื่องตั้งแต่การท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป อาชีพเกี่ยวกับเนื่อง อาทิ สาวเชียร์สินค้า อุตสาหกรรมโฆษณา และที่น่ากังวลที่สุดท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้ คือ การสร้างผลกระทบต่อผู้ค้าขายระดับรากหญ้า จะทำให้ธุรกิจประเทศไทยถอยหลังไปอีกหลายปี นี้ สำหรับเบียร์สิงห์ที่ผ่านมาดำเนินการสนับสนุนสถานที่ท่องเที่ยว 700 รายการ และมีสาวเชียร์เบียร์ 800 คน
"ผมอยากให้ภาครัฐมองการค้าในระดับโลกให้มากขึ้น เพราะการมีกฎหมายดังกล่าวเท่ากับว่าประเทศไทยกีดกั้นทางการค้าขัดต่อกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอ หรือกระทั่งเอฟทีเอทันที ซึ่งสินค้าต่างประเทศจะรับได้ไหม เพราะแบรนด์ใหม่ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าท้องถิ่นที่มีอยู่ในตลาดได้ เนื่องจากขาดการโฆษณาสร้างแบรนด์ และประการสำคัญทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลง จากปีที่ผ่านมาภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมแล้วราว 74,101 ล้านบาท แบ่งเป็น ภาษีสุรา 28,619 ล้านบาท ภาษีเบียร์ 45,482 ล้านบาท อีกทั้งยังเกรงว่ากรณีควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสิ้นเชิง จะซ้ำรอยกรณียาสูบที่ฟ้องร้องกันที่ศาลโลก แล้วไทยก็แพ้ในที่สุดก็ต้องปล่อยให้แบรนด์อื่นเข้ามาทำตลาด"
ชี้รัฐเอื้อประโยชน์เหล้าขาวเต็มๆ
นายสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้เงินเพื่อให้เกิด พ.ร.บ.การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อตลาดเหล้าขาว ซึ่งเป็นสินค้าเพียงตัวเดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการมีกฎหมายฉบับดังกล่าว เนื่องจากเหล้าขาวในปัจจุบันไม่ต้องมีโฆษณาก็จำหน่ายได้ แต่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายด้วยการจำหน่ายราคาถูก เพราะมีการจัดเก็บภาษีต่ำดีกรีละ 75 สตางค์ ขนาด 625 ซีซี ปริมาณ 40 ดีกรี เมื่อเทียบกับเบียร์ดีกรีละ 7 บาท โดยเหล้าขาวเสียภาษี 17.5 บาทต่อขวด ในขณะที่เบียร์เสียภาษี 22.76 บาทต่อขวด
ทั้งนี้การมีพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บังคับใช้ปีแรกจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมมากนัก โดยคาดว่าตลาดจะไม่มีอัตราการเติบโต ขณะที่ตลาดเหล้าขาวยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้ตลาดจะขยับเป็นมากกว่า 550 ล้านลิตร จากเมื่อปี 2549 มีอัตราการเติบโต 17.8% หรือเชิงปริมาณเพิ่มเป็น 500 ล้านลิตร จากปี 2548 ตลาดเหล้าข้าว 400ล้านลิตร ซึ่งปัจจุบันบริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ เป็นผู้ครองตลาดในสัดส่วน 96% ส่วนอีก 4% เป็นรายย่อย
พึ่งกฎหมายเรียกความเป็นธรรม
สำหรับแผนการตลาดรองรับกับกฎหมาย ในเบื้องต้นนำพ.ร.บ.มาวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน และหากส่วนใดบริษัทไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีโลโก้น้ำดื่มหรือกระทั่งโซดาที่ใช้เหมือนกันกับเบียร์สิงห์ จะมีการดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ บริษัทจะโยกงบไปใช้ในการเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันกีฬาในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ การจัดแข่งขันกอล์ฟในประเทศเวียดนาม และลาว เป็นต้น ถ่ายสดมายังประเทศไทย เนื่องจากตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้สามารถทำได้ กรณีเป็นการถ่ายทอดจากต่างประเทศ ส่วนยอดขายปีนี้บริษัทอาจจะต้องปรับเป้าลดลง จากเดิมตั้งเป้าไว้ 1,000ล้านลิตรในสิ้นปีนี้
แจงรัฐพ.ร.บ.ฯก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
รศ.ดร.สุธาบดี สัตตบุศย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวเสริมว่า พ.ร.บ.ฯ จะสร้างความสับสนให้กับสังคมทั้งตัวผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ร้านค้าทั่วไปในเชิงปฏิบัติ เพราะรายละเอียดปลีกย่อยมีมากมายว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกันยังเอื้อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ตามสถานที่ร้านอาหาร ผับ บาร์ และหากมีกฎหมายดังกล่าวจะยิ่งทำให้ภาครัฐต้องเสียงบประมาณเท่าใด เพื่อทีมบุคคลากรเข้ามาควบคุมกฎหมาย ที่ผ่านมากฎหมายเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทยมีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายซ้ำซ้อน เพียงแค่แก้ไขบางอย่างก็สามารถปรับใช้ได้ เช่น กำหนดอายุการจำหน่ายสุราให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปี เป็น 20 ปี หรือขยายเวลาการโฆษณาหลัง 22.00-05.00 น. ก็ได้
การที่ภาครัฐนำข้อมูลว่า มีหลายประเทศได้นำกฎหมายห้ามเครื่องดื่มโฆษณาอย่างสิ้นเชิงมากล่าวอ้าง เป็นข้อมูลตั้งปี 2544 โดยประเทศนอร์เวย์ ต้นแบบห้ามโฆษณาทุกรูปแบบ เมื่อปี 2532 ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เนื่องจาก 14 ปีผ่านไปหลังห้ามโฆษณา อัตราการบริโภคเพิ่มขึ้น 20% เป็นอัตราสูงสุดคือ 6.03 ลิตรแอลกอฮอล์ต่อคนต่อปี จากเดิมอัตราการบริโภคอยู่ที่ 5 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนสวีเดน ศาลสหภาพยุโรป ได้ตัดสินว่า การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีดีกรีสูงเกินกว่า 2.25% ทางสื่อทุกชนิด เป็นการกระทำที่กีดกันทางการค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปี 2546 สวีเดนได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายห้ามโฆษณา
|
|
 |
|
|